หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ควบคุมคุณภาพของการทดสอบสิ่งส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ

สาขาวิชาชีพธุรกิจบริการ


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ PET-OZLO-045B

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ควบคุมคุณภาพของการทดสอบสิ่งส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2566

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ISCO 3211 เจ้าหน้าที่เทคนิคด้านวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับสิ่งมีชีวิต


6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)

บุคคลต้องมีความรู้ ทักษะ และความสามารถในการควบคุมคุณภาพของการทดสอบ อันได้แก่ การตรวจสอบคุณภาพของสารเคมีที่ใช้ในการทดสอบ การตรวจสอบคุณภาพอาหารเลี้ยงเชื้อ การตรวจสอบคุณภาพของทักษะการทำกระบวนการทดสอบ การประเมินคุณภาพภาพถ่าย และการตรวจสอบความพร้อมใช้งานของเครื่องมือทางรังสีวิทยาอย่างถูกต้องเหมาะสม


7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)

นักเทคนิคการสัตวแพทย์


9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)

1.เกณฑ์ห้องปฏิบัติการวิเคราะห์ที่ดีของกรมโรงงานอุตสาหกรรม พ.ศ. 2550
2. มาตรฐานสถานประกอบการสัตวในประเทศไทย พ.ศ. 2553
3. มาตรฐานห้องปฏิบัติการทางการแพทย์กระทรวงสาธารณสุข พ.ศ.2562
4. มาตรฐานห้องปฏิบัติการรังสีวินิจฉัยกระทรวงสาธารณสุข พ.ศ. 2562
 


11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria)
10306.01 ควบคุมคุณภาพภายในของการทดสอบ

1. การตรวจสอบคุณภาพของสารเคมีที่ใช้ในการทดสอบตามข้อกำหนดของห้องปฏิบัติการ 



2. การตรวจสอบคุณภาพอาหารเลี้ยงเชื้อตามข้อกำหนดของห้องปฏิบัติการ 

3. การตรวจสอบคุณภาพของทักษะการทำกระบวนการทดสอบตามข้อกำหนดของห้องปฏิบัติการ

10306.02 ควบคุมคุณภาพภ่าพถ่ายทางรังสี

1. ประเมินคุณภาพภาพถ่ายรังสีวินิจฉัย

2. ตรวจสอบความพร้อมใช้งานเครื่องมือทางรังสี


12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

10301    บำรุงรักษาอุปกรณ์ เครื่องมือพิเศษ และสถานที่ในห้องปฏิบัติการ
10304    รายงานผลและบริหารจัดการฐานข้อมูลทางห้องปฏิบัติการ
10305    ดูแลสัตว์ป่วยเบื้องต้นที่เข้ารับตรวจทางห้องปฏิบัติการ    
ทักษะการใช้เครื่องมือภายในห้องปฏิบัติการ
 


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. ทักษะในการดำเนินการตามกระบวนการควบคุมคุณภาพการทดสอบ

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. ความรู้ทางการทดสอบกระบวนการปฏิบัติทางห้องปฏิบัติการ
2. ความรู้การตรวจHEMATOLOGY
3. ความรู้การตรวจ BLOOD CHEMISTRY
4. ความรู้การตรวจ URINALYSIS
5. ความรู้การตรวจ HORMONE, SEROLOGY, TOXICOLOGY, HISTOPATHOLOGY & CYTOLOGY
6. ความรู้การตรวจ MICROBIOLOGY & PARASITOLOGY
7. ความรู้การตรวจ FECAL EXAMINATION
8. ความรู้การตรวจ PCR TECHNIQUE
 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมินและควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน(Performance Criteria)และความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)
    (ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)
          1. ใบบันทึกจากการสังเกตการณ์ปฏิบัติงาน
          2. เอกสารรับรองผลงานและความรู้ความสามารถที่ผ่านมา (ถ้ามี)
          3. เอกสารรับรองคุณวุฒิวิชาชีพ สาขาวิชาชีพธุรกิจบริการสัตว์เลี้ยง อาชีพนักเทคนิคการสัตวแพทย์ ระดับ 5 (ถ้ามี)
    (ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)
          1. ผลการทดสอบความรู้
          2. เอกสาร/หลักฐานที่เกี่ยวข้อง    
          3. วุฒิบัตร ประกาศนียบัตร หรือใบรับรองผลการศึกษา (ถ้ามี)
     (ค) คำแนะนำในการประเมิน
           ผู้เข้ารับการประเมินต้องผ่านการประเมินที่ครอบคลุมในทุกสมรรถนะย่อยขอบเขตความรู้และทักษะที่กำหนดในกรณีที่ผู้รับการประเมินผ่านไม่ครบตามเกณฑ์กำหนดผู้ประเมินต้องแจ้งหน่วยสมรรถนะและสมรรถนะย่อยที่ไม่ผ่านให้ผู้รับการประเมินไปทบทวนสมรรถนะที่ยังไม่ผ่านและสามารถกลับมาทดสอบสมรรถนะใหม่อีกครั้ง
    (ง) วิธีการประเมิน
         1. ผู้ประเมินทำการประเมินความรู้ผู้เข้าทดสอบโดยใช้แบบทดสอบความรู้ และ/หรือเอกสาร/หลักฐานที่เกี่ยวข้อง


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก) คำแนะนำ 
1. การทำงานสนับสนุนงานตามแผนการรักษาภายใต้การควบคุมของนายสัตวแพทย์
(ข)  คำอธิบายรายละเอียด
1.คุณภาพภายในการทดสอบ หมายถึง การดำเนินการของห้องปฏิบัติการในการเฝ้าระวังการทดสอบและผลการทดสอบให้น่าเชื่อถือก่อนรายงานผล กระบวนการควบคุมคุณภาพต้องครอบคลุมทุกขั้นตอนการวิเคราะห์ ตั้งแต่การสุ่มตัวอย่าง การเตรียมตัวอย่าง การวิเคราะห์ตัวอย่าง ตลอดจนถึงการรายงานผลการทดสอบ
2.ควบคุมคุณภาพรังสีวินิจฉัย หมายถึงการควบคุมการฉายรังสี โดยลดจำนวนรังสีที่ส่งผลกระทบอันตรายแก่ผู้ฉายและสัตว์ป่วย อีกทั้งยังคงคุณภาพของภาพหลังการฉายรังสีได้อย่างชัดเจนและตรงจุด

 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

        เจ้าหน้าที่สอบพิจารณาหลักฐานจากที่เป็นเอกสารรับรองผลงาน รับรองความรู้ความสามารถที่ผ่านมาก่อนหน้า หากไม่ชัดเจนหรือมีปริมาณเพียงพอให้เชื่อถือได้ ให้ประเมินสมรรถนะของผู้เข้ารับการประเมินด้วยเครื่องมือประเมินความรู้และทักษะ ให้ครอบคลุมเกณฑ์การปฏิบัติงาน ทักษะและความรู้ที่ต้องการของหน่วยสมรรถนะนี้ ได้แก่
              1) แบบทดข้อสอบข้อเขียน
              2) แบบทดสอบสาธิตการปฏิบัติการ
              3) การสัมภาษณ์เชิงเทคนิค จากผลงานในของผู้รับการประเมิน (หากจำเป็น)
 


ยินดีต้อนรับ