หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ป้องกันอุบัติเหตุที่จะเกิดขึ้นกับผู้สูงอายุ

สาขาวิชาชีพบริการสุขภาพ


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ HLT-YTIW-613A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ป้องกันอุบัติเหตุที่จะเกิดขึ้นกับผู้สูงอายุ

3. ทบทวนครั้งที่ N/A

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

5321 ผู้ช่วยงานดูแลสุขภาพ


6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)

หน่วยสมรรถนะนี้ประกอบไปด้วยความรู้และทักษะที่จำเป็นในการป้องกันอุบัติเหตุที่จะเกิดขึ้นกับผู้สูงอายุ โดยสามารถประเมินความเป็นไปได้ของการเกิดอุบัติเหตุ และประเมินสภาวะร่างกายของผู้สูงอายุ


7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)

สาขาวิชาชีพบริการสุขภาพ สาขาบริการสุขภาพบุคคล อาชีพเพื่อนผู้สูงวัย


9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria)
10201.01

ประเมินความเป็นไปได้ของการเกิดอุบัติเหตุ

1.ระบุเหตุการณ์ที่เป็นไปได้ที่จะเกิดอุบัติเหตุ

2. ประเมินความปลอดภัยของสถานที่

3.ประเมินความปลอดภัยของกิจกรรม

4.เฝ้าระวังการเกิดอุบัติเหตุกับผู้สูงอายุ

10201.02

ประเมินสภาวะร่างกายของผู้สูงอายุ

1. สังเกตการเคลื่อนไหวร่างกายของผู้สูงอายุ

2. สังเกตพฤติกรรมที่แสดงออกของผู้สูงอายุ

3. ประเมินความสามารถของร่างกายในการเคลื่อนไหว


12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

ทัศนคติต่อการทำงานกับผู้สูงอายุและครอบครัว


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

(ก1) ทักษะในการประเมินการเกิดอุบัติเหตุ
(ก2) ทักษะในการประเมินความปลอดภัยของสถานที่
(ก3) ทักษะในการประเมินความปลอดภัยของกิจกรรม
(ก4) ทักษะในการสังเกตการเคลื่อนไหวร่างกายของผู้สูงอายุ
(ก5) ทักษะในการสังเกตพฤติกรรมที่แสดงออกของผู้สูงอายุ
(ก6) ทักษะในการประเมินการเคลื่อนไหวร่างกาย

(ข) ความต้องการด้านความรู้

(ข1) ความรู้เกี่ยวกับประเภทของอุบัติเหตุ
(ข2) ความรู้เกี่ยวกับการป้องกันการเกิดอุบัติเหตุ
(ข3) ความรู้เกี่ยวกับการเคลื่อนไหวร่างกายของผู้สูงอายุตามหลักสรีรศาสตร์
(ข4) ความรู้เกี่ยวกับพฤติกรรมของผู้สูงอายุ


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

     หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรใช้ร่วมกันกับเกณฑ์การ ปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และ ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)
     (ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)
          (ก1) หนังสือรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ หรือ
          (ก2) แบบฟอร์มบันทึกภาระงานที่เกี่ยวข้องกับหน่วยสมรรถนะนี้ หรือ
          (ก3) แฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio) หรือ
          (ก4) หนังสือรับรองการผ่านงานที่เกี่ยวข้องกับหน่วยสมรรถนะนี้จากสถานประกอบการ
     (ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)
          (ข1) ใบรับรองผลการศึกษา (ถ้ามี) หรือ
          (ข2) ประกาศนียบัตร/วุฒิบัตรผ่านการอบรมในหลักสูตรที่เกี่ยวข้อง (ถ้ามี)
     (ค) คำแนะนำในการประเมิน  
          เจ้าหน้าที่สอบประเมินสมรรถนะ ป้องกันอุบัติเหตุที่จะเกิดขึ้นกับผู้สูงอายุ โดยพิจารณาจากหลักฐานที่เกี่ยวข้องทั้งหลักฐานด้านการปฏิบัติงาน และหลักฐานความรู้ ประกอบการพิจารณาเข้าสู่กระบวนการประเมินสมรรถนะ
     (ง) วิธีการประเมิน
          พิจารณาตามหลักฐานการปฏิบัติงาน ได้แก่ สอบสัมภาษณ์ และสอบปฏิบัติ


15. ขอบเขต (Range Statement)

    ขอบเขตการปฏิบัติงาน ป้องกันอุบัติเหตุที่จะเกิดขึ้นกับผู้สูงอายุ ที่ครอบคลุมตั้งแต่ขั้นตอนการประเมินความเป็นไปได้ของการเกิดอุบัติเหตุ และประเมินสภาวะร่างกายของผู้สูงอายุ
    (ก) คำแนะนำ
        (ก1) สำหรับผู้เข้ารับการประเมินในหน่วยสมรรถนะนี้ ต้องสามารถอธิบายถึงขั้นตอนในการประเมินความเป็นไปได้ของการเกิดอุบัติเหตุ และประเมินสภาวะร่างกายของผู้สูงอายุได้
        (ก2) สำหรับเจ้าหน้าที่สอบจะต้องพิจารณาหลักฐานการปฏิบัติงานและหลักฐานความรู้ให้ตรงตามที่ระบุไว้ในหน่วยสมรรถนะนี้
    (ข) คำอธิบายรายละเอียด
        (ข1) สรีรศาสตร์ หมายถึง ศาสตร์ที่เกี่ยวกับการทำงานของระบบต่าง ๆ ในร่างกาย เป็นพื้นฐานที่ใช้ทำความเข้าใจกลไกทำงานของร่างกายมนุษย์


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1 สอบข้อเขียน
18.2 สอบสัมภาษณ์


ยินดีต้อนรับ