หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

เลี้ยงพ่อแม่พันธุ์กุ้งทะเล

สาขาวิชาชีพเกษตรกรรม


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ ARC-UZWN-696A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ เลี้ยงพ่อแม่พันธุ์กุ้งทะเล

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2566

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

อาชีพผู้เพาะฟักกุ้งทะเล / 6221

1 6221 ผู้ปฏิบัติงานด้านการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ

6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)

หน่วยสมรรถนะนี้ประกอบไปด้วย สามารถปรับสภาพพ่อแม่พันธุ์กุ้งทะเลให้คุ้นเคยกับสภาพแวดล้อมในโรงเพาะฟักกุ้งทะเลได้ จัดการสภาพแวดล้อมและน้ำในบ่อเลี้ยงพ่อแม่พันธุ์กุ้งทะเลสามารถตรวจสอบความหนาแน่นพ่อแม่พันธุ์กุ้งทะเลในบ่อเลี้ยง สามารถตรวจและติดตามความสมบูรณ์ของพ่อแม่พันธุ์กุ้งทะเลได้


7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)

บุคคลที่อยู่ในอาชีพด้านการเพาะเลี้ยงกุ้งทะเล
บุคคลที่อยู่ในอาชีพด้านการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ


9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)

- พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ

- พระราชบัญญัติการประมง

- มาตรฐานโรงเพาะฟักและอนุบาลลูกกุ้งทะเล ของกรมประมง และ สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.) ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์


11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria)
10402.1

ปรับสภาพพ่อแม่พันธุ์กุ้งทะเลให้คุ้นเคยกับสภาพแวดล้อมในโรงเพาะฟักกุ้งทะเล

ควบคุมสภาพแวดล้อมในบ่อเลี้ยงพ่อแม่พันธุ์กุ้งทะเล 

ตรวจติดตามคุณภาพพ่อแม่พันธุ์กุ้งทะเล และคุณภาพน้ำในบ่อเลี้ยงพ่อแม่พันธุ์กุ้งทะเล

10402.2

จัดการสภาพแวดล้อมและน้ำในบ่อเลี้ยงพ่อแม่พันธุ์กุ้งทะเล

ตรวจสอบสภาพแวดล้อมและคุณภาพน้ำในบ่อเลี้ยงพ่อแม่พันธุ์กุ้งทะเล

เปลี่ยนถ่ายน้ำและดูดของเสีย 

ทำความสะอาดบ่อพ่อแม่พันธุ์กุ้งทะเล

10402.3

ตรวจสอบความหนาแน่นพ่อแม่พันธุ์กุ้งทะเลในบ่อเลี้ยง

ระบุขนาดและจำนวนของพ่อแม่พันธุ์กุ้งทะเลตามขนาดของบ่อ

ปรับการเปลี่ยนถ่ายน้ำในบ่อให้สอดคล้องกับความหนาแน่นของพ่อแม่พันธุ์กุ้งทะเล

10402.4

ตรวจและติดตามความสมบูรณ์ของพ่อแม่พันธุ์กุ้งทะเลได้

ระบุวิธีการตรวจสอบระยะลอกคราบกุ้งทะเล

จดบันทึกข้อมูลเกี่ยวกับจำนวนพ่อแม่พันธุ์กุ้งทะเลที่ลอกคราบ เพื่อกำหนดการจัดการการผสมพันธุ์


12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
  1. สามารถสื่อสารในการปฏิบัติงานได้
    2. มีความรู้ความเข้าใจในวิชาชีพพื้นฐานและภาษาต่างประเทศที่เกี่ยวกับงาน หรือภาษาในประเทศอาเซียนที่ใช้ในการสื่อสารเบื้องต้น

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. มีทักษะในการเลือกใช้หลักการและเครื่องมือในการปฏิบัติงานได้ถูกต้องและปลอดภัย

2. มีทักษะเรื่องการเปลี่ยนถ่ายน้ำและดูดของเสีย

3. ทักษะในการตรวจสอบการลอกคราบ เพื่อจัดการการผสมพันธุ์

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. มีความรู้ในการเขียน อ่าน หรือ พูด และ คำนวณขั้นพื้นฐาน

2. มีความรู้ในการเชื่อมโยงหลักการปฏิบัติงานและผลการวิเคราะห์สารสนเทศ เพื่อใช้ตัดสินใจทำงาน

 3. มีความรู้ความเข้าใจเรื่องการควบคุมสภาพแวดล้อมและคุณภาพน้ำในบ่อเลี้ยงพ่อแม่พันธุ์กุ้งทะเล เพื่อปรับสภาพพ่อแม่พันธุ์กุ้งทะเล


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และทักษะความรู้ที่ต้องการ (Required Skill and Knowledge)

  • หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

1. เอกสาร หรือ แฟ้มสะสมผลงานด้านการเพาะฟักกุ้งทะเล หรือ

2. หลักฐานอื่นๆ ด้านการเพาะฟักกุ้งทะเล

  • หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)
  1. ใบอบรม ใบผ่านงาน (ถ้ามี)
  • คำแนะนำในการประเมิน

          หลักฐานที่ต้องการเพื่อแสดงถึงสมรรถนะในส่วนนี้ต้องมีความสัมพันธ์และตอบโจทย์ตามข้อกำหนดของสมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงานในหน่วยสมรรถนะนี้ โดยหลักฐานในที่นี้ต้องแสดงถึง

  1. ความรู้และทักษะที่เกี่ยวข้อง
  2. วิธีการปฏิบัติงานในสถานที่ทำงานและกฎหมายหรือเกณฑ์ระเบียบต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง
  3. ขอบเขตด้านอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

 (ง) วิธีการประเมิน

- การสอบสัมภาษณ์

- สาธิตปฏิบัติงาน


15. ขอบเขต (Range Statement)

ขอบเขตอธิบายถึงขอบเขตของการปฏิบัติงานและสภาพแวดล้อมอื่นๆ หรือสถานการณ์อื่นๆ ที่มีผลกระทบต่อการทำงาน รวมถึงเครื่องมือ อุปกรณ์ เทคโนโลยี ทรัพยากรที่ใช้หรือข้อกำหนดอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

  • คำแนะนำ

1. เข้าใจวิธีการควบคุมอุณหภูมิ ความเค็ม และระดับความสูงของน้ำในบ่อ และสภาพแวดล้อมในบ่อเลี้ยงพ่อแม่พันธุ์กุ้งทะเล 
2. บันทึกและติดตามอาการป่วยของพ่อแม่พันธุ์กุ้งทะเลและสามารถควบคุมคุณภาพน้ำทั้งทางเคมีและกายภาพ  ในบ่อเลี้ยงพ่อแม่พันธุ์กุ้งทะเล
3. สามารถควบคุมแสงสว่าง อุณหภูมิน้ำ และความเค็มน้ำในบ่อเลี้ยงพ่อแม่พันธุ์กุ้งทะเล
4. ตรวจสอบความเข้มข้นของแอมโมเนีย ไนไตรท์ และสามารถเปลี่ยนถ่ายน้ำและดูดของเสียออกจากบ่อพ่อแม่พันธุ์กุ้งทะเล โดยไม่ให้กระทบกระเทือนต่อสุขภาพและความสมบูรณ์ของพ่อแม่พันธุ์กุ้งทะเล เพื่อให้คุณภาพน้ำอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
5. ทำความสะอาดบ่อพ่อแม่พันธุ์กุ้งทะเล เมื่อตรวจพบความสกปรกของบ่อด้วยสายตาและการสัมผัส โดยไม่ให้กระทบกระเทือนต่อสุขภาพและความสมบูรณ์ของพ่อแม่พันธุ์กุ้งทะเล
6. ระบุจำนวนพ่อแม่พันธุ์ต่อพื้นที่บ่อ จากขนาดพ่อแม่พันธุ์ต่อขนาดของบ่อ
7. ปรับการเปลี่ยนถ่ายน้ำตามการตรวจสอบคุณภาพน้ำ ได้แก่ ความเข้มข้นของแอมโมเนีย และไนไตรท์ และสามารถเปลี่ยนถ่ายน้ำจากบ่อพ่อแม่พันธุ์กุ้งทะเล โดยไม่ให้กระทบกระเทือนต่อสุขภาพและความสมบูรณ์ของพ่อแม่พันธุ์กุ้งทะเล เพื่อให้คุณภาพน้ำอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
8. บันทึกวัน เวลา จำนวนครั้งของพ่อแม่พันธุ์กุ้งทะเลที่ลอกคราบ
9. บันทึกจำนวนครั้งของการวางไข่ของแม่พันธุ์กุ้งทะเล และบันทึกระยะเวลาการใช้งานแม่พันธุ์กุ้งทะเล

10. บันทึกการระยะเวลาการใช้งานพ่อพันธุ์กุ้งทะเล

  • คำอธิบายรายละเอียด

1. อาการป่วยของพ่อแม่พันธุ์  ได้แก่ การเปลี่ยนสีลำตัว การกินอาหารน้อยลง พฤติกรรมการว่ายน้ำ

2. คุณภาพน้ำทางกายภาพ ได้แก่ ความขุ่นใส สี กลิ่น อุณหภูมิ ความเค็ม

3. คุณภาพน้ำทางเคมี ได้แก่ ไนไตรท์ ไนเตรท แอมโมเนีย คลอรีน อัลคาไลนิตี้ ความกระด้างของน้ำ ความเป็นกรด-ด่าง ออกซิเจนละลายน้ำ 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

1. แบบประเมินการสอบสัมภาษณ์

2.แบบประเมินการสาธิตปฏิบัติงาน

3.เอกสารประกอบการพิจารณาที่เหมาะสม เช่น  เอกสาร หรือ แฟ้มสะสมผลงานด้านการเพาะฟักกุ้งทะเล หรือ หลักฐานอื่นๆ ด้านการเพาะฟักกุ้งทะเล


ยินดีต้อนรับ