หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

จัดเก็บและแจกจ่ายเครื่องมือแพทย์ปราศจากเชื้อ

สาขาวิชาชีพบริการสุขภาพ


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ HLT-CIPH-596A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ จัดเก็บและแจกจ่ายเครื่องมือแพทย์ปราศจากเชื้อ

3. ทบทวนครั้งที่ N/A

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)
N/A 1 3212 เจ้าหน้าที่เทคนิคในห้องปฏิบัติการทางการแพทย์และพยาธิวิทยา

6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)

บุคคลต้องมีความรู้ ทักษะและความสามารถในตรวจสอบจัดการสิ่งแวดล้อม การตรวจสอบ การจัดเก็บและแจกจ่ายเครื่องมือแพทย์ปราศจากเชื้อ โดยคงสภาพความปลอดเชื้อตามมาตรฐานและมีประสิทธิภาพ


7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)

นักจัดการงานปราศจากเชื้อ


9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)

แนวปฏิบัติการทำลายเชื้อและทำให้ปราศจากเชื้อเครื่องมือแพทย์ (Thailand CSSA Guidelines for Disinfection and Sterilization of Medical Devices)


11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria)
CSS10041

จัดเก็บเครื่องมือแพทย์ปราศจากเชื้อ

PC 1 ทำความสะอาดมือและสวมเสื้อคลุมสะอาดและเปลี่ยนรองเท้าก่อนเข้าห้องเก็บเครื่องมือแพทย์ปราศจากเชื้อ

PC 2 ตรวจสอบสภาพแวดล้อมให้ถูกต้องตามมาตรฐาน

PC 3 ตรวจนับจำนวนเครื่องมือแพทย์คงคลัง และคัดแยกเครื่องมือหมดอายุออกนำไปผ่านกระบวนการปราศจากเชื้อใหม่

PC 4 นำห่อเครื่องมือแพทย์ออกจากเครื่องทำให้ปราศจากเชื้อโดยใช้อุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล (PPE)ที่เหมาะสมตามมาตรฐานเครื่องทำให้ปราศจากเชื้อ(sterilizer)

PC 5 ตรวจสอบสภาพห่อเครื่องมือแพทย์ปราศจากเชื้อก่อนนำไปจัดเก็บในตู้หรือชั้นเก็บ

PC 6 จัดเก็บเครื่องมือแพทย์ปราศจากเชื้อทั้งระบบเปิดและระบบปิด

   (1) ยกประเภทเครื่องมือจัดเก็บเป็นหมวดหมู่ชัดเจน

   (2) จัดเรียง แบบ First in First Out (FIFO)


CSS10042

แจกจ่ายเครื่องมือแพทย์ปราศจากเชื้อ

PC 1 ตรวจสอบสภาพห่อเครื่องมือแพทย์ให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งานและยังคงสภาพการปราศจากเชื้อตามมาตรฐานกำหนด

PC 2 จัดเตรียมเครื่องมือแพทย์ปราศจากเชื้อ พร้อมตรวจนับให้ถูกต้องตามรายการ หน่วยงาน ก่อนใส่ภาชนะบรรจุและรถขนส่งเครื่องมือแพทย์ปราศจากเชื้อที่ถูกต้องตามมาตรฐาน 

PC 3 ทำความสะอาดมือด้วย alcohol hand rub ก่อนนำเครื่องมือแพทย์เพื่อจ่ายให้หน่วยงาน

PC 4 แจกจ่ายเครื่องมือแพทย์ให้ถูกต้อง ครบถ้วน


12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. สามารถทำความสะอาดมือก่อนจับเครื่องมือปราศจากเชื้อ
2. สามารถจัดเตรียมพื้นที่ และตรวจสอบสิ่งแวดล้อมภายในห้องจัดเก็บเครื่องมือแพทย์ปราศจากเชื้อ
3. สามารถนำห่อเครื่องมือแพทย์ออกจากเครื่องทำให้ปราศจากเชื้อ
4. สามารถตรวจสอบสภาพห่อบรรจุเครื่องมือแพทย์ปราศจากเชื้ออย่างถูกต้อง
5. สามารถจัดเก็บเครื่องมือแพทย์ปราศจากเชื้ออย่างถูกต้อง 
6. สามารถแจกจ่ายเครื่องมือแพทย์ปราศจากเชื้ออย่างถูกต้อง
 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. ความรู้เกี่ยวกับการจัดเก็บเครื่องมือแพทย์ปราศจากเชื้อ
2. ความรู้เกี่ยวกับการแจกจ่ายเครื่องมือแพทย์ปราศจากเชื้อ
3. ความรู้เกี่ยวกับการป้องกันและควบคุมการแพร่กระจายเชื้อและงานอาชีวอนามัยที่เกี่ยวข้องกันงานจ่ายกลาง
 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

14.1 หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)
1.  แสดงและอธิบายวิธีการทำความสะอาดมือก่อนหยิบจับเครื่องมือปราศจากเชื้อ
2.  แสดงและอธิบายวิธีการตรวจสอบห่ออุปกรณ์เครื่องแพทย์ปราศจากเชื้อผ่านเกณฑ์ตามมาตรฐาน
3.  แสดงและอธิบายวิธีการจัดเตรียมพื้นที่ และตรวจสอบสิ่งแวดล้อมภายในห้องจัดเก็บเครื่องมือแพทย์ปราศจากเชื้อ
3. แสดงและอธิบายวิธีการจัดเก็บเครื่องมือแพทย์ปราศจากเชื้อ
4. แสดงและอธิบายวิธีการเตรียมอุปกรณ์ในการแจกจ่ายเครื่องมือแพทย์ปราศจากเชื้อ
5. แสดงและอธิบายวิธีการแจกจ่ายเครื่องมือแพทย์ปราศจากเชื้อ 
6. เอกสาร หนังสือรับรอง หรือวุฒิบัตร ที่แสดงถึงการผ่านการศึกษา การอบรม ในความรู้ที่เกี่ยวข้องกับงานปราศจากเชื้อ (ตามข้อ 14)
14.2 หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)
1. ระบุและอธิบายวิธีทำความสะอาดมือก่อนจับเครื่องมือปราศจากเชื้อ
2. ระบุและอธิบายวิธีจัดเตรียมพื้นที่ และตรวจสอบสิ่งแวดล้อมภายในห้องจัดเก็บเครื่องมือแพทย์ปราศจากเชื้อ
3. ระบุและอธิบายวิธีนำห่อเครื่องมือแพทย์ออกจากเครื่องทำให้ปราศจากเชื้อ
4. ระบุและอธิบายวิธีตรวจสอบสภาพห่อบรรจุเครื่องมือแพทย์ปราศจากเชื้ออย่างถูกต้อง
5. ระบุและอธิบายวิธีจัดเก็บเครื่องมือแพทย์ปราศจากเชื้ออย่างถูกต้อง
6.  ระบุและอธิบายวิธีแจกจ่ายเครื่องมือแพทย์ปราศจากเชื้ออย่างถูกต้อง
7.  เอกสาร หนังสือรับรอง หรือวุฒิบัตร ที่แสดงถึงการผ่านการศึกษา การอบรม ในความรู้ที่เกี่ยวข้องกับงานปราศจากเชื้อ อาทิ วุฒิบัตรด้านการทำลายเชื้อและทำให้ปราศจากเชื้อจากสถาบันที่ได้รับการยอมรับ (ตามข้อ 14)
14.3 คำแนะนำในการประเมิน
1. ผู้เข้ารับการประเมินในหน่วยสมรรถนะนี้ ต้องมีความรู้เกี่ยวกับการจัดเก็บและแจกจ่ายเครื่องมือปราศจากเชื้อและบันทึกได้อย่างถูกต้อง ซึ่งผู้เข้ารับการประเมินควรเตรียมหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับหน่วยสมรรถนะนี้ ทั้งหลักฐานการปฏิบัติงาน และหลักฐานความรู้มาเพื่อประกอบการพิจารณาด้วย
2. เจ้าหน้าที่สอบตรวจประเมินหลักฐาน โดยพิจารณาจากร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้องทั้งหลักฐานการปฏิบัติงาน และหลักฐานด้านความรู้ ตามข้อ13
 


15. ขอบเขต (Range Statement)

เป็นผู้ปฏิบัติงานในสถานพยาบาล สถานประกอบการเพื่อสุขภาพหรือสถานประกอบการที่ต้องมีกิจกรรมการทำลายเชื้อหรือฆ่าเชื้อ เครื่องมือ เครื่องใช้ วัสดุ อุปกรณ์ ที่มีความมุ่งหมายใช้เฉพาะสำหรับมนุษย์และสัตว์ โดยปฏิบัติงานในการทำความสะอาดเครื่องมือแพทย์ประเภทต่างๆตามคู่มือมาตรฐานการปฏิบัติงานของหน่วยงานและเป็นไปตามแนวปฏิบัติการทำลายเชื้อและทำให้ปราศจากเชื้อแพทย์ (Thailand CSSA Guidelines for Disinfection and Sterilization of Medical Devices)
(ก)    คำแนะนำ
ศึกษาและทำความเข้าใจแนวปฏิบัติการทำลายเชื้อและทำให้ปราศจากเชื้อแพทย์ (Thailand CSSA Guidelines for Disinfection and Sterilization of Medical Devices)
(ข) คำอธิบายรายละเอียด
1. ทำความสะอาดมือก่อนหยิบจับเครื่องมือแพทย์ปราศจากเชื้อ หมายถึง การถูมือด้วยแอลกอฮอล์ (70%Alcohol hand rub) อย่างน้อย 6 ขั้นตอนทุกครั้งก่อนหยิบจับห่อเครื่องมือแพทย์ปราศจากเชื้อ
2. จัดเตรียมพื้นที่และตรวจสอบสิ่งแวดล้อมภายในห้องจัดเก็บเครื่องมือแพทย์ปราศจากเชื้อ หมายถึง การทำความสะอาด เตรียมพื้นที่การจัดเก็บ ได้ถูกต้อง ทั้งการจัดเก็บ แบบระบบเปิด และระบบปิด โดยมีการตรวจสอบ ให้อุณหภูมิ ภายในห้องไม่เกิน 24 องศาเซลเซียส และความชื้นสัมพัทธ์ไม่เกิน 60% หรือตามมาตรฐานสากล บันทึกผลและสามารถรายงานได้ เมื่อพบความผิดปกติ และตรวจสอบชั้นวางสูงจากพื้น อย่างน้อย 8 นิ้ว ห่างจากผนัง 2 นิ้ว ต่ำกว่าฝ้าเพดาน 18 นิ้ว
3. การนำห่อเครื่องมือแพทย์ออกจากเครื่องทำให้ปราศจากเชื้อ หมายถึง การนำห่อเครื่องมือแพทย์ที่ผ่านการทำให้ปราศจากเชื้อแล้ว โดยวางไว้นานอย่างน้อย 30 นาทีเพื่อรอให้เย็นและไม่สัมผัสห่อระหว่างรอให้เย็นลง (เฉพาะเครื่องนึ่งไอน้ำ)  จอดรถเข็นบริเวณที่ไม่มีคนพลุกพล่าน ไม่จอดใกล้กับเครื่องปรับอากาศหรือช่องระบายอากาศ 
การนำเครื่องมือแพทย์ออกจากเครื่องทำให้ปราศจากเชื้อชนิดที่ใช้สารเคมี เช่น แก๊สเอทธิลีนออกไซด์
ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์พลาสม่า  ฟอร์มอลดีไฮด์ เป็นต้น บุคลากรควรสวมอุปกรณ์ป้องกันร่างกายตามคำแนะนำของบริษัทผู้ผลิต
4. การตรวจสอบสภาพเครื่องมือแพทย์ปราศจากเชื้อหมายถึง การตรวจสอบสภาพห่อเครื่องมือแพทย์หลังการทำให้ปราศจากเชื้อแล้ว เช่น วัสดุที่ใช้ห่อไม่ฉีกขาด ไม่หลุดลุ่ย ไม่เปียกชื้น มีชื่อเครื่องมือ มีวันที่ผลิต วันหมดอายุ มีเครื่องหมายบ่งชี้ทางเคมีผ่านเกณฑ์ ตามคำแนะนำของบริษัทผู้ผลิต (IFU) ก่อนการนำไปจัดเก็บและแจกจ่ายอย่างถูกต้องตามมาตรฐาน 
5. การจัดเก็บเครื่องมือแพทย์ปราศจากเชื้อ หมายถึง การจัดเก็บเครื่องมือแพทย์ที่ผ่านการทำให้ปราศจากเชื้อแล้วและมาทำการจัดเก็บ ให้คงสภาพความปราศจากเชื้อ (Shelf Life) เพื่อป้องกันการปนเปื้อนเชื้อโรคระหว่างการจัดเก็บ
6. การคงสภาพความปราศจากเชื้อ (Shelf life) หมายถึง ระยะเวลาที่เครื่องมือที่อยู่ภายในห่อคงสภาพปราศจากเชื้อได้จนถึงระยะเวลาการใช้งานและมีความปลอดภัยต่อการไปใช้งานกับผู้ป่วย
7.การจัดเรียงเครื่องมือปราศจากเชื้อ แบบ First In First Out (FIFO) หมายถึง รูปแบบการหยิบเครื่องมือปราศจากเชื้อที่จะจัดเรียงตามวันหมดอายุของเครื่องมือปราศจากเชื้อนั้น ๆ โดยเครื่องมือปราศจากเชื้อที่ใกล้หมดอายุจะถูกจัดเรียงเพื่อให้ถูกหยิบออกไปก่อน และเครื่องมือปราศจากเชื้อที่ผลิตนำเข้ามาใหม่ จะต้องถูกจัดเก็บไปไว้ด้านใน Shelf ท้ายสุดเสมอ โดยยึดหลักตามบริบทของพื้นที่นั้นๆ เช่น วางซ้าย:ใช้ขวา วางใน:ใช้นอก  วางล่าง:ใช้บน เป็นต้น
8. การแจกจ่ายเครื่องมือแพทย์ปราศจากเชื้อ หมายถึง ตรวจนับและจ่ายเครื่องมือแพทย์ปราศจากเชื้อให้ตรงตามรายการ จำนวน ครบถ้วนถูกต้องที่แผนกจ่ายกลางหรือนำเครื่องมือแพทย์ใส่กล่องปิดมิดชิดขึ้นรถขนส่งเครื่องมือปราศจากเชื้อแล้วไปแจกจ่ายให้หน่วยงานต่างๆ ตามเส้นทางที่กำหนด เมื่อแจกจ่ายเสร็จสิ้น ทำความสะอาดกล่องและรถขนส่งเครื่องมือปราศจากเชื้อทุกครั้ง (แยกกล่องและรถขนส่งระหว่างเครื่องมือปราศจากเชื้อและเครื่องมือปนเปื้อน ห้ามใช้ร่วมกัน)
 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

เจ้าหน้าที่สอบพิจารณาหลักฐานจากแฟ้มสะสมผลงานที่เป็นเอกสารรับรองผลงาน รับรองความรู้ความสามารถที่ผ่านมาก่อนหน้า แล้วให้ประเมินสมรรถนะของผู้เข้ารับการประเมินด้วยเครื่องมือประเมินความรู้ ทักษะ ความสามารถ ให้ครอบคลุมเกณฑ์การปฏิบัติงาน ทักษะ และความรู้ที่ต้องการของหน่วยสมรรถนะนี้
1)   ประเมินภาคความรู้ด้วยข้อสอบข้อเขียน
2)   ประเมินภาคความรู้ด้วยแบบสัมภาษณ์เชิงเทคนิค
3)   ประเมินภาคความสามารถด้วยสาธิตการปฏิบัติงาน
4)  ประเมินภาคความรู้ก่อนหน้าด้วยเอกสารรับรองการศึกษาฝึกอบรม
5)   ประเมินภาคความรู้และความสามารถก่อนหน้าด้วยแฟ้มสะสมผลงานของผู้รับการประเมิน 
 


ยินดีต้อนรับ