หน่วยสมรรถนะ
จัดการผลิตภาพการเพาะปลูกอ้อยอย่างต่อเนื่อง
สาขาวิชาชีพเกษตรกรรม
รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ
1. รหัสหน่วยสมรรถนะ | ARC-WUEY-889A |
2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ | จัดการผลิตภาพการเพาะปลูกอ้อยอย่างต่อเนื่อง |
3. ทบทวนครั้งที่ | 2 / 2566 |
4. สร้างใหม่ |
![]() |
ปรับปรุง |
![]() |
5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification) | |
สาขาเพาะปลูกพืชเศรษฐกิจ เกษตรกรเพาะปลูกอ้อย |
6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency) | |
หน่วยนี้เกี่ยวข้องกับการจัดการผลิตภาพการเพาะปลูกอ้อยอย่างต่อเนื่อง ซึ่งประกอบด้วยการจัดการทรัพยากรเพื่อการเพาะปลูกอ้อยอย่างสมดุล การเพิ่มผลผลิตอย่างมีคุณธรรมและยั่งยืน การผลิตอ้อยคุณภาพสูง การพัฒนาการปฏิบัติงานของบุคคล และการพัฒนาระบบสนับสนุนการเพาะปลูกอ้อย |
7. สำหรับระดับคุณวุฒิ |
1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 |
---|---|---|---|---|---|---|---|
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
8. กลุ่มอาชีพ (Sector) | |
ผู้ปฏิบัติงานเพาะปลูกพืชเศรษฐกิจ |
9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี) | |
รหัสอาชีพ 6111 : ผู้ปฏิบัติงานด้านการปลูกพืชไร่และพืชผัก (ISCO, 2008) |
10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี) | |
N/A |
11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria) |
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) | เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) |
---|---|
B671 จัดการทรัพยากรเพื่อการเพาะปลูกอ้อยอย่างสมดุล |
1.1 ใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า
1.2 จัดการทรัพยากรในท้องถิ่นเพื่อประโยชน์ในการเพาะปลูกอ้อย
1.3 ลดต้นทุนการเพาะปลูกอ้อย |
B672 เพิ่มผลผลิตอย่างมีคุณธรรมและยั่งยืน |
2.1 ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพิ่มประสิทธิภาพการเพาะปลูกอ้อย
2.2 เพาะปลูกอ้อยเชิงอนุรักษ์ธรรมชาติโดยถูกต้องตามกฎหมาย
2.3 เพาะปลูกอ้อยอย่างเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม |
B673 ผลิตอ้อยที่มีคุณภาพ |
3.1 ผลิตอ้อยที่ได้มาตรฐาน
3.2 ผลิตอ้อยที่ปลอดภัย |
B674 พัฒนาการปฏิบัติงานของบุคคล |
4.1 ปฏิบัติงานอย่างมีประสิทธิภาพตามหลักความปลอดภัย
4.2 บำรุงรักษาสุขอนามัยส่วนบุคคล
4.3 ให้คำแนะนำ กำกับดูแล ผู้ร่วมงานให้บรรลุงานตามแผน |
B675 พัฒนาระบบสนับสนุนการเพาะปลูกอ้อย |
5.1 จัดระบบเก็บข้อมูลและเอกสาร
5.2 เชื่อมโยงการผลิตกับการตลาด |
12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge) | |
1. รวบรวมข้อมูลการเพาะปลูกอ้อย |
13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge) | |
(ก) ความต้องการด้านทักษะ การใช้ทรัพยากรหมุนเวียนในท้องถิ่นให้เกิดประโยชน์ (ข) ความต้องการด้านความรู้ ข้อมูลความต้องการของตลาดที่เกี่ยวข้อง เช่น โรงงานน้ำตาล ตลาดในภูมิภาค หรือตลาดโลก |
14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide) | |
หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge) |
15. ขอบเขต (Range Statement) | |
(ก) คำแนะนำ |
16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี) | |
N/A |
17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี) | |
N/A |
18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure) | |
1. หลักฐานจากใบรับรองผลการศึกษา ใบคุณวุฒิ ใบประกาศนียบัตร วุฒิบัตร และหนังสือรับรองประสบการณ์การทำงาน สามารถใช้เป็นหลักฐานการเข้าสู่คุณวุฒิวิชาชีพ ส่วนหลักฐานอื่น ๆ ที่ตรงตามสมรรถนะที่สอบ เช่น หนังสือรับรองการทำงาน หนังสือรับรองการฝึกอบรม ที่ออกโดยหน่วยงานที่เชื่อถือได้ หรือหลักฐานจากการเป็นวิทยากรบรรยาย การจัดทำรายงานผลการทำงาน การจัดทำคู่มือ การเขียนบทความ ที่เชื่อถือได้ สามารถใช้เป็นส่วนหนึ่งของการประเมิน |