หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

เตรียมอุปกรณ์ ทำความสะอาด และบำรุงรักษา เครื่องมือพิเศษอื่นๆ และเครื่องมือผ่าตัดเฉพาะโรค

สาขาวิชาชีพธุรกิจบริการ


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ PET-IMQU-039B

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ เตรียมอุปกรณ์ ทำความสะอาด และบำรุงรักษา เครื่องมือพิเศษอื่นๆ และเครื่องมือผ่าตัดเฉพาะโรค

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2566

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)
N/A

6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)

   บุคคลต้องมีความรู้ ทักษะ และความสามารถในการเตรียมอุปกรณ์ ทำความสะอาด และบำรุงรักษา เครื่องมือพิเศษอื่นๆ เครื่องมือผ่าตัดเฉพาะโรค (เช่น เครื่องมือผ่าตัด solf tissue ผ่าตัดตา และ Endoscope ที่นายสัตวแพทย์ต้องใช้) ได้ถูกต้อง


7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)

พยาบาลสัตว์


9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)

1.มาตรฐานสถานประกอบการสัตวในประเทศไทยปี 2553
2.หลักและแนวปฏิบัติการป้องกันการติดเชื้อในโรงพยาบาล พ.ศ.2555
3.พระราชบัญญัติวิชาชีพการสัตวแพทย์ พ.ศ.2545
4.คู่มือประกอบเกณฑ์มาตรฐานวิชาชีพการสัตวแพทย์ พ.ศ. 2553
 


11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria)
10210.01 เตรียมเครื่องมือพิเศษและเครื่องมือผ่าตัดตามแผนการรักษาของนายสัตวแพทย์

1. เตรียมเครื่องมือพิเศษอื่นๆ ในการตรวจรักษาผู้ป่วยนอก 


2. เตรียมเครื่องมือพิเศษอื่นๆ ภายในห้องผ่าตัดตาม


10210.02 ทำความสะอาด และบำรุงรักษาเครื่องมือพิเศษ เครื่องมือผ่าตัดเฉพาะโรค

1. ทำความสะอาดและจัดเก็บเครื่องมือพิเศษที่ผ่านการใช้งาน


2. วางแผนและดำเนินการบำรุงรักษาเครื่องมือพิเศษ



12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

10201  เตรียมวัสดุอุปกรณ์การแพทย์และดูแลสัตว์ป่วยเพื่อเข้ารับการรักษาตามแผนการรักษาของนายสัตวแพทย์
10202  บริหารจัดการยาเวชภัณฑ์    และวัสดุทางการแพทย์ตามแผนการรักษาของนายสัตวแพทย์    ความรู้และทักษะทางด้านการพยาบาลสัตว์
ความรู้ทางด้านพยาธิสภาพในโรคสัตว์ต่าง
ความรู้ทางด้านกายวิภาคสัตว์
 


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1.ทักษะการเตรียมเครื่องมืออุปกรณ์พิเศษในการตรวจวินิจฉัย
2. ทักษะการเตรียมเครื่องมือพิเศษในการผ่าตัดเฉพาะโรค
3. มีทักษะการบำรุงรักษาเครื่องมือพิเศษในแต่ละประเภท
 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. ความรู้ในการใช้เครื่องมืออุปกรณ์พิเศษ
2. ความรู้ในการทำความสะอาดและทำให้ปลอดเชื่อในเครื่องมือพิเศษ
 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

        หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และ ความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)
    (ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)
       1.ใบบันทึกจากการสังเกตการณ์ปฏิบัติงาน
       2.เอกสารรับรองผลงานและความรู้ความสามารถที่ผ่านมา (ถ้ามี)
       3. เอกสารรับรองคุณวุฒิวิชาชีพ สาขาวิชาชีพธุรกิจบริการสัตว์เลี้ยง อาชีพพยาบาลสัตว์ ระดับ 5
    (ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)
      1. ผลการทดสอบความรู้
      2. เอกสาร/หลักฐานที่เกี่ยวข้อง    
      3. วุฒิบัตร ประกาศนียบัตร หรือใบรับรองผลการศึกษา (ถ้ามี)
    (ค) คำแนะนำในการประเมิน
  ผู้เข้ารับการประเมินต้องผ่านการประเมินที่ครอบคลุมในทุกสมรรถนะย่อยขอบเขตความรู้และทักษะที่กำหนดในกรณีที่ผู้รับการประเมินผ่านไม่ครบตามเกณฑ์กำหนดผู้ประเมินต้องแจ้งหน่วยสมรรถนะและสมรรถนะย่อยที่ไม่ผ่านให้ผู้รับการประเมินไปทบทวนสมรรถนะที่ยังไม่ผ่านและสามารถกลับมาทดสอบสมรรถนะใหม่อีกครั้ง
     (ง) วิธีการประเมิน
    1. ผู้ประเมินทำการประเมินความรู้ผู้เข้าทดสอบโดยใช้แบบทดสอบความรู้และ/หรือเอกสาร/หลักฐานที่เกี่ยวข้อง
        2. ทดสอบปฏิบัติการ
 


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก) คำแนะนำ 
การทำงานสนับสนุนงานตามแผนการรักษา ภายใต้การควบคุม กำกับ และดูแล ของนายสัตวแพทย์
(ข) คำอธิบายรายละเอียด
     1. เครื่องมือพิเศษอื่นๆที่ใช้ตรวจรักษาสัตว์ป่วยนอก หมายถึงเครื่องมือพิเศษที่ช่วยในการวินิจฉัยโรคหรือรักษาภายในห้องตรวจ เช่น เครื่องอัลตร้าซาวน์ เครื่องตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ ที่ให้สารน้ำอัตโนมัติ เป็นต้น
     2. เครื่องมือพิเศษที่ใช้ภายในห้องผ่าตัด  หมายถึง อุปกรณ์พิเศษที่ช่วยในการผ่าตัดเฉพาะโรคโดยนายสัตวแพทย์ เช่น เครื่องมือผ่าตัด solf tissue ผ่าตัดตา และ Endoscope เครื่องดมยา เครื่องช่วยหายใจ
 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

   เจ้าหน้าที่สอบพิจารณาหลักฐานจากที่เป็นเอกสารรับรองผลงาน รับรองความรู้ความสามารถที่ผ่านมาก่อนหน้า หากไม่ชัดเจนหรือมีปริมาณเพียงพอให้เชื่อถือได้ ให้ประเมินสมรรถนะของผู้เข้ารับการประเมินด้วยเครื่องมือประเมินความรู้และทักษะ ให้ครอบคลุมเกณฑ์การปฏิบัติงาน ทักษะและความรู้ที่ต้องการของหน่วยสมรรถนะนี้ ได้แก่
      1) แบบทดข้อสอบข้อเขียน
      2) แบบทดสอบการสาธิตการปฏิบัติงาน
 


ยินดีต้อนรับ