หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ส่งเสริมสุขภาพจิตของผู้สูงอายุ

สาขาวิชาชีพบริการสุขภาพ


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ HLT-THTW-615A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ส่งเสริมสุขภาพจิตของผู้สูงอายุ

3. ทบทวนครั้งที่ N/A

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

5321 ผู้ช่วยงานดูแลสุขภาพ


6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)

หน่วยสมรรถนะนี้ประกอบไปด้วยความรู้และทักษะที่จำเป็นในการส่งเสริมสุขภาพจิตของผู้สูงอายุ โดยสามารถเข้าใจการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายและจิตใจและสาเหตุที่ส่งผลต่อปัญหาทางสุขภาพจิต การเปลี่ยนแปลงทางสังคม และมีทักษะการส่งเสริมทางจิตใจ ได้แก่ การเคารพ ยกย่อง นับถือ การส่งเสริมความสัมพันธ์ในครอบครัวผู้สูงอายุ การจัดการอารมณ์ผ่านกิจกรรมต่าง ๆ และการเสริมสร้างกำลังใจของผู้สูงอายุ


7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)

สาขาวิชาชีพบริการสุขภาพ สาขาบริการสุขภาพบุคคล อาชีพเพื่อนผู้สูงวัย


9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria)
10203.01

เฝ้าระวังภาวะจิตใจของผู้สูงอายุ

1.เข้าใจการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายและจิตใจและสาเหตุที่ส่งผลต่อปัญหาทางสุขภาพจิตของผู้สูงอายุ

2.สังเกตสภาพจิตใจและอารมณ์ของผู้สูงอายุ

3.สังเกตพฤติกรรมที่แสดงออกของผู้สูงอายุ

4.สังเกตอาการที่อาจจะเป็นสัญญาณของโรค

10203.02

ให้ความสำคัญกับผู้สูงอายุและครอบครัว

1.กระตุ้นให้ผู้สูงอายุเห็นคุณค่าในตนเอง

2.ให้ความเคารพ ยกย่อง นับถือผู้สูงอายุ

3.สอบถามเรื่องสุขภาพและความเป็นอยู่ของผู้สูงอายุ

4.ส่งเสริมและสร้างสัมพันธภาพในครอบครัวและสังคมของผู้สูงอายุ

10203.03

เสริมสร้างกำลังใจให้ผู้สูงอายุ

1.พูดคุยและรับฟังปัญหาของผู้สูงอายุ

2.กระตุ้นให้สูงอายุทำกิจกรรมที่พัฒนาและส่งเสริมกำลังใจและคลายความวิตกกังวล


12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

ทัศนคติต่อการทำงานกับผู้สูงอายุและครอบครัว


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

(ก1) ทักษะในการประเมินสภาพจิตใจ
(ก2) ทักษะในการสื่อสารและการรับฟัง
(ก3) ทักษะในการออกแบบกิจกรรม
(ก4) ทักษะในการดำเนินงาน ประเมินผล และพัฒนากิจกรรม
(ก5) ทักษะในการให้คำปรึกษา

(ข) ความต้องการด้านความรู้

(ข1) ความรู้เกี่ยวกับจิตวิทยาการสื่อสารและการรับฟังผู้สูงอายุ
(ข2) ความรู้เกี่ยวกับการสร้างสัมพันธภาพและทำกิจกรรมทางสังคม
(ข3) ความรู้เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงด้านร่างกาย และโรคในวัยผู้สูงอายุ
(ข4) ความรู้เกี่ยวกับความเปลี่ยนแปลงทางด้านอารมณ์และจิตใจของผู้สูงอายุ
(ข5) ความรู้เกี่ยวกับการประเมินสภาพจิตใจผู้สูงอายุ
(ข6) ความรู้เกี่ยวกับการประเมินและพัฒนากิจกรรม


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

     หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรใช้ร่วมกันกับเกณฑ์การ ปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และ ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)
     (ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)
          (ก1) หนังสือรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ หรือ
          (ก2) แบบฟอร์มบันทึกภาระงานที่เกี่ยวข้องกับหน่วยสมรรถนะนี้ หรือ
          (ก3) แฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio) หรือ
          (ก4) หนังสือรับรองการผ่านงานที่เกี่ยวข้องกับหน่วยสมรรถนะนี้จากสถานประกอบการ
     (ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)
          (ข1) ใบรับรองผลการศึกษา (ถ้ามี) หรือ
          (ข2) ประกาศนียบัตร/วุฒิบัตรผ่านการอบรมในหลักสูตรที่เกี่ยวข้อง (ถ้ามี)
     (ค) คำแนะนำในการประเมิน  
          เจ้าหน้าที่สอบประเมินสมรรถนะส่งเสริมสุขภาพจิตของผู้สูงอายุโดยพิจารณาจากหลักฐานที่เกี่ยวข้องทั้งหลักฐานด้านการปฏิบัติงาน และหลักฐานความรู้ ประกอบการพิจารณาเข้าสู่กระบวนการประเมินสมรรถนะ
     (ง) วิธีการประเมิน
          พิจารณาตามหลักฐานการปฏิบัติงาน ได้แก่ การสอบสัมภาษณ์ และสอบปฏิบัติ


15. ขอบเขต (Range Statement)

    ขอบเขตการปฏิบัติงานส่งเสริมสุขภาพจิตของผู้สูงอายุครอบคลุมตั้งแต่ขั้นตอนการเฝ้าระวังภาวะจิตใจของผู้สูงอายุ ให้ความสำคัญกับผู้สูงอายุ และการเสริมสร้างกำลังใจให้ผู้สูงอายุ
    (ก) คำแนะนำ
        (ก1) สำหรับผู้เข้ารับการประเมินในหน่วยสมรรถนะนี้ ต้องสามารถอธิบายถึงขั้นตอนในการเฝ้าระวังภาวะจิตใจของผู้สูงอายุ ให้ความสำคัญกับผู้สูงอายุ และเสริมสร้างกำลังใจให้ผู้สูงอายุ
        (ก2) สำหรับเจ้าหน้าที่สอบจะต้องพิจารณาหลักฐานการปฏิบัติงานและหลักฐานความรู้ให้ตรงตามที่ระบุไว้ในหน่วยสมรรถนะนี้
    (ข) คำอธิบายรายละเอียด
        (ข1) การส่งเสริมสุขภาพจิตของผู้สูงอายุ หมายถึง การส่งเสริมให้ผู้สูงอายุได้รับการดูแลด้านจิตใจและอารมณ์ เพื่อไม่ให้ผู้สูงอายุเกิดภาวะเครียด วิตกกังวล รู้สึกเหงา หรือโดดเดี่ยว เอื้ออำนวยต่อการมีสุขภาพจิตที่ดี 
        (ข2) การเฝ้าระวังสุขภาพจิตของผู้สูงอายุ หมายถึง การติดตาม สังเกต การเปลี่ยนแปลงสภาพจิตใจและอารมณ์ พฤติกรรมการแสดงออกต่างๆ ของผู้สูงอายุ รวมถึงอาการบางอย่างของผู้สูงอายุที่อาจบ่งบอกหรือเป็นสัญญาณของการเกิดโรคบางชนิด เช่น การถามซ้ำหรือพูดซ้ำ อาการหลงลืม การสับสนวันเวลา สถานที่ อาการสั่นเกร็ง เป็นต้น
        (ข3) การให้ความสำคัญกับผู้สูงอายุ  หมายถึง การกระตุ้นให้ผู้สูงอายุเห็นคุณค่าในตนเองถึงการเป็นบุคคลสำคัญของครอบครัว การให้ความเคารพ ยกย่อง นับถือ เพื่อทำให้ผู้สูงอายุรู้สึกว่าตนเองมีคุณค่า หรือการพูดคุย ขอความคิดเห็นเพื่อทำให้ผู้สูงอายุรู้สึกว่าตนเองยังคงเป็นที่รักและมีความสำคัญกับบุคคลในครอบครัว
        (ข4) การเสริมสร้างกำลังใจให้ผู้สูงอายุ หมายถึง การใช้วิธีการที่ช่วยเพิ่มความเชื่อมั่น สร้างความมั่นคงทางจิตใจ เพื่อสร้างกำลังใจให้ผู้สูงอายุ ช่วยให้คลายความเครียด ความวิตกกังวล เพื่อไม่ให้ผู้สูงอายุเกิดความเครียดหรือมีภาวะซึมเศร้า ช่วยส่งเสริมให้ผู้สูงอายุเห็นคุณค่าในตนเอง และมีกำลังใจในการต่อสู้กับโรคร้ายต่าง ๆ ที่กำลังเผชิญ ตลอดจนช่วยบรรเทาอาการเจ็บป่วยและความทุกข์ทรมานจากโรคภัยต่างๆ
        (ข5) กิจกรรมที่ส่งเสริมกำลังใจให้กับผู้สูงอายุ หมายถึง กิจกรรมทางสังคมที่ทำให้ผู้สูงอายุมีสุขภาพจิตดีขึ้น ไม่คิดมาก ซึมเศร้า หรือเหงาอยู่คนเดียว เช่น การชวนผู้สูงอายุเข้าวัด สวดมนต์ ทำบุญ ฟังเทศน์ ฟังธรรม ฝึกสมาธิ หรือพาไปพบปะกับเพื่อนเก่าหรือผู้คนแปลกหน้าเพื่อพูดคุยหรือ แลกเปลี่ยนความคิดเห็น เป็นต้น หรือเป็นกิจกรรมที่ทำแล้วเพลิดเพลิน เป็นกิจกรรมที่ผู้สูงอายุชอบหรือสนใจ ช่วยทำให้ผู้สูงอายุรู้สึกสดชื่น โดยหลีกเลี่ยงกิจกรรมที่อาจทำให้ผู้สูงอายุเกิดความกระทบกระเทือนจิตใจ


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1 สอบสัมภาษณ์


ยินดีต้อนรับ