หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

เก็บรักษาปุ๋ย

สาขาวิชาชีพเกษตรกรรม


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ ARC-GCKM-908A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ เก็บรักษาปุ๋ย

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2566

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

อาชีพผู้ปฏิบัติงานด้านการจัดการปุ๋ยยางพารา

1 6112 ผู้ปฏิบัติงานด้านการปลูกไม้ยืนต้นและไม้ผล

6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)

       หน่วยสมรรถนะนี้เกี่ยวข้องกับการเก็บรักษาปุ๋ย ประกอบด้วย การมีความรู้เกี่ยวกับวิธีการเก็บรักษาปุ๋ย และการดำเนินการเก็บรักษาปุ๋ยอย่างถูกต้อง ผู้ปฏิบัติงานจะต้องมีความรู้ ความเข้าใจ และทักษะในการเลือกวิธีการและรูปแบบการเก็บรักษาปุ๋ยเคมี ปุ๋ยเคมีที่ผสมใช้เอง
ปุ๋ยอินทรีย์ และปุ๋ยชีวภาพ การจัดเตรียมโรงเรือนและอุปกรณ์ในการเก็บรักษาปุ๋ยอย่างเหมาะสม และมีความรู้เกี่ยวกับข้อพึงระวังในการเก็บรักษาปุ๋ยอย่างถูกวิธี


7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)

กลุ่มอาชีพเพาะปลูกพืชเศรษฐกิจ ผู้ปฏิบัติงานด้านเพาะปลูกยางพารา


9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)

ISCO 6112 ผู้ปฏิบัติงานด้านการปลูกไม้ยืนต้นและไม้ผล


10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)

- พระราชบัญญัติปุ๋ย พ.ศ.2550


11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria)
A261

มีความรู้เกี่ยวกับวิธีการเก็บรักษาปุ๋ยเคมี ปุ๋ยเคมีที่ผสมใช้เอง ปุ๋ยอินทรีย์และปุ๋ยชีวภาพ

1. อธิบายวิธีการเก็บรักษาปุ๋ยเคมีได้อย่างถูกต้อง

2. อธิบายวิธีการเก็บรักษาปุ๋ยเคมีที่ผสมใช้เองได้อย่างถูกต้อง

3. อธิบายวิธีการเก็บรักษาปุ๋ยอินทรีย์ได้อย่างถูกต้อง

4. อธิบายวิธีการเก็บรักษาปุ๋ยชีวภาพได้อย่างถูกต้อง

A262

ดำเนินการเก็บรักษาปุ๋ยเคมี ปุ๋ยเคมีที่ผสมใช้เองปุ๋ยอินทรีย์และปุ๋ยชีวภาพอย่างถูกต้อง

1. เตรียมโรงเรือนและอุปกรณ์ในการเก็บรักษาปุ๋ยเคมี ปุ๋ยเคมีที่ผสมใช้เอง ปุ๋ยอินทรีย์และปุ๋ยชีวภาพ

2. ระบุข้อพึงระวังในการเก็บรักษาปุ๋ยได้อย่างถูกต้อง

3. เก็บรักษาปุ๋ยเคมี ปุ๋ยเคมีที่ผสมใช้เอง ปุ๋ยอินทรีย์และปุ๋ยชีวภาพได้อย่างถูกวิธีและปฏิบัติตามข้อพึงระวังได้อย่างถูกต้อง


12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

คุณลักษณะทางกายภาพของปุ๋ย (การละลายน้ำ แสงแดด)


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1)  มีทักษะในการเตรียมโรงเรือนและอุปกรณ์ในการเก็บรักษาปุ๋ยเคมี ปุ๋ยเคมีที่ผสมใช้เอง ปุ๋ยอินทรีย์และปุ๋ยชีวภาพได้อย่างเหมาะสม
2)  มีทักษะในการเก็บรักษาปุ๋ยเคมี ปุ๋ยเคมีที่ผสมใช้เอง ปุ๋ยอินทรีย์และปุ๋ยชีวภาพได้อย่างถูกวิธีและปฏิบัติตามข้อพึงระวังได้อย่างถูกต้อง

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1) มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับวิธีการเก็บรักษาปุ๋ยประเภทต่างๆ
2) มีความรู้ความสามารถในการจัดเตรียมโรงเรือนและอุปกรณ์ในการเก็บรักษาปุ๋ย
3) มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับข้อพึงระวังในการเก็บรักษาปุ๋ย


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) ทักษะและความรู้ที่ต้องการ 
       (ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)
              1) หลักฐาน/หนังสือรับรองการทำงาน หรือการผ่านงานที่ออกโดยหน่วยงานที่เชื่อถือได้
              2) แฟ้มสะสมงาน
       (ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)
              1) หลักฐานคุณวุฒิการศึกษา
              2) หลักฐานการผ่านการอบรม หรือการประชุมเชิงปฏิบัติการ
              3) ผลการสอบข้อเขียน
              4) ผลการทดสอบสัมภาษณ์/ปฏิบัติ
       (ค) คำแนะนำในการประเมิน
              1) ผู้ประเมินจะดำเนินการตรวจประเมินเกี่ยวกับการมีความรู้ในการเก็บรักษาปุ๋ย และการดำเนินการเก็บรักษาปุ๋ยอย่างถูกต้องและเหมาะสม โดยพิจารณาจากหลักฐานด้านความรู้
              2) หลักฐานที่ต้องการเพื่อแสดงถึงหน่วยสมรรถนะนี้ ต้องมีความสัมพันธ์กับข้อกำหนดของหน่วยสมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงานในหน่วยสมรรถนะนี้ โดยหลักฐานในที่นี้ต้องแสดงถึง 
                     • ความรู้และทักษะที่เกี่ยวข้อง
                     • วิธีการปฏิบัติงานในแปลง กฎหมาย กฎเกณฑ์ และระเบียบต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง
                     • ขอบเขตด้านอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
       (ง) วิธีการประเมิน
              1) การสอบข้อเขียน
              2) การสอบสัมภาษณ์
              3) การสอบปฏิบัติ


15. ขอบเขต (Range Statement)

ขอบเขต (Range Statement) อธิบายถึงการปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับหน่วยสมรรถนะนี้ระบุองค์ประกอบ ในการดำเนินงานด้านการบริหารจัดการทั่วไปให้มีความเหมาะสม โดยต้องดำเนินงานเป็นไปตามกฎหมาย กฎระเบียบ ข้อบังคับ มาตรฐาน แผนการดำเนินงาน และนโยบายของเจ้าของสวนยางและผู้ประกอบการสวนยาง ซึ่งต้องดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง
       (ก) คำแนะนำ
              N/A
       (ข) คำอธิบายรายละเอียด
              1) วิธีการเก็บรักษาปุ๋ยเคมี ควรเก็บในกระสอบที่มีถุงพลาสติกรองในและผูกรัดปากถุงให้แน่นเพื่อป้องกันความชื้นและการระเหิด วางในโรงเรือนมีหลังคาเพื่อป้องกันแดดและฝน 
              2) วิธีการเก็บรักษาปุ๋ยเคมีที่ผสมใช้เอง ควรเก็บในกระสอบที่มีถุงพลาสติกรองในและผูกรัดปากถุงให้แน่นเพื่อป้องกันความชื้นและการระเหิด วางในโรงเรือนมีหลังคาเพื่อป้องกันแดดและฝน หลังผสมปุ๋ยเก็บไว้ใช้ได้ไม่เกิน 1 เดือน
              3) วิธีการเก็บรักษาปุ๋ยอินทรีย์ ได้แก่ (1) ปุ๋ยคอก อย่านำปุ๋ยคอกไปผึ่งแดดเพราะจะสูญเสียธาตุไนโตรเจนจากการระเหิด ส่วนโพแตสเซียมมักสูญเสียไปโดยการชะล้างไปกับน้ำฝน ดังนั้นการเก็บรักษาปุ๋ยคอกที่ดีจึงควรเก็บไว้ในโรงเรือนมีหลังคาและคลุมกองปุ๋ยคอกด้วยผ้าใบเพื่อรักษาความชื้น และเติมหินฟอสเฟต (0-3-0) หรือปุ๋ยฟอสเฟตอย่างอื่นลงไปประมาณ 10 กิโลกรัม ต่อปุ๋ยคอก 1 ตัน  (2) ปุ๋ยหมัก ควรเก็บในกระสอบที่มีถุงพลาสติกรองในและผูกรัดปากถุงเพื่อรักษาความชื้นให้จุลินทรีย์มีชีวิตอยู่ได้นาน อย่าให้ปุ๋ยแห้งเพราะจุลินทรีย์จะค่อยๆตายไป วางในโรงเรือนมีหลังคา ถ้าเป็นกองปุ๋ยหมักควรคลุมกองปุ๋ยด้วยผ้าใบหรือแผ่นพลาสติกเพื่อรักษาความชื้น (3) น้ำหมักชีวภาพ ควรเก็บไว้ในภาชนะพลาสติก ปิดฝาไว้ วางในที่ร่ม สามารถเก็บรักษาไว้ได้นานหลายปีในอุณหภูมิปกติไม่เกิน 45-50 องศาเซลเซียส
              4) วิธีการเก็บรักษาปุ๋ยชีวภาพ ศึกษาจากฉลากของแต่ละผลิตภัณฑ์ปุ๋ยชีวภาพ เช่น ปุ๋ยชีวภาพไมโคไรซ่าชนิดผง สำหรับใส่ต้นยางพารา ที่ผลิตโดยกรมวิชาการเกษตร บรรจุในถุงที่ปิดผลึก ควรเก็บไว้ในที่ร่ม อุณหภูมิไม่เกิน 40 องศาเซลเซียส อายุการใช้งาน 1 ปีนับจากวันผลิต หากเปิดใช้แล้วไม่หมด ควรปิดรัดถุงให้สนิท เก็บไว้ใช้ต่อจนกว่าจะครบ 1 ปีนับจากวันผลิต
              5) เตรียมโรงเรือนและอุปกรณ์ในการเก็บรักษา หมายถึง โรงเรือนมีขนาดพอเหมาะกับปริมาณปุ๋ยที่จะเก็บ ป้องกันแสงแดดและฝนได้ดี ไม่อับชื้น น้ำไม่ท่วมขัง กรณีเป็นพื้นปูนหรือพื้นดินต้องรองแผ่นไม้ก่อนวางกระสอบปุ๋ยเคมีเพื่อป้องกันความชื้นจากพื้นทำให้ปุ๋ยเสื่อมสภาพ หากมีกองปุ๋ยหมักควรเตรียมแผ่นพลาสติกหรือผ้าใบคลุม 
              6) ข้อพึงระวังในการเก็บรักษาปุ๋ย (1) เคลื่อนย้ายปุ๋ยด้วยความระมัดระวัง ไม่ควรโยนกระสอบปุ๋ยเพราะจะทำให้กระสอบปุ๋ยฉีกขาดและปุ๋ยเสื่อมสภาพเร็วขึ้น (2) ไม่ควรเก็บปุ๋ยไว้นานเกินไปโดยพิจารณาจากอายุการใช้งานของปุ๋ยแต่ละประเภท และ (3) หมั่นตรวจสอบและดูแลปุ๋ยและสถานที่เก็บรักษาปุ๋ยอยู่เสมอ เพื่อป้องกันหรือแก้ไขปัญหาที่อาจเกิดขึ้นได้ทันท่วงที


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)

A20 ทัศนะคติที่ดีในการประกอบอาชีพ


17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)

N/A


18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

1) ประเมินจากแบบสอบข้อเขียน
2) ประเมินโดยการสัมภาษณ์ตามแบบทดสอบที่กำหนดไว้
3) ประเมินโดยการสอบปฏิบัติ
4) ประเมินจากหลักฐานอื่นๆ เช่น หนังสือรับรอง เอกสารรับรองการผ่านการอบรม หนังสือรับรองการทำงาน/ผ่านงาน โดยต้องดำเนินการควบคู่กับการสัมภาษณ์


ยินดีต้อนรับ