หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ควบคุมการผลิต

สาขาวิชาชีพบริการสุขภาพ


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ HLT-THWM-723A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ควบคุมการผลิต

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2566

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)
N/A 1 3122 หัวหน้าคุมงานด้านการผลิต

6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)

ควบคุมการผลิตและการบรรจุผลิตภัณฑ์จากสมุนไพรให้ถูกต้องตามใบสั่งผลิตและคู่มือการปฏิบัติงาน


7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)

ผู้ปฏิบัติงานด้านการผลิตผลิตภัณฑ์สมุนไพร


9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)

ข้อกำหนด หลักเกณฑ์การปฏิบัติที่ดี หรือประกาศกระทรวงตามประเภทผลิตภัณฑ์ เช่น ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง “หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการผลิตผลิตภัณฑ์สมุนไพร ตามพระราชบัญญัติผลิตภัณฑ์สมุนไพร พ.ศ. 2562” พ.ศ.2564


11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria)
10207-01

กำกับการผลิตผลิตภัณฑ์จากสมุนไพร

1.ตรวจกระบวนการผลิต

2.ตรวจการเข้ากันของส่วนผสม

3.ตรวจผลิตภัณฑ์จากการตั้งเครื่องจักร  

4.ตรวจบันทึกการผลิต 

5.แก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นระหว่างกระบวนการผลิต

10207-02

กำกับการบรรจุผลิตภัณฑ์จากสมุนไพร

1.ตรวจการพิมพ์ฉลากบรรจุภัณฑ์ 

2.ตรวจความพร้อมของพื้นที่การบรรจุ 

3.ตรวจการบรรจุผลิตภัณฑ์ 

4.ตรวจเอกสารการบรรจุผลิตภัณฑ์


12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

1. ทักษะการใช้เครื่องมือ เครื่องจักร อุปกรณ์เกี่ยวกับการผลิต
2. ทักษะการใช้เครื่องมือทดสอบคุณภาพ
 


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

ทักษะการควบคุมการผลิตและการบรรจุผลิตภัณฑ์จากสมุนไพร

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. การกำกับการผลิตผลิตภัณฑ์จากสมุนไพร
2. การกำกับการบรรจุผลิตภัณฑ์จากสมุนไพร
 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

เอกสารรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ  หรือ เอกสารรับรองคุณวุฒิวิชาชีพ สาขาวิชาชีพบริการสุขภาพ สาขาผลิตภัณฑ์จากสมุนไพรอาชีพผู้ผลิตผลิตภัณฑ์จากสมุนไพร ระดับ 3 


15. ขอบเขต (Range Statement)

1. การตรวจลำดับขั้นตอนกระบวนการผลิต ลำดับการเทวัตถุดิบ                                                                                                                                                                                                                                            2. การตรวจการเข้ากันของส่วนผสม โดยดูจากขนาดหรือความละเอียด การแปรผันของน้ำหนัก ลักษณะความเป็นเนื้อเดียวกัน ลักษณะทางกายภาพ สี กลิ่น และการแยกระดับ เป็นต้น
3. การตรวจผลิตภัณฑ์ที่ได้หลังจากตั้งเครื่องจักร เช่น เครื่องตอกเม็ด เครื่องบรรจุแคปซูล เครื่องบรรจุซอง โดยทดสอบเบื้องต้นตามหัวข้อทดสอบที่ได้ขึ้นทะเบียนไว้ ได้แก่
    ผลิตภัณฑ์รูปแบบเม็ด - น้ำหนัก, ความหนา, ความแข็ง
    ผลิตภัณฑ์รูปแบบแคปซูล – น้ำหนัก
    ผลิตภัณฑ์รูปแบบซอง - น้ำหนัก, การรั่ว
    ผลิตภัณฑ์รูปแบบน้ำ – น้ำหนัก, ค่า pH, ค่าความหนืด, การรั่ว
    ผลิตภัณฑ์รูปแบบกึ่งแข็งกึ่งเหลว -น้ำหนัก, ค่า pH, ค่าความหนืด, การรั่ว
4. การตรวจบันทึกการผลิต โดยตรวจสอบความถูกต้องตรงกันระหว่างข้อมูลและการบันทึกการผลิต
5. การแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นระหว่างกระบวนการผลิต เช่น ส่วนผสมไม่เข้ากัน สามารถแก้ไขเบื้องต้นได้
6. การตรวจการพิมพ์ฉลากบรรจุภัณฑ์ โดยดูจากความถูกต้องของการพิมพ์
7. การตรวจความพร้อมของพื้นที่การบรรจุ โดยดูจากสภาวะแวดล้อม เช่น อุณหภูมิความชื้นสัมพัทธ์ เป็นต้น
8. การตรวจเอกสารการบรรจุผลิตภัณฑ์ โดยดูจากความถูกต้องของข้อมูลที่บันทึกต้องตรงกับเอกสารที่บันทึก


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1 การสอบข้อเขียน
18.2 การสอบปฏิบัติ โดยการสาธิตการปฏิบัติงานหรือการสังเกตการปฏิบัติงาน
 


ยินดีต้อนรับ