หน่วยสมรรถนะ
ติดตายางพันธุ์ดี
สาขาวิชาชีพเกษตรกรรม
รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ
1. รหัสหน่วยสมรรถนะ | ARC-GMWA-900A |
2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ | ติดตายางพันธุ์ดี |
3. ทบทวนครั้งที่ | 1 / 2566 |
4. สร้างใหม่ |
![]() |
ปรับปรุง |
![]() |
5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification) | |
ผู้ปฏิบัติงานด้านจัดทำแปลงต้นยางพาราพันธุ์ดี 1 6112 ผู้ปฏิบัติงานด้านการปลูกไม้ยืนต้นและไม้ผล |
6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency) | |
หน่วยสมรรถนะนี้เกี่ยวข้องกับการติดตายางพันธุ์ดี ผู้ปฏิบัติงานจะต้องมีความรู้ ความเข้าใจ และทักษะในการคัดเลือกต้นตอยางที่มีลักษณะเหมาะสมเพื่อติดตา สามารถคัดเลือกกิ่งตายางพันธุ์ดีที่มีลักษณะเหมาะสม สามารถปฏิบัติงานติดตายางพันธุ์ดีอย่างถูกวิธีทั้งในแปลงและในถุง |
7. สำหรับระดับคุณวุฒิ |
1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 |
---|---|---|---|---|---|---|---|
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
8. กลุ่มอาชีพ (Sector) | |
กลุ่มอาชีพเพาะปลูกพืชเศรษฐกิจ ผู้ปฏิบัติงานด้านเพาะปลูกยางพารา |
9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี) | |
ISCO 6112 ผู้ปฏิบัติงานด้านการปลูกไม้ยืนต้นและไม้ผล |
10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี) | |
- พระราชบัญญัติควบคุมยาง พ.ศ.2542 |
11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria) |
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) | เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) |
---|---|
A181 คัดต้นตอยางและกิ่งตายางพันธุ์ดีที่มีลักษณะเหมาะสมเพื่อติดตาในแปลงผลิตต้นตอตาและติดตาในถุงเพาะชำ |
1. อธิบายวิธีการคัดเลือกต้นตอยางที่มีลักษณะเหมาะสมสำหรับการติดตา
2. ดำเนินการคัดเลือกต้นตอยางเพื่อใช้ในการติดตาได้อย่างถูกต้อง
3. อธิบายวิธีการคัดเลือกกิ่งตายางพันธุ์ดีที่มีลักษณะเหมาะสมสำหรับการติดตา
4. ดำเนินการคัดเลือกกิ่งตายางพันธุ์ดีเพื่อใช้ในการติดตาได้อย่างถูกต้อง |
A182 ติดตายางพันธุ์ดีในแปลงผลิตต้นตอยางและในถุงเพาะชำตามวิธีการที่ถูกต้อง |
1. อธิบายวิธีการติดตายางพันธุ์ดีในแปลงผลิตต้นตอยางและติดตาในถุงเพาะชำ
2. เตรียมวัสดุและอุปกรณ์ที่ใช้ในการติดตายางพันธุ์ดีในแปลงและติดตาในถุงเพาะชำ
3.
ดำเนินการติดตายางพันธุ์ดีในแปลงและติดตาในถุงเพาะชำได้อย่างถูกต้อง
4. ตรวจสอบผลการติดตายางพันธุ์ดีในแปลงและในถุงเพาะชำ
5. ตัดต้นตอหลังติดตายางพันธุ์ดีสำเร็จทั้งในแปลงและในถุงเพาะชำ |
12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge) | |
1) การติดตาขยายพันธุ์พืช |
13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge) | |
(ก) ความต้องการด้านทักษะ 1) มีทักษะในการคัดเลือกต้นตอยางและกิ่งตายางพันธุ์ดีที่มีลักษณะเหมาะสมสำหรับติดตา (ข) ความต้องการด้านความรู้ 1) มีความรู้ในการคัดเลือกต้นตอยางที่มีลักษณะเหมาะสมเพื่อติดตา |
14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide) | |
หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) ทักษะและความรู้ที่ต้องการ |
15. ขอบเขต (Range Statement) | |
ขอบเขต (Range Statement) อธิบายถึงการปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับหน่วยสมรรถนะนี้ระบุองค์ประกอบ ในการดำเนินงานด้านการบริหารจัดการทั่วไปให้มีความเหมาะสม โดยต้องดำเนินงานเป็นไปตามกฎหมาย กฎระเบียบ ข้อบังคับ มาตรฐาน แผนการดำเนินงาน และนโยบายของเจ้าของแปลงและผู้ประกอบการผลิตต้นยางพาราพันธุ์ดี ซึ่งต้องดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง |
16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี) | |
A20 ทัศนะคติที่ดีในการประกอบอาชีพ |
17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี) | |
N/A |
18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure) | |
1) ประเมินจากแบบสอบข้อเขียน |