หน่วยสมรรถนะ
ปฏิบัติงานพัฒนาคุณภาพเส้นไหม
สาขาวิชาชีพเกษตรกรรม
รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ
1. รหัสหน่วยสมรรถนะ | ARC-PRFU-671A |
2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ | ปฏิบัติงานพัฒนาคุณภาพเส้นไหม |
3. ทบทวนครั้งที่ | N/A |
4. สร้างใหม่ |
![]() |
ปรับปรุง |
![]() |
5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification) | |
ISCO - 08 รหัสอาชีพ 7318 ช่างงานหัตถกรรมสิ่งทอ เครื่องหนัง และวัสดุที่เกี่ยวข้อง |
6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency) | |
มีความรอบรู้ในขั้นตอนการผลิตเส้นไหม คุณภาพเส้นไหม และมาตรฐานเส้นไหม ความสามารถในการจัดการกระบวนการตรวจสอบคุณภาพเส้นไหมให้ได้ตามข้อกำหนดมาตรฐานเส้นไหม การจัดเตรียมเครื่องมือที่ใช้ตรวจสอบคุณภาพ การจัดการแก้ไขปัญหาที่ซับซ้อนได้ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา กำกับดูแลผู้ร่วมงานให้สามารถส่งมอบผลผลิตเส้นไหมที่มีคุณภาพตามข้อกำหนดมาตรฐานได้ รวมทั้งให้คำปรึกษาด้วยประสบการณ์และความชำนาญในด้านการผลิตเส้นไหม เป็นแบบอย่างหรือผู้นำในกลุ่มอาชีพผู้ผลิตเส้นไหม |
7. สำหรับระดับคุณวุฒิ |
1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 |
---|---|---|---|---|---|---|---|
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
8. กลุ่มอาชีพ (Sector) | |
อาชีพการเกษตร |
9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี) | |
ISCO - 08 หมวดใหญ่ 7 ช่างฝีมือและผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้อง |
10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี) | |
1. มกษ. 8000-2565 มาตรฐานสินค้าเกษตรเรื่อง เส้นไหมดิบ: เส้นไหมไทยสาวมือ สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ |
11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria) |
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) | เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) |
---|---|
B12081 ควบคุมขั้นตอนการสาวเส้นไหมตามข้อกำหนดของมาตรฐานอ้างอิงได้ |
1. ควบคุมการคัดแยกคุณภาพรังไหมในการสาวไหมแบบพื้นฐานต่างๆ ได้ครบถัวน
2. ควบคุมกระบวนการสาวไหมให้ได้คุณภาพที่ดีและเป็นไปตามมาตรฐาน
3. ให้คำแนะนำปรึกษาในการสาวไหมแก่ผู้ปฏิบัติงานสาวไหมเพื่อให้ได้คุณภาพเส้นไหมตามข้อกำหนดมาตรฐานอ้างอิงได้
4. จัดทำเอกสารที่ใช้ควบคุมคุณภาพการสาวไหมแต่ละขั้นตอนและผลผลิตเส้นไหมได้ครบถ้วน |
B12082 มีระบบการตรวจสอบคุณภาพเส้นไหมในระหว่างการผลิต |
1. จัดระบบการตรวจสอบคุณภาพของเส้นไหมเพื่อแยกขนาดของเส้นไหมตามข้อกำหนดในมาตรฐาน
2. จัดเตรียมเครื่องมือและอุปกรณ์ในการตรวจสอบควบคุมคุณภาพผลผลิตเส้นไหม
3. ระบุปัญหาและแนวทางแก้ไขปัญหาการสาวไหมที่เกิดขึ้นและสาเหตุของปัญหาได้ถูกต้องและทันท่วงที |
12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge) | |
1. สามารถอ่านออกเขียนได้ |
13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge) | |
(ก) ความต้องการด้านทักษะ 1. การจัดการกระบวนการตรวจสอบคุณภาพเส้นไหมระหว่างการผลิต (ข) ความต้องการด้านความรู้ 1. ข้อกำหนดคุณภาพเส้นไหมตามมาตรฐานสินค้าเกษตร เช่น มกษ. 8000 เส้นไหมดิบ: เส้นไหมไทยสาวมือ มกษ. 8002-2565 |
14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide) | |
(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence) |
15. ขอบเขต (Range Statement) | |
(ก) คำแนะนำ |
16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี) | |
N/A |
17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี) | |
N/A |
18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure) | |
เจ้าหน้าที่สอบพิจารณาหลักฐานของผู้เข้ารับการประเมิน ในกระบวนการประเมินเทียบโอนประสบการณ์การทำงานเพื่อการรับรองคุณวุฒิวิชาชีพ โดยหลักฐานต้องมีความสอดคล้องตามหน่วยสมรรถนะ (Unit of Competence: UoC) สมรรถนะย่อย (Element of Competence: EoC) และเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria: PC) |