หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ประยุกต์หลักการทำสวนยางพาราด้วยเกษตรผสมผสาน

สาขาวิชาชีพเกษตรกรรม


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ ARC-XBFJ-929A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ประยุกต์หลักการทำสวนยางพาราด้วยเกษตรผสมผสาน

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2566

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ผู้ปฏิบัติงานด้านระบบการจัดการสวนยางพาราอย่างยั่งยืน

1 6112 ผู้ปฏิบัติงานด้านการปลูกไม้ยืนต้นและไม้ผล

6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)

      หน่วยสมรรถนะนี้เกี่ยวข้องกับประยุกต์หลักการทำสวนยางพาราด้วยเกษตรผสมผสาน โดยผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้ต้องมีความรู้ความเข้าใจใน หลักการทำสวนยางพาราด้วยเกษตรผสมผสาน ประโยชน์ของการทำสวนยางพาราด้วยการเกษตรผสมผสาน และแนวปฏิบัติการทำสวนยางพาราด้วยเกษตรผสมผสาน และมีทักษะได้แก่ สามารถทำสวนยางพาราในแนวการเกษตรผสมผสานได้อย่างถูกวิธี สามารถระบุแนวปฏิบัติการทำสวนยางพาราด้วยเกษตรผสมผสานได้อย่างถูกต้อง และสามารถระบุประโยชน์การทำสวนยางพาราด้วยเกษตรผสมผสานได้


7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)

กลุ่มอาชีพเพาะปลูกพืชเศรษฐกิจ ผู้ปฏิบัติงานด้านเพาะปลูกยางพารา 


9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)

ISCO 6112 ผู้ปฏิบัติงานด้านการปลูกไม้ยืนต้นและไม้ผล


10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)

N/A


11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria)
B261

ปฏิบัติการทำสวนยางพาราด้วยเกษตรผสมผสาน

1. อธิบายหลักการทำสวนยางพาราด้วยเกษตรผสมผสานได้อย่างถูกต้อง

2. อธิบายประโยชน์ของการทำสวนยางพาราด้วยเกษตรผสมผสานได้ 

3. ดำเนินการทำสวนยางพาราด้วยเกษตรผสมผสานได้อย่างถูกวิธี

B262

ประยุกต์แนวปฏิบัติการทำสวนยางพาราด้วยเกษตรผสมผสาน

1. อธิบายการประยุกต์แนวปฏิบัติการทำสวนยางพาราด้วยเกษตรผสมผสานได้

2. ระบุการประยุกต์แนวปฏิบัติการทำสวนยางพาราด้วยเกษตรผสมผสานได้อย่างถูกต้อง

3. ระบุประโยชน์การประยุกต์แนวปฏิบัติการทำสวนยางพาราด้วยเกษตรผสมผสานได้


12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

1) เกษตรผสมผสาน


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1)  มีทักษะในการคิดวิเคราะห์เชิงวิทยาศาสตร์ การทดสอบ และการสรุปผลการประยุกต์หลักการทำสวนยางพาราด้วยเกษตรผสมผสาน
2)  มีทักษะในการสังเกตเบื้องต้น ตัดสินใจ และดำเนินการการประยุกต์หลักการทำสวนยางพาราด้วยเกษตรผสมผสาน
3)  มีทักษะในการสื่อสาร อธิบาย และทำความเข้าใจร่วมกับผู้ร่วมงานหรือผู้รับปฏิบัติตามแผนงานหรือแผนปฏิบัติการให้เข้าใจและปฏิบัติงานการประยุกต์หลักการทำสวนยางพาราด้วยเกษตรผสมผสานให้ถูกต้อง
4)  มีทักษะในการติดต่อประสานงานกับผู้อื่นที่ทำงานหรือต้องรับทราบข้อมูลที่เกี่ยวข้องกัน

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1)  มีความรู้ในหลักปฏิบัติการทำสวนยางพาราด้วยเกษตรผสมผสาน
2)  มีความรู้ในการประยุกต์ใช้แนวปฏิบัติการทำสวนยางพาราด้วยเกษตรผสมผสาน


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) ทักษะและความรู้ที่ต้องการ
       (ก)  หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)
              1)  หลักฐาน/หนังสือรับรองการทำงาน หรือการผ่านงานที่ออกโดยหน่วยงานที่เชื่อถือได้
              2)  ใบผ่านการฝึกอบรม หรือ ใบรับรองประสบการณ์การทำงาน (ถ้ามี)
       (ข)  หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)
              1)  หลักฐานคุณวุฒิการศึกษา
              2)  หลักฐานการผ่านการอบรม หรือการประชุมเชิงปฏิบัติการ
              3)  ผลการสอบข้อเขียน
              4)  ผลการทดสอบสัมภาษณ์/ปฏิบัติ
       (ค)  คำแนะนำในการประเมิน
              1) การประเมินเป็นการใช้แบบสอบข้อเขียน และการสัมภาษณ์เชิงเทคนิคหรือประเมินจากการปฏิบัติงานจริงประกอบกัน โดยต้องผ่านในทุกวิธีการประเมิน
              2) ผู้เข้ารับการประเมินแสดงความจำนงในการขอรับการประเมินคุณวุฒิวิชาชีพในสาขาอาชีพ และระดับชั้น ที่ประสงค์จะขอรับการประเมิน
              3) ผู้รับการประเมินจะต้องกรอกแบบยื่นคำขอรับการทดสอบสมรรถนะบุคคลตามมาตรฐานอาชีพ ระบุข้อมูลประวัติของผู้รับการประเมิน และยื่นเอกสารประกอบการยื่นขอรับการทดสอบสมรรถนะของบุคคลตามมาตรฐานอาชีพผ่านช่องทางที่กำหนด
       (ง)  วิธีการประเมิน
              1)  การสอบข้อเขียน
              2)  การสอบสัมภาษณ์
              3)  การสอบปฏิบัติ


15. ขอบเขต (Range Statement)

       (ก)  คำแนะนำ
       ขอบเขต (Range Statement) อธิบายถึงการปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับหน่วยสมรรถนะนี้ระบุองค์ประกอบ ในการดำเนินงานด้านการบริหารจัดการทั่วไปให้มีความเหมาะสม โดยต้องดำเนินงานเป็นไปตามกฎหมาย กฎระเบียบ ข้อบังคับ มาตรฐาน แผนการดำเนินงาน และนโยบายของเจ้าของสวนยางและผู้ประกอบการการประยุกต์หลักการทำสวนยางพาราด้วยเกษตรผสมผสาน ซึ่งต้องดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง
       (ข)  คำอธิบายรายละเอียด
       หลักการทำการเกษตรผสมผสาน
              เป็นวิธีทำการเกษตรที่มีการเพาะปลุกหรือเลี้ยงสัตว์หลาย ๆ ชนิดอยู่พื้นที่เดียวกัน มีการนำเศษวัสดุเหลือใช้จากการผลิตหนึ่ง เพื่อใช้ประโยชน์อย่างครบวงจร โดยทั่วไปการผลิตแบบนี้มักเป็นรูปแบบการเกษตรประเภททำเพื่อพอกินพอใช้  ทำโดยสมาชิกในครัวเรือน  พอมีเหลือจึงขาย ซึ่งการเกษตรแบบนี้จัดว่าเป็นการเกษตรแบบดั้งเดิม ที่เกษตรกรสามารถมีชีวิตอยู่ได้อย่างพอเพียง แต่อาจไม่เหมาะกับสภาพเศรษฐกิจในปัจจุบัน เนื่องจากเกษตรกรจำเป็นต้องมีรายได้หลักเพื่อใช้จ่ายภายในครอบครัว  รวมทั้งเพื่อการศึกษาของบุตรหลาน  ค่าใช้จ่ายเพื่อรักษาพยาบาลเมื่อยามเจ็บป่วย  หลักหารสำคัญของการผลิตแบบนี้คือ  การรักษาสมดุลของระบบนิเวศ  ลดการใช้สารเคมีการเกษตรหรือใช้แนวทางเลือกอื่นในการป้องกันกำจัดศัตรูพืช  ซึ่งการเกษตรแบบนี้ถ้าได้รับการพัฒนาให้เหมาะสมจะเกิดประโยชน์แก่เกษตรกรทำให้มีงานทำตลอดปี  มีรายได้พอเลี้ยงครอบครัวและลดปัญหาการเคลื่อนย้ายแรงงานจากส่วนภูมิภาคเข้าสู่ส่วนกลางได้
              หลักการและเงื่อนไขของเกษตรผสมผสาน
              มีหลักการที่สำคัญ 2 ประการคือ 1) มีกิจกรรมการเกษตรตั้งแต่ 2 ชนิดขึ้นไป และกิจกรรมการเกษตรทั้งสองชนิดต้องทำในเวลาและสถานที่เดียวกัน  มีวัตถุประสงค์เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดมากกว่าให้เกิดกำไรสูงสุดและ 2) เกิดการเกื้อกูลกันอย่างต่อเนื่องระหว่างกิจกรรมเกื้อกูลกันระหว่างพืชกับพืช พืชกับปลา สัตว์กับปลา พืชกับสัตว์ สัตว์กับสัตว์ ซึ่งลักษณะการเกื้อกูลกันของระบบเกษตรผสมผสาน จึงทำให้ต้นทุนการผลิตลดลง หรือที่เรียกว่า  เป็นการประหยัดทางขอบข่าย (Economy of Scope)  และลดการพึ่งพิงปัจจัยจากภายนอกในที่สุด ในด้านเทคนิคและการจัดการไร่นานั้น เกษตรผสมผสานได้ให้ความสำคัญในเรื่องของการสร้างความหลากหลายของพืช สัตว์ และทรัพยากรชีวภาพ การใช้ประโยชน์เกื้อกูลกันระหว่างกิจกรรม การใช้ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก การใช้วัสดุหรือพืชคลุมดิน การปลูกพืชหลายระดับ มีแหล่งน้ำในไร่นา สามารถปลูกพืชคลุมดิน ไถพรวนดิน หรือปุ๋ยเคมีก็ได้
              การปฏิบัติและประยุกต์ใช้ในการทำสวนยางพาราด้วยเกษตรผสมผสาน
              การทำอาชีพเกษตรกรรมแบบเชิงเดียวโดยเฉพาะการปลูกยางพาราเพียงอย่างเดียวมีความเสี่ยงสูงต่อการขาดทุนได้ง่ายในยุคนี้ แถมเจอภาวะเศรษฐกิจผันผวนไปทั่วโลกยิ่งทำให้ราคายางพาราอยู่ในภาวะขาลงได้บ่อยครั้ง การยางแห่งประเทศไทย (กยท.) จึงประกาศนโยบายส่งเสริมให้เกษตรกรชาวสวนยางนำแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 มาประยุกต์ใช้ในการทำสวนยางแบบผสมผสาน ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อให้เกษตรกรชาวสวนยางพาราสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืน การปรับวิถีชีวิตจากการปลูกยางพาราเป็นพืชเชิงเดี่ยวเข้าสู่ระบบสวนยางพาราผสมผสานไม่ใช่เรื่องยากมีเกษตรกรชาวสวนยางพาราจำนวนมากที่ยึดศาสตร์พระราชาเป็นหลักในการดำเนินชีวิตแบบพอเพียงภายใต้แนวคิดเกษตรผสมผสานแบบไร่นาสวนผสม หรือที่รู้จักกันดีในชื่อ “วนเกษตรยางพารา” ที่ประสบความสำเร็จทางด้านผลผลิตและรายได้ ซึ่ง ยึดหลักแนวคิดการพัฒนาเพื่อพึ่งตนเองของเกษตรกรอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (Self Reliance) โดยมูลนิธิชัยพัฒนาได้วางหลักการปฏิบัติที่ใช้ในการผลิตการเกษตรทุกอาชีพ 
โดยมุ่งช่วยเหลือพัฒนา คือการที่ทรงมุ่งช่วยให้เกษตรกรชาวสวนยางพาราพัฒนาให้เกิดการพึ่งตนเองได้ทั้งด้านอาชีพและส่งเสริมการเกษตร โดยมีหลักปฏิบัติและประยุกต์ดังนี้
              1. ยึดหลักที่ไม่ใช้วิธีการสั่งการให้เกษตรกรปฏิบัติตาม เพราะไม่อาจช่วยให้คนเหล่านั้นพึ่งตนเองได้ เนื่องจากเป็นการปฏิบัติงานโดยไม่ได้เกิดจากความพึงใจ 
              2. เน้นให้พึ่งตนเองและช่วยเหลือตนเองเป็นหลักสำคัญ โดยกระตุ้นให้เกษตรกรชาวสวนยางพาราทั้งหลายคิดหาลู่ทางที่จะช่วยตนเอง พึ่งตนเองโดยไม่มีการบังคับการแสวงหาความร่วมมือจากภายนอกต้องกระทำเมื่อจำเป็น
              3. ใช้หลักการมีส่วนร่วมของประชาชน (People Participation)
              4. ใช้หลักประชาธิปไตยในการดำเนินการผลิต 
              5. เข้าใจสภาพของท้องถิ่น ทั้งด้านสภาพแวดล้อม ทางภูมิศาสตร์ วัฒนธรรม และขนบธรรมเนียมประเพณี ของแต่ละท้องถิ่นในแต่ละภูมิภาคของประเทศ 
              6. การสร้างความแข็งแรงให้ชุมชน ด้วยการสร้างโครงสร้างพื้นฐานหลักที่จำเป็นต่อการผลิต อันจะเป็นรากฐานนำไปสู่การพึ่งตนเองได้ในระยะยาว โครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญ คือ แหล่งน้ำ เส้นทางคมนาคม ฯลฯ 
              7. การส่งเสริมหรือสร้างเสริม ความรู้ และเทคโนโลยีในการผลิต และนวัตกรรมทางผลิตยางพาราใหม่
              8. ส่งเสริมการใช้ความรู้ในด้านเทคโนโลยีการเกษตรที่เหมาะสมเข้าไปถึงมือเกษตรกรชาวสวนยางพาราอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง โดยทรงมุ่งเน้นให้เป็นขบวนการเดียวกับที่เป็นเทคโนโลยีทางการผลิตที่เกษตรกรชาวสวนยางพาราสามารถรับไปและสามารถไปปฏิบัติได้ผลจริง เช่น การรวมกลุ่ม และการสร้างภาวะผู้นำเป็นต้น


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)

N/A


17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)

N/A


18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

1)  ประเมินจากแบบสอบข้อเขียน
2)  ประเมินโดยการสัมภาษณ์ตามแบบทดสอบที่กำหนดไว้
3)  ประเมินโดยการสอบปฏิบัติ
4)  ประเมินจากหลักฐานอื่น ๆ เช่น หนังสือรับรอง เอกสารรับรองการผ่านการอบรม หนังสือรับรองการทำงาน/ผ่านงาน โดยต้องดำเนินการควบคู่กับการสัมภาษณ์


ยินดีต้อนรับ