หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

เตรียมเครื่องไสสันทากาวให้พร้อมในงานไสสันทากาว

สาขาวิชาชีพอุตสาหกรรมการพิมพ์


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ PRT-SRGZ-491A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ เตรียมเครื่องไสสันทากาวให้พร้อมในงานไสสันทากาว

3. ทบทวนครั้งที่ 2 / 2566

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ช่างไสสันทากาว


6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)

มีความรู้ความสามารถในการปรับตั้งเครื่องไสสันทากาวทุกประเภท  โดยปรับตั้งส่วนประกอบต่าง ๆ ได้ถูกต้อง ตามคู่มือการใช้เครื่อง และมีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ที่กำหนดในองค์กร สามารถเลือกวัสดุเครื่องมือ และวิธีการปฏิบัติงานไสสันทากาวด้วยเครื่องไสสันทากาวได้อย่างเหมาะสมกับลักษณะงานที่ต้องดำเนินการ


7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)

ผู้ประกอบวิชาชีพงานหลังพิมพ์


9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria)
40204.1

ปรับตั้งชุดป้อนปก

1.1 ปรับตั้งความยาวปกที่ชุดป้อนปกได้ถูกต้องตรงกับลักษณะตัวอย่างหนังสือ


1.2 ปรับตั้งฉากข้างที่ชุดป้อนปกเพื่อป้อนปกให้ได้ฉากอย่างถูกต้อง


1.3 ปรับตั้งระยะกรีดสันของล้อกรีดสัน (creasing) ที่ชุดป้อนปกได้ถูกต้อง


1.4 ปรับตั้งจังหวะป้อนปกของชุดป้อนปกให้ถูกต้องและพอดีกับจังหวะป้อนเนื้อในหนังสือ

40204.2

ปรับตั้งส่วนป้อนเนื้อใน

2.1  ปรับตั้งอุปกรณ์เขย่าเนื้อในได้ถูกต้อง


2.2 ปรับระยะช่องป้อนเนื้อใน (กรณีป้อนมือ) ได้ถูกต้อง


2.3 ปรับจังหวะและความเร็วการป้อนเนื้อในใส่เครื่องได้ถูกต้อง

40204.3

ปรับตั้งส่วนไสสัน

3.1 ปรับตั้งชุดลมดูดฝุ่นและฝอยกระดาษ (blower) จากการไสสันทากาวได้ถูกต้อง


3.2 ปรับตั้งระยะลึกของการไสสันได้ถูกต้อง

40204.4

ปรับตั้งระบบป้อนเนื้อในที่ส่งมาจากเครื่องเก็บเล่มในกรณีที่ใช้เครื่องไสสันทากาวอัตโนมัติแบบต่อพ่วงกับเครื่องเก็บเล่มและเครื่องตัดเจียนสามด้าน

4.1 ปรับตั้งระบบป้อนเนื้อในที่ส่งมาจากเครื่องเก็บเล่มได้ถูกต้อง

40204.5

เตรียมชุดอ่างกาว

5.1 เตรียมอ่างกาวสันได้ถูกต้อง


5.2 เตรียมอ่างกาวข้างได้ถูกต้อง


5.3 ปรับตั้งอุณหภูมิหลอมกาวได้ถูกต้องเพื่อให้กาวมีความหนืดที่เหมาะสมและไหลได้ต่อเนื่อง


5.4 ปรับตั้งความหนาของชั้นกาวได้ถูกต้องตามข้อกำหนดและลักษณะหนังสือที่จะไสสันทากาว


5.5 ปรับตั้งระยะความยาวของหนังสือได้ถูกต้อง


5.6 ปรับตั้งอุณหภูมิหม้ออุ่นกาว ให้กาวหลอมเหลว (premelt) ได้ถูกต้อง

40204.6

เตรียมชุดมีดไสสัน

6.1 เลือกชุดมีดให้เหมาะกับลักษณะงาน ได้ถูกต้อง


6.2 ปรับตั้งมีดไสสันได้ถูกต้อง


6.3   ปรับตั้งมีดเซาะร่องได้ถูกต้อง


6.4 ปรับตั้งแปรงปัดฝุ่นได้ถูกต้อง

40204.7

เตรียมชุดหนีบสัน

7.1 ปรับตั้งแคลมป์หนีบตามความหนาของหนังสือได้ถูกต้อง


7.2 ปรับตั้งความกว้างช่องทางเดินหนังสือเพื่อประคองไม่ให้เล่มล้ม/ติดขัดได้ถูกต้อง


7.3 ปรับตั้งแรงกดสันได้ถูกต้อง


7.4 ปรับตั้งระบบส่งหนังสือที่ไสกาวแล้วไปที่เครื่องตัดเจียนสามด้านได้ถูกต้อง

40204.1

ปรับตั้งชุดป้อนปก

1.1 ปรับตั้งความยาวปกที่ชุดป้อนปกได้ถูกต้องตรงกับลักษณะตัวอย่างหนังสือ


1.2 ปรับตั้งฉากข้างที่ชุดป้อนปกเพื่อป้อนปกให้ได้ฉากอย่างถูกต้อง


1.3 ปรับตั้งระยะกรีดสันของล้อกรีดสัน (creasing) ที่ชุดป้อนปกได้ถูกต้อง


1.4 ปรับตั้งจังหวะป้อนปกของชุดป้อนปกให้ถูกต้องและพอดีกับจังหวะป้อนเนื้อในหนังสือ

40204.2

ปรับตั้งส่วนป้อนเนื้อใน

2.1  ปรับตั้งอุปกรณ์เขย่าเนื้อในได้ถูกต้อง


2.2 ปรับระยะช่องป้อนเนื้อใน (กรณีป้อนมือ) ได้ถูกต้อง


2.3 ปรับจังหวะและความเร็วการป้อนเนื้อในใส่เครื่องได้ถูกต้อง

40204.3

ปรับตั้งส่วนไสสัน

3.1 ปรับตั้งชุดลมดูดฝุ่นและฝอยกระดาษ (blower) จากการไสสันทากาวได้ถูกต้อง


3.2 ปรับตั้งระยะลึกของการไสสันได้ถูกต้อง

40204.4

ปรับตั้งระบบป้อนเนื้อในที่ส่งมาจากเครื่องเก็บเล่มในกรณีที่ใช้เครื่องไสสันทากาวอัตโนมัติแบบต่อพ่วงกับเครื่องเก็บเล่มและเครื่องตัดเจียนสามด้าน

4.1 ปรับตั้งระบบป้อนเนื้อในที่ส่งมาจากเครื่องเก็บเล่มได้ถูกต้อง

40204.5

เตรียมชุดอ่างกาว

5.1 เตรียมอ่างกาวสันได้ถูกต้อง


5.2 เตรียมอ่างกาวข้างได้ถูกต้อง


5.3 ปรับตั้งอุณหภูมิหลอมกาวได้ถูกต้องเพื่อให้กาวมีความหนืดที่เหมาะสมและไหลได้ต่อเนื่อง


5.4 ปรับตั้งความหนาของชั้นกาวได้ถูกต้องตามข้อกำหนดและลักษณะหนังสือที่จะไสสันทากาว


5.5 ปรับตั้งระยะความยาวของหนังสือได้ถูกต้อง


5.6 ปรับตั้งอุณหภูมิหม้ออุ่นกาว ให้กาวหลอมเหลว (premelt) ได้ถูกต้อง

40204.6

เตรียมชุดมีดไสสัน

6.1 เลือกชุดมีดให้เหมาะกับลักษณะงาน ได้ถูกต้อง


6.2 ปรับตั้งมีดไสสันได้ถูกต้อง


6.3   ปรับตั้งมีดเซาะร่องได้ถูกต้อง


6.4 ปรับตั้งแปรงปัดฝุ่นได้ถูกต้อง

40204.7

เตรียมชุดหนีบสัน

7.1 ปรับตั้งแคลมป์หนีบตามความหนาของหนังสือได้ถูกต้อง


7.2 ปรับตั้งความกว้างช่องทางเดินหนังสือเพื่อประคองไม่ให้เล่มล้ม/ติดขัดได้ถูกต้อง


7.3 ปรับตั้งแรงกดสันได้ถูกต้อง


7.4 ปรับตั้งระบบส่งหนังสือที่ไสกาวแล้วไปที่เครื่องตัดเจียนสามด้านได้ถูกต้อง

40204.1

ปรับตั้งชุดป้อนปก

1.1 ปรับตั้งความยาวปกที่ชุดป้อนปกได้ถูกต้องตรงกับลักษณะตัวอย่างหนังสือ


1.2 ปรับตั้งฉากข้างที่ชุดป้อนปกเพื่อป้อนปกให้ได้ฉากอย่างถูกต้อง


1.3 ปรับตั้งระยะกรีดสันของล้อกรีดสัน (creasing) ที่ชุดป้อนปกได้ถูกต้อง


1.4 ปรับตั้งจังหวะป้อนปกของชุดป้อนปกให้ถูกต้องและพอดีกับจังหวะป้อนเนื้อในหนังสือ

40204.2

ปรับตั้งส่วนป้อนเนื้อใน

2.1  ปรับตั้งอุปกรณ์เขย่าเนื้อในได้ถูกต้อง


2.2 ปรับระยะช่องป้อนเนื้อใน (กรณีป้อนมือ) ได้ถูกต้อง


2.3 ปรับจังหวะและความเร็วการป้อนเนื้อในใส่เครื่องได้ถูกต้อง

40204.3

ปรับตั้งส่วนไสสัน

3.1 ปรับตั้งชุดลมดูดฝุ่นและฝอยกระดาษ (blower) จากการไสสันทากาวได้ถูกต้อง


3.2 ปรับตั้งระยะลึกของการไสสันได้ถูกต้อง

40204.4

ปรับตั้งระบบป้อนเนื้อในที่ส่งมาจากเครื่องเก็บเล่มในกรณีที่ใช้เครื่องไสสันทากาวอัตโนมัติแบบต่อพ่วงกับเครื่องเก็บเล่มและเครื่องตัดเจียนสามด้าน

4.1 ปรับตั้งระบบป้อนเนื้อในที่ส่งมาจากเครื่องเก็บเล่มได้ถูกต้อง

40204.5

เตรียมชุดอ่างกาว

5.1 เตรียมอ่างกาวสันได้ถูกต้อง


5.2 เตรียมอ่างกาวข้างได้ถูกต้อง


5.3 ปรับตั้งอุณหภูมิหลอมกาวได้ถูกต้องเพื่อให้กาวมีความหนืดที่เหมาะสมและไหลได้ต่อเนื่อง


5.4 ปรับตั้งความหนาของชั้นกาวได้ถูกต้องตามข้อกำหนดและลักษณะหนังสือที่จะไสสันทากาว


5.5 ปรับตั้งระยะความยาวของหนังสือได้ถูกต้อง


5.6 ปรับตั้งอุณหภูมิหม้ออุ่นกาว ให้กาวหลอมเหลว (premelt) ได้ถูกต้อง

40204.6

เตรียมชุดมีดไสสัน

6.1 เลือกชุดมีดให้เหมาะกับลักษณะงาน ได้ถูกต้อง


6.2 ปรับตั้งมีดไสสันได้ถูกต้อง


6.3   ปรับตั้งมีดเซาะร่องได้ถูกต้อง


6.4 ปรับตั้งแปรงปัดฝุ่นได้ถูกต้อง

40204.7

เตรียมชุดหนีบสัน

7.1 ปรับตั้งแคลมป์หนีบตามความหนาของหนังสือได้ถูกต้อง


7.2 ปรับตั้งความกว้างช่องทางเดินหนังสือเพื่อประคองไม่ให้เล่มล้ม/ติดขัดได้ถูกต้อง


7.3 ปรับตั้งแรงกดสันได้ถูกต้อง


7.4 ปรับตั้งระบบส่งหนังสือที่ไสกาวแล้วไปที่เครื่องตัดเจียนสามด้านได้ถูกต้อง


12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

1. มีประสบการณ์ทำงานด้านการไสสันทากาวมาไม่น้อยกว่า 1 ปี

2. ผ่านหน่วยสมรรถนะ 40201 ปฏิบัติงานไสสันทากาว


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

. ความสามารถในการปรับตั้งส่วนประกอบต่าง ๆ ของเครื่องไสสันทากาวอย่างถูกวิธี

2. ความสามารถในการใช้งานเครื่องไสสันทากาวอย่างถูกต้อง

3. ความสามารถในการเลือกใช้เครื่องมือในการปรับตั้งเครื่องไสสันทากาวได้อย่างเหมาะสม

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. ความรู้เกี่ยวกับประเภทของเครื่องไสสันทากาว

2.  ความรู้เกี่ยวกับโครงสร้าง ส่วนประกอบและลักษณะการทำงานของเครื่องไสสันทากาว

3. ความรู้เกี่ยวกับความปลอดภัยในการปฏิบัติงานเครื่องไสสันทากาว

4.  ความรู้เกี่ยวกับรูปแบบทำเล่มหนังสือด้วยวิธีการไสสันทากาว

5. ความรู้เกี่ยวกับขั้นตอนไสสันทากาว

6.  ความรู้เกี่ยวกับประเภทของกาวที่ใช้กับงานไสสันทากาว


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

1. บันทึกรายการจากการสังเกต

2.  บันทึกความคิดเห็นของหัวหน้างาน

3. ความถูกต้องของการปรับตั้งความยาวปก ฉากข้าง ระยะกรีดสันของล้อกรีดสัน และจังหวะป้อนปกของชุดป้อนปก

4. ความถูกต้องของการปรับตั้งอุปกรณ์เขย่าเนื้อในที่ถูกต้อง

5. ความถูกต้องของการปรับระยะช่องป้อนเนื้อใน (กรณีป้อนมือ)

6. ความถูกต้องของการปรับจังหวะ/ความเร็วการป้อนเนื้อในใส่เครื่อง

7. ความถูกต้องของการปรับตั้งชุดลมดูดฝุ่นและฝอยกระดาษจากการไสสันทากาว

8. ความถูกต้องของการเตรียมอ่างกาวสัน

9. ความถูกต้องของการเตรียมอ่างกาวข้าง

10. ความถูกต้องของการปรับตั้งอุณหภูมิหลอมกาว

11.ผลจากการปรับตั้งความหนาของชั้นกาวถูกต้อง

12. ผลจากการปรับตั้งระยะความยาวของหนังสือถูกต้อง

13. ผลจากการปรับตั้งอุณหภูมิหม้ออุ่นกาวถูกต้อง

  1. ชุดมีดที่เหมาะกับลักษณะงาน

15. ผลจากการปรับตั้งมีดไสสันถูกต้อง

16. ผลจากการปรับตั้งมีดเซาะร่องถูกต้อง

  1. ผลจากการปรับตั้งแปรงปัดฝุ่นถูกต้อง

18. ผลจากการปรับตั้งแคลมป์หนีบตามความหนาของหนังสือถูกต้อง

19. ผลจากการปรับตั้งความกว้างช่องทางเดินหนังสือเพื่อประคองไม่ให้เล่มล้ม/ติดขัดถูกต้อง

  1. ผลจากการปรับตั้งแรงกดสันถูกต้อง

21. ผลจากการปรับตั้งระบบส่งหนังสือที่ไสกาวแล้วไปที่เครื่องตัดเจียนสามด้านถูกต้อง

22. ผลงานเล่มหนังสือที่ได้จากการไสสันทากาว

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

1. แบบสัมภาษณ์

2.  แบบทดสอบ

  • คำแนะนำในการประเมิน

ในการประเมินทักษะการเตรียมเครื่องไสสันทากาวควรระบุประเภทเครื่องไสสันทากาวที่ใช้ทดสอบ และมีคู่มือการใช้เครื่องไสสันทากาวประกอบการทดสอบด้วย

  • วิธีการประเมิน

            1. การประเมินความรู้ โดยใช้แบบทดสอบและการสัมภาษณ์

            2. การประเมินทักษะจากการประเมินผลการปฏิบัติงาน โดยใช้การสังเกต และใบบันทึกความคิดเห็นจากหัวหน้างาน


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก)  คำแนะนำ

            1.  เครื่องไสสันทากาวมี 2 ประเภท ได้แก่ เครื่องไสสันทากาวแบบป้อนมือ และป้อนอัตโนมัติต่อพ่วงกับเครื่องเก็บเล่ม

2. การปรับตั้งส่วนประกอบต่าง ๆ ของเครื่องไสสันทากาวควรมีการใช้เครื่องมือปรับตั้งที่เหมาะสมกับการปรับตั้งแต่ละขั้นตอน

(ข) คำอธิบายรายละเอียด

            1. วิธีการและขั้นตอนการปรับตั้งความยาวปก ฉากข้าง ระยะกรีดสันของล้อกรีดสัน และจังหวะป้อนปกของชุดป้อนปกขึ้นกับรูปเล่มหนังสือที่จะไสสันทากาว

            2.  วิธีการและขั้นตอนการปรับตั้งอุปกรณ์เขย่าเนื้อในขึ้นกับความหนาของหนังสือที่จะไสสันทากาว

            3.  วิธีการและขั้นตอนการปรับระยะช่องป้อนเนื้อในขึ้นกับความหนาของหนังสือที่จะไสสันทากาว

            4.  วิธีการและขั้นตอนการปรับจังหวะ/ความเร็วการป้อนเนื้อในใส่เครื่อง

            5.  วิธีการและขั้นตอนการปรับตั้งชุดลมดูดฝุ่นและฝอยกระดาษจากการไสสัน

6.  วิธีการและขั้นตอนการปรับตั้งระบบป้อนเนื้อในที่ส่งมาจากเครื่องเก็บเล่ม

7. วิธีการและขั้นตอนการเตรียมอ่างกาวสัน

8. วิธีการและขั้นตอนการเตรียมอ่างกาวข้าง

9.  วิธีการและขั้นตอนการปรับตั้งอุณหภูมิหลอมกาวให้กาวมีความหนืดที่เหมาะสมและไหลได้ต่อเนื่อง

10. วิธีการและขั้นตอนการปรับตั้งความหนาของชั้นกาวตามข้อกำหนดและลักษณะหนังสือที่จะไสสันทากาว

11. วิธีการและขั้นตอนการปรับตั้งระยะความยาวของหนังสือ

12.  วิธีการและขั้นตอนการปรับตั้งอุณหภูมิหม้ออุ่นกาว

13.  การเลือกชุดมีดที่เหมาะกับลักษณะงานขึ้นกับชนิดกระดาษเนื้อใน และความหนาของหนังสือ

14.  วิธีการและขั้นตอนการปรับตั้งมีดไสสัน

15. วิธีการและขั้นตอนการปรับตั้งมีดเซาะร่อง

16. วิธีการและขั้นตอนการปรับตั้งแปรงปัดฝุ่น

17.  วิธีการและขั้นตอนการปรับตั้งแคลมป์หนีบตามความหนาของหนังสือ

18. วิธีการและขั้นตอนการปรับตั้งความกว้างช่องทางเดินหนังสือเพื่อประคองไม่ให้เล่มล้ม/ติดขัด

19.  วิธีการและขั้นตอนการปรับตั้งแรงกดสัน

20.  วิธีการและขั้นตอนการปรับตั้งระบบส่งหนังสือที่ไสกาวแล้วไปที่เครื่องตัดเจียนสามด้าน


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)
    1.  การสัมภาษณ์ (รายละเอียดตามคู่มือการประเมิน หน้า......)
    2.  การทดสอบโดยข้อสอบ (รายละเอียดตามคู่มือประเมินหน้า.......)
    3.  การสังเกตการณ์ปฏิบัติงานในสภาพจริง หรือสภาวะจำลอง หรือผลงาน

ยินดีต้อนรับ