หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

จัดทำแปลงผลิตกิ่งตายางพันธุ์ดี

สาขาวิชาชีพเกษตรกรรม


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ ARC-BAQR-896A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ จัดทำแปลงผลิตกิ่งตายางพันธุ์ดี

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2566

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ผู้ปฏิบัติงานด้านจัดทำแปลงต้นยางพาราพันธุ์ดี

1 6112 ผู้ปฏิบัติงานด้านการปลูกไม้ยืนต้นและไม้ผล

6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)

       หน่วยสมรรถนะนี้เกี่ยวข้องกับการจัดทำแปลงผลิตกิ่งตายางพันธุ์ดี ประกอบด้วย การพิจารณาพื้นที่จัดทำแปลงกิ่งตายาง การเตรียมพื้นที่ และการจัดทำแปลงกิ่งตายาง ผู้ปฏิบัติงานจะต้องมีความรู้ ความเข้าใจ และทักษะที่จำเป็นในการจัดการสภาพพื้นที่และกำหนดพื้นที่ที่เหมาะสมในการจัดทำแปลงกิ่งตายาง การเตรียมดินตามขั้นตอนที่ถูกต้อง การเก็บเศษวัชพืช รากไม้ออกจากแปลงหลังจากไถ การเตรียมและบำรุงรักษาเครื่องมือและอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง และการจัดการแปลงกิ่งตายางแยกตามพันธุ์ยางแต่ละสกุลตามผังแปลงที่วางไว้


7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)

กลุ่มอาชีพเพาะปลูกพืชเศรษฐกิจ ผู้ปฏิบัติงานด้านเพาะปลูกยางพารา


9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)

ISCO 6112 ผู้ปฏิบัติงานด้านการปลูกไม้ยืนต้นและไม้ผล


10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)

- พระราชบัญญัติควบคุมยาง พ.ศ.2542
- คำแนะนำพันธุ์ยาง ปี 2560 พันธุ์ยางแนะนำในพื้นที่ปลูกยางเดิม พันธุ์ยางแนะนำในพื้นที่ปลูกยางใหม่         ของสถาบันวิจัยยาง กรมวิชาการเกษตร


11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria)
A141

พิจารณาพื้นที่จัดทำแปลงผลิตกิ่งตายางพันธุ์ดี

1. อธิบายลักษณะพื้นที่ที่เหมาะสมในการจัดทำแปลงผลิตกิ่งตายางพันธุ์ดี

2. เก็บตัวอย่างดินเพื่อนำไปวิเคราะห์ธาตุอาหารพืชในดินเบื้องต้นและส่งตัวอย่างดินไปวิเคราะห์

3. ใช้ชุดตรวจสอบธาตุอาหารในดินอย่างง่ายเพื่อวิเคราะห์ธาตุอาหารพืชในดินเบื้องต้น

4. คัดเลือกพื้นที่จัดทำแปลงผลิตกิ่งตายางพันธุ์ดีโดยพิจารณาจากผลการวิเคราะห์ดินและการประเมินพื้นที่

A142

เตรียมพื้นที่จัดทำแปลงผลิตกิ่งตายางพันธุ์ดี

1. อธิบายวิธีการเตรียมพื้นที่จัดทำแปลงผลิตกิ่งตายางพันธุ์ดีตามขั้นตอน

2. จัดเตรียมและบำรุงรักษารถแทรกเตอร์เพื่อการเตรียมพื้นที่จัดทำแปลงผลิตกิ่งตายางพันธุ์ดี

3. เตรียมพื้นที่จัดทำแปลงผลิตกิ่งตายางพันธุ์ดีตามขั้นตอนอย่างถูกต้อง

A143

จัดทำแปลงผลิตกิ่งตายางพันธุ์ดี

1. อธิบายหลักการจัดทำแปลงผลิตกิ่งตายางพันธุ์ดี

2. กำหนดสายพันธุ์ยางพาราแต่ละสกุลที่จะปลูกในแปลงผลิตกิ่งตายางพันธุ์ดี

3. จัดเตรียมอุปกรณ์ในการจัดทำแปลงผลิตกิ่งตายางพันธุ์ดี

4. จัดทำแปลงผลิตกิ่งตายางพันธุ์ดีอย่างถูกวิธี


12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

1) การเก็บตัวอย่างดิน
2) การอ่านค่าวิเคราะห์ดิน


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1)  มีทักษะในการเก็บตัวอย่างดินเพื่อส่งตรวจวิเคราะห์ธาตุอาหารพืชในดินเบื้องต้น
2)  มีทักษะในการใช้ชุดตรวจสอบธาตุอาหารในดินอย่างง่ายเพื่อวิเคราะห์ธาตุอาหารพืชในดินเบื้องต้น
3)  มีทักษะในการเตรียม บำรุงรักษา และใช้รถแทรกเตอร์เพื่อเตรียมพื้นที่จัดทำแปลงผลิตกิ่งตายางพันธุ์ดี
4)  มีทักษะในการจัดทำแปลงผลิตกิ่งตายางพันธุ์ดี

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1)  มีความรู้เกี่ยวกับการเลือกพื้นที่ที่เหมาะสมในการจัดทำแปลงผลิตกิ่งตายางพันธุ์ดี
2)  มีความรู้ในการไถพลิกดิน ไถพรวน และการใช้สารปรับปรุงสภาพดินอย่างถูกต้อง
3)  มีความรู้ความสามารถในการจัดทำแปลงผลิตกิ่งตายางอย่างถูกวิธี
 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) ทักษะและความรู้ที่ต้องการ 
(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)
      1)  หลักฐาน/หนังสือรับรองการทำงาน หรือการผ่านงานที่ออกโดยหน่วยงานที่เชื่อถือได้
      2)  แฟ้มสะสมงาน
(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)
      1)  หลักฐานคุณวุฒิการศึกษา
      2)  หลักฐานการผ่านการอบรม หรือการประชุมเชิงปฏิบัติการ
      3)  ผลการสอบข้อเขียน
      4)  ผลการทดสอบสัมภาษณ์/ปฏิบัติ
(ค) คำแนะนำในการประเมิน
      1)  ผู้ประเมินจะดำเนินการตรวจประเมินความรู้เกี่ยวกับการพิจารณาพื้นที่จัดทำแปลงกิ่งตายาง การเตรียมพื้นที่ การจัดทำผังแปลงกิ่งตายาง และจัดทำแปลงกิ่งตายางตามผังแปลงที่วางไว้ โดยพิจารณาจากหลักฐานด้านความรู้
      2)  หลักฐานที่ต้องการเพื่อแสดงถึงหน่วยสมรรถนะนี้ ต้องมีความสัมพันธ์กับข้อกำหนดของหน่วยสมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงานในหน่วยสมรรถนะนี้ โดยหลักฐานในที่นี้ต้องแสดงถึง 
            •  ความรู้และทักษะที่เกี่ยวข้อง
            •  วิธีการปฏิบัติงานในแปลง กฎหมาย กฎเกณฑ์ และระเบียบต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง
            •  ขอบเขตด้านอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
(ง) วิธีการประเมิน
      1)  การสอบข้อเขียน
      2)  การสอบสัมภาษณ์
      3)  การสอบปฏิบัติ


15. ขอบเขต (Range Statement)

       ขอบเขต (Range Statement) อธิบายถึงการปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับหน่วยสมรรถนะนี้ระบุองค์ประกอบ ในการดำเนินงานด้านการบริหารจัดการทั่วไปให้มีความเหมาะสม โดยต้องดำเนินงานเป็นไปตามกฎหมาย กฎระเบียบ ข้อบังคับ มาตรฐาน แผนการดำเนินงาน และนโยบายของเจ้าของแปลงและผู้ประกอบการผลิตต้นยางพาราพันธุ์ดี ซึ่งต้องดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง
       (ก)  คำแนะนำ
              N/A
       (ข)  คำอธิบายรายละเอียด
              1)  ลักษณะพื้นที่ที่เหมาะสมในการจัดทำแปลผลิตงกิ่งตายางพันธุ์ดี หมายถึง พื้นที่ราบ มีการระบายน้ำดี อยู่ใกล้แหล่งน้ำ ไม่มีไม้ยืนต้นปะปนบังแสงแดดช่วยป้องกันโรคยางที่เกิดจากเชื้อรา  ควรเป็นดินร่วน/ดินร่วนปนทรายมีความอุดมสมบูรณ์ดี การคมนาคมสะดวก
              2)  หลักการจัดทำแปลงผลิตกิ่งตายางพันธุ์ดี ได้แก่ แบ่งแปลงกิ่งตายางพันธุ์ดีตามสกุลต่างๆ ระหว่างแปลงกิ่งตายางต่างสกุลควรเว้นระยะห่างให้เห็นอย่างเด่นชัด ระยะระหว่างแปลงควรเป็น 3 เมตร ในระหว่างแปลงมีหลักถาวรปักเข็มเครื่องหมายแสดงเขตแบ่งพันธุ์ยางไว้หรืออาจทำเป็นคูระบายน้ำไว้รอบแปลง ในแต่ละแปลงควรมีเนื้อที่ 1 ไร่ ระยะปลูกระหว่างต้น 1 เมตร ระหว่างแถว 2 เมตร หนึ่งไร่ปลูกได้ 800 ต้น
              3)  กำหนดสายพันธุ์ยางพาราแต่ละสกุลที่จะปลูก พิจารณาจากพันธุ์ยางที่เหมาะสมกับท้องถิ่น/เขตปลูกยางนั้นและความนิยมของเกษตรกรในพื้นที่


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)

A20  ทัศนะคติที่ดีในการประกอบอาชีพ


17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)

N/A


18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

1)  ประเมินจากแบบสอบข้อเขียน
2)  ประเมินโดยการสัมภาษณ์ตามแบบทดสอบที่กำหนดไว้
3)  ประเมินโดยการสอบปฏิบัติ 
4)  ประเมินจากหลักฐานอื่นๆ เช่น หนังสือรับรอง เอกสารรับรองการผ่านการอบรม หนังสือรับรองการทำงาน/ผ่านงาน โดยต้องดำเนินการควบคู่กับการสัมภาษณ์


ยินดีต้อนรับ