หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

รักษาและเก็บศพ

สาขาวิชาชีพบริการสุขภาพ


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ HLT-GHRG-674A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ รักษาและเก็บศพ

3. ทบทวนครั้งที่ 2 / 2566

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

(รหัส ISCO 5163) นักดูแลเกี่ยวกับศพ


6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)

ดูแลศพ ตกแต่งศพภายนอก เก็บรักษาศพและชิ้นส่วนหรือชิ้นเนื้อได้อย่างถูกต้อง รวมทั้งเตรียมเครื่องมือ อุปกรณ์ สารเคมีที่ใช้ในการฉีดยาศพและฉีดยาศพได้


7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)

นักดูแลเกี่ยวกับศพ


9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria)
10606.01

ดูแลศพและตกแต่งศพภายนอก

1. ติดต่อและทำการขออนุญาตจากญาติของผู้ตาย

2. ทำความสะอาดร่างกายของศพ

3. ดูแลและตกแต่งศพให้อยู่ในสภาพเรียบร้อยเช่น ทำการปิดช่องทวารทั้ง 5 ของศพ สวมเสื้อผ้าหรือปกปิดร่างกายศพ และตกแต่งใบหน้าของศพให้สวยงาม เป็นต้น

10606.02

เก็บรักษาศพและชิ้นเนื้อ

1. เก็บศพภายในตู้เก็บศพที่มีความเย็น

2. เก็บชิ้นส่วนหรือชิ้นเนื้ออย่างถูกต้องและเป็นระบบ

3. จัดเก็บเครื่องมือและอุปกรณ์ทำความสะอาดและตกแต่งศพในบริเวณที่กำหนด

10606.03

ฉีดยาศพ

1. เตรียมเครื่องมือหรืออุปกรณ์ที่ใช้ในการฉีดยาศพ

2. เตรียมสารเคมีที่ใช้ในการฉีดยาศพ

3. ทำการฉีดยาศพ


12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. มีทักษะในการแยกประเภทของศพได้อย่างถูกต้อง

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. มีความรู้เรื่องการแยกประเภทของศพ


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมินและควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และความรู้ที่ต้องการ (Required Skill and Knowledge)
(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)
1. แสดงวิธีการแยกประเภทของศพได้อย่างถูกต้อง
    2. เอกสาร/หลักฐานการอบรมเชิงปฏิบัติการ 
3. ผลการสังเกตจากการปฏิบัติงาน
(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)
    1. ความรู้เรื่องการจัดเตรียมเอกสารต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับผู้ตาย
    2. ความรู้ในเรื่องการแจ้งตาย การรับศพและการเคลื่อนย้ายศพตามหลักศาสนา
(ค) คำแนะนำในการประเมิน
ผู้เข้ารับการประเมินต้องผ่านการประเมินที่ครอบคลุมในทุกสมรรถนะย่อยขอบเขตความรู้และทักษะที่กำหนดในกรณีที่ผู้รับการประเมินผ่านไม่ครบตามเกณฑ์กำหนด ผู้ประเมินต้องแจ้งหน่วยสมรรถนะและสมรรถนะย่อยที่ไม่ผ่านให้ผู้รับการประเมินไปทบทวนสมรรถนะที่ยังไม่ผ่านและสามารถกลับมาทดสอบสมรรถนะใหม่อีกครั้ง
(ง) วิธีการประเมิน
1. การประเมินความรู้และทักษะปฏิบัติในหน่วยสมรรถนะนี้ จะต้องดำเนินการโดยองค์กรที่มีหน้าที่รับการ
รับรองสมรรถนะของบุคคลตามมาตรฐานอาชีพที่ขึ้นทะเบียนเท่านั้น
2. การประเมินความรู้ในหน่วยสมรรถนะนี้ กำหนดให้ทำข้อสอบแบบปรนัย 4 ตัวเลือก


15. ขอบเขต (Range Statement)

ขอบเขตหมายถึงการปฏิบัติงานและสภาพแวดล้อมอื่นๆ หรือสถานการณ์อื่นๆ ที่มีผลกระทบต่อการทำงานรวมถึงเครื่องมืออุปกรณ์เทคโนโลยีทรัพยากรที่ใช้หรือข้อกำหนดอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
(ก) คำแนะนำ
1. สำหรับผู้เข้ารับการประเมินในหน่วยสมรรถนะนี้ ต้องมีความรู้ในด้านการแยกประเภทของศพได้อย่าง
ถูกต้อง ซึ่งผู้เข้ารับการประเมินควรเตรียมหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับหน่วยสมรรถนะนี้ ทั้งหลักฐานการปฏิบัติงาน และหลักฐานความรู้มาเพื่อประกอบการพิจารณาด้วย
2. สำหรับเจ้าหน้าที่สอบจะต้องพิจารณาหลักฐานการปฏิบัติงานและหลักฐานความรู้ให้ตรงตามที่ระบุไว้ใน
หน่วยสมรรถนะนี้
(ข) คำอธิบายรายละเอียด
1. ศพทั่วไป หมายถึง ศพที่เสียชีวิตโดยธรรมชาติ เช่น การเจ็บป่วยด้วยโรคต่างๆ การสิ้นอายุขัย เป็นต้น
2. ศพคดี หมายถึง ศพที่ต้องมีการชันสูตรหาสาเหตุการเสียชีวิตจากแพทย์และมีการพิจารณาตาม
กระบวนการทางกฎหมายที่กำหนด เช่น อุบัติเหตุ การฆาตรกรรม เป็นต้น


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

1. ทดสอบความรู้โดยใช้แบบสัมภาษณ์ และ/หรือแบบทดสอบความรู้

2. ประเมินทักษะการปฏิบัติงานโดยใช้ใบบันทึกจากการสังเกตการปฏิบัติงาน  

3. ใช้เอกสาร/หลักฐาน


ยินดีต้อนรับ