หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

สนับสนุนการใช้ข้อมูลทางสถิติกับองค์กร

สาขาวิชาชีพบริการสุขภาพ


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ HLT-EANY-661A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ สนับสนุนการใช้ข้อมูลทางสถิติกับองค์กร

3. ทบทวนครั้งที่ 2 / 2566

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

(รหัส ISCO 3252) นักเวชสถิติ


6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)

มีความรู้และทักษะการให้บริการและจัดการระบบฐานข้อมูลเวชสถิติและสารสนเทศทางการแพทย์ของโรงพยาบาล ที่ครอบคลุมการประเมินความต้องการใช้ข้อมูล การวางแผนสนับสนุนข้อมูล การดำเนินการตามแผน รวมทั้งใช้ข้อมูลเวชสถิติในการพัฒนาระบบงานอื่นที่เกี่ยวข้องในองค์กร


7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)

นักเวชสถิติ


9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria)
10406.01

ประเมินความต้องการใช้ข้อมูล

1. วางแผนสำรวจรวบรวมความต้องการอย่างสม่ำเสมอ 

2. วิเคราะห์ความต้องการ

10406.02

วางแผนสนับสนุนข้อมูล

1. เตรียมข้อมูลให้ชัดเจน  

2. ปรับเปลี่ยนแผนการเตรียมข้อมูลให้ทันกับกลยุทธ์ขององค์กร

10406.03

ดำเนินการตามแผน

1.จัดเตรียมและติดตามการใช้ข้อมูลทางสถิติของผู้ใช้ข้อมูล

2. แก้ไขปรับเปลี่ยนกระบวนการทำรายงานให้ทันท่วงที

10406.04

ให้ความร่วมมือการพัฒนาระบบงานอื่นที่ เกี่ยวข้องในองค์กร

1. ให้คำปรึกษาด้านข้อมูลสถิติแก่ผู้ปฏิบัติงาน หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในองค์กรและหน่วยงานอื่น

2.นำเสนอการแก้ไขปัญหาในการให้เก็บข้อมูลกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง


12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. ทักษะด้านการจัดการฐานข้อมูล

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1.    ความรู้ในแหล่งข้อมูลและการเก็บข้อมูลที่ถูกต้อง
2.    การวิเคราะห์ข้อมูลโดยการปรับใช้สถิติ
3.    ความรู้ในการกำหนดรูปแบบรายงาน การวางโครงสร้างรายงานและการนำเสนอข้อมูลรูปแบบต่างๆ 
อย่างมีประสิทธิภาพ
4.    ความรู้เครื่องมือต่าง ๆที่ช่วยในการเรียบเรียงวิเคราะห์และนำเสนอข้อมูลและความรู้ในรูปแบบที่มี 
ความหมายและสามารถนำไปใช้ในการตัดสินใจเช่น Graph, Chart, Statistical analysis
5.    ความรู้ในการใช้โปรแกรมทางเวชระเบียน และการประยุกต์ใช้ในการวิเคราะห์สถิติ
6.    ความรู้ในระบบ HIS


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมินและควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และความรู้ที่ต้องการ (Required Skill and Knowledge)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

เอกสาร/หลักฐานรับรองการทำงาน
เอกสาร/หลักฐานการอบรมหลักสูตรด้านเวชสถิติหรืองานที่เกี่ยวข้อง
เอกสาร/หลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

ผลการทดสอบความรู้
หลักฐานการอบรมหลักสูตรด้านเวชสถิติหรืองานที่เกี่ยวข้อง
แฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio) และ/หรือเอกสาร/หลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(ค) คำแนะนำในการประเมิน

ผู้เข้ารับการประเมินต้องผ่านการประเมินที่ครอบคลุมในทุกสมรรถนะย่อยขอบเขตความรู้และทักษะที่กำหนดในกรณีที่ผู้รับการประเมินผ่านไม่ครบตามเกณฑ์กำหนด ผู้ประเมินต้องแจ้งหน่วยสมรรถนะและสมรรถนะย่อยที่ไม่ผ่านให้ผู้รับการประเมินไปทบทวนสมรรถนะที่ยังไม่ผ่านและสามารถกลับมาทดสอบสมรรถนะใหม่อีกครั้ง

(ง) วิธีการประเมิน

การประเมินความรู้และทักษะปฏิบัติในหน่วยสมรรถนะนี้ จะต้องดำเนินการโดยองค์กรที่มีหน้าที่รับ
การรับรองสมรรถนะของบุคคลตามมาตรฐานอาชีพที่ขึ้นทะเบียนเท่านั้น

การประเมินความรู้ในหน่วยสมรรถนะนี้ กำหนดให้สอบครบทุกหน่วยสมรรถนะของระดับนี้  


15. ขอบเขต (Range Statement)

หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมินและควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และความรู้ที่ต้องการ (Required Skill and Knowledge)
(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)
1.    เอกสาร/หลักฐานรับรองการทำงาน
2.    เอกสาร/หลักฐานการอบรมหลักสูตรด้านเวชสถิติหรืองานที่เกี่ยวข้อง 
3.    เอกสาร/หลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence) 
1.    ผลการทดสอบความรู้
2.    หลักฐานการอบรมหลักสูตรด้านเวชสถิติหรืองานที่เกี่ยวข้อง
3.    แฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio) และ/หรือเอกสาร/หลักฐานที่เกี่ยวข้อง

(ค) คำแนะนำในการประเมิน
ผู้เข้ารับการประเมินต้องผ่านการประเมินที่ครอบคลุมในทุกสมรรถนะย่อยขอบเขตความรู้และทักษะที่กำหนดในกรณีที่ผู้รับการประเมินผ่านไม่ครบตามเกณฑ์กำหนด ผู้ประเมินต้องแจ้งหน่วยสมรรถนะและสมรรถนะย่อยที่ไม่ผ่านให้ผู้รับการประเมินไปทบทวนสมรรถนะที่ยังไม่ผ่านและสามารถกลับมาทดสอบสมรรถนะใหม่อีกครั้ง
(ง) วิธีการประเมิน
1.    การประเมินความรู้และทักษะปฏิบัติในหน่วยสมรรถนะนี้ จะต้องดำเนินการโดยองค์กรที่มีหน้าที่รับ
การรับรองสมรรถนะของบุคคลตามมาตรฐานอาชีพที่ขึ้นทะเบียนเท่านั้น
2.    การประเมินความรู้ในหน่วยสมรรถนะนี้ กำหนดให้สอบข้อสอบแบบปรนัย 4 ตัวเลือก


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

1.    ทดสอบความรู้โดยใช้แบบทดสอบความรู้
2.    ใช้เอกสาร/หลักฐาน


ยินดีต้อนรับ