หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ปฐมพยาบาลผู้สูงอายุเบื้องต้น

สาขาวิชาชีพบริการสุขภาพ


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ HLT-FFZJ-614A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ปฐมพยาบาลผู้สูงอายุเบื้องต้น

3. ทบทวนครั้งที่ N/A

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

5321 ผู้ช่วยงานดูแลสุขภาพ


6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)

หน่วยสมรรถนะนี้ประกอบไปด้วยความรู้และทักษะที่จำเป็นในการปฐมพยาบาลผู้สูงอายุเบื้องต้น โดยต้องสามารถอธิบายขั้นตอนในการประเมินภาวะฉุกเฉินที่เกิดขึ้นกับผู้สูงอายุ และให้การปฐมพยาบาล


7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)

สาขาวิชาชีพบริการสุขภาพ สาขาบริการสุขภาพบุคคล อาชีพเพื่อนผู้สูงวัย


9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria)
10202.01

ประเมินภาวะฉุกเฉินที่เกิดขึ้นกับผู้สูงอายุ

1.สังเกตอาการผิดปกติแบบเฉียบพลันของผู้สูงอายุ

2.ประเมินความรุนแรงของอาการผิดปกติของผู้สูงอายุ

10202.02

ให้การปฐมพยาบาล

1.ดูแลช่วยเหลือผู้สูงอายุเบื้องต้น

2. อธิบายวิธีการปฐมพยาบาลเบื้องต้น

3.ส่งต่อผู้สูงอายุไปยังสถานพยาบาล


12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

ทัศนคติต่อการทำงานกับผู้สูงอายุและครอบครัว


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

(ก1) ทักษะในการสังเกตอาการผิดปกติของผู้สูงอายุ
(ก2) ทักษะในการประเมินภาวะฉุกเฉินเบื้องต้น
(ก3) ทักษะในการส่งต่อ
(ก4) ทักษะในการปฐมพยาบาลเบื้องต้น
(ก5) ทักษะในการช่วยเหลือดูแลในภาวะฉุกเฉิน

(ข) ความต้องการด้านความรู้

(ข1) ความรู้เกี่ยวกับภาวะฉุกเฉินที่เกิดขึ้นกับผู้สูงอายุ
(ข2) ความรู้เกี่ยวกับอาการผิดปกติของผู้สูงอายุ
(ข3) ความรู้เกี่ยวกับการประเมินความรุนแรงของอาการของผู้สูงอายุ
(ข4) ความรู้เกี่ยวกับการส่งต่อ
(ข5) ความรู้เกี่ยวกับภาวะฉุกเฉินที่เกิดขึ้นกับผู้สูงอายุ
(ข6) ความรู้เกี่ยวกับอาการผิดปกติของผู้สูงอายุ
(ข7) ความรู้เกี่ยวกับหลักการปฐมพยาบาลเบื้องต้น


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

     หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรใช้ร่วมกันกับเกณฑ์การ ปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และ ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)
     (ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)
          (ก1) หนังสือรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ หรือ
          (ก2) แบบฟอร์มบันทึกภาระงานที่เกี่ยวข้องกับหน่วยสมรรถนะนี้ หรือ
          (ก3) แฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio) หรือ
          (ก4) หนังสือรับรองการผ่านงานที่เกี่ยวข้องกับหน่วยสมรรถนะนี้จากสถานประกอบการ
     (ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)
          (ข1) ใบรับรองผลการศึกษา (ถ้ามี) หรือ
          (ข2) ประกาศนียบัตร/วุฒิบัตรผ่านการอบรมในหลักสูตรที่เกี่ยวข้อง (ถ้ามี)
     (ค) คำแนะนำในการประเมิน  
          เจ้าหน้าที่สอบประเมินสมรรถนะปฐมพยาบาลผู้สูงอายุเบื้องต้น โดยพิจารณาจากหลักฐานที่เกี่ยวข้องทั้งหลักฐานด้านการปฏิบัติงาน และหลักฐานความรู้ ประกอบการพิจารณาเข้าสู่กระบวนการประเมินสมรรถนะ
     (ง) วิธีการประเมิน
          พิจารณาตามหลักฐานการปฏิบัติงาน ได้แก่ การสอบสัมภาษณ์ และสอบปฏิบัติ


15. ขอบเขต (Range Statement)

    ขอบเขตการปฏิบัติงานปฐมพยาบาลผู้สูงอายุเบื้องต้น ครอบคลุมตั้งแต่ขั้นตอนการประเมินภาวะฉุกเฉินที่เกิดขึ้นกับผู้สูงอายุ และให้การปฐมพยาบาล
    (ก) คำแนะนำ
        (ก1) สำหรับผู้เข้ารับการประเมินในหน่วยสมรรถนะนี้ ต้องสามารถอธิบายถึงขั้นตอนในการประเมินภาวะฉุกเฉินที่เกิดขึ้นกับผู้สูงอายุ และให้การปฐมพยาบาล
        (ก2) สำหรับเจ้าหน้าที่สอบจะต้องพิจารณาหลักฐานการปฏิบัติงานและหลักฐานความรู้ให้ตรงตามที่ระบุไว้ในหน่วยสมรรถนะนี้
    (ข) คำอธิบายรายละเอียด
        (ข1) อาการผิดปกติเฉียบพลันของผู้สูงอายุ หมายถึง อาการผิดปกติทางกาย ได้แก่ ภาวะฉุกเฉินระบบการรู้สติ ภาวะสมองขาดเลือดไปเลี้ยง  ภาวะฉุกเฉินระบบทางเดินหายใจ  ภาวะฉุกเฉินระบบทางเดินอาหาร  ภาวะฉุกเฉินระบบต่อมไร้ท่อ ภาวะน้ำตาลในเลือดสูง  ภาวะฉุกเฉินทางโรคหัวใจ  ภาวะหกล้ม ภาวะการมีอุบัติเหตุและภัยพิบัติ และอาการผิดปกติทางสมอง หมายถึง ภาวะสับสน(Delirium) เฉียบพลันในผู้สูงอายุ เป็นความผิดปกติทางระบบประสาทที่ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงระดับความรู้สึกตัว ระดับความรู้คิดและความสามารถของสมองโดยรวมอย่างเฉียบพลัน ผู้สูงอายุมักไม่ให้ความสนใจกับการตอบคำถาม ถูกเบี่ยงเบนความสนใจได้ง่าย อาจจะวุ่นวายหรือซึมหลับมากก็ได้ อาการมักเป็น ๆ หาย ๆ มักเป็นช่วงพลบค่ำหรือกลางคืน ภาวะเหล่านี้เป็นภาวะเร่งด่วน
        (ข2) การปฐมพยาบาลเบื้องต้น หมายถึง การให้ความช่วยเหลือแก่บุคคลที่กำลังเจ็บป่วยหรือบาดเจ็บ โดยบริบาลให้เพื่อรักษาชีวิต ป้องกันมิให้สภาวะนั้นเลวลง และ/หรือเพื่อส่งเสริมการฟื้นตัว ปฐมพยาบาล รวมถึงการรักษาเบื้องต้นในภาวะรุนแรงก่อนมีการช่วยเหลือของบุคลากรทางการแพทย์ ได้แก่  การช่วยเหลือผู้ที่หยุดหายใจหรือหัวใจหยุดเต้น ให้มีการหายใจ และการไหลเวียนกลับสู่สภาพเดิม ป้องกันเนื้อเยื่อไม่ให้ได้รับอันตรายจากการขาดออกซิเจนอย่างถาวร ซึ่งสามารถทําได้โดยการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐาน (Basic life support) ได้แก่ การผายปอด และการนวดหัวใจ


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1 สอบสัมภาษณ์
18.2 สอบปฏิบัติ


ยินดีต้อนรับ