หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

บริหารจัดการการผลิตเส้นไหม

สาขาวิชาชีพเกษตรกรรม


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ ARC-NSVO-670A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ บริหารจัดการการผลิตเส้นไหม

3. ทบทวนครั้งที่ N/A

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ISCO - 08     รหัสอาชีพ    7318    ช่างงานหัตถกรรมสิ่งทอ เครื่องหนัง และวัสดุที่เกี่ยวข้อง
ISCO - 08     รหัสอาชีพ    7318    คนกรอเส้นไหม เส้นด้าย
ISCO - 08    รหัสอาชีพ    7318    คนสาวและบิดเกลียวไหมด้วยมือ
 


6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)

มีความสามารถในการวางแผน บริหารจัดการการผลิตเส้นไหมจากรังไหมสด และรังไหมอบแห้งอย่างเป็นระบบ  การจัดการแก้ไขปัญหาที่ซับซ้อนที่เกี่ยวกับการผลิตเส้นไหมได้ สามารถพัฒนาผลิตภาพในการผลิตเส้นไหมได้อย่างต่อเนื่อง มีระบบการดูแล รักษา ซ่อมบำรุงอุปกรณ์การสาวเส้นไหม สามารถให้คำแนะนำ และกำกับดูแลผู้ร่วมงาน ประเมินผลปฏิบัติงาน และจัดการผลผลิตเส้นไหมให้สามารถส่งมอบงานได้ตามเป้าหมาย 


7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)

อาชีพการเกษตร


9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)

ISCO - 08 หมวดใหญ่ 7 ช่างฝีมือและผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้อง


10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)

1.  มกษ. 8000-2565  มาตรฐานสินค้าเกษตรเรื่องเส้นไหมดิบ เล่ม 1: เส้นไหมไทยสาวมือ  สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
2.  มกษ. 5900-2565  มาตรฐานสินค้าเกษตรเรื่องการปฏิบัติที่ดีสำหรับการผลิตเส้นไหมดิบ เล่ม 1:เส้นไหมไทยสาวมือ สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
 


11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria)
B12071

มีระบบการดูแล รักษา ซ่อมบำรุงอุปกรณ์การสาวเส้นไหม

1. จัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์ให้เพียงพอต่อการสาวเส้นไหมตามความต้องการของแหล่งรับซื้อ

2. จัดเตรียมเครื่องสาวไหมชุมชนให้เพียงพอและมีความพร้อมในการสาวไหมตามความต้องการของแหล่งรับซื้อ

B12072

มีรูปแบบการสาวเส้นไหมจากรังไหมสด และรังไหมอบแห้ง

1. ควบคุมคุณภาพและเลือกรังไหมสดและรังไหมอบแห้งที่มีคุณภาพสำหรับการผลิตเส้นไหมหรือสาวไหมแบบต่าง ๆ ได้ถูกต้อง 

2. วางแผนปริมาณรังไหมสด และรังไหมอบแห้งและส่งเสริม ให้มีการผลิตรังไหมให้เพียงพอต่อการผลิตเส้นไหมตามความต้องการและแนวโน้มของตลาด

3. วางแผนตารางการผลิตเส้นไหม หรือสาวไหมจากรังไหมสด และรังไหมอบแห้งให้ได้ผลผลิตตามแผนการผลิตที่กำหนด


12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

1. สามารถอ่านออกเขียนได้
2. มีความรู้เกี่ยวกับการเกษตรกรรม
3. มีความรู้เกี่ยวกับกระบวนการผลิตและวัสดุอุปกรณ์ที่จำเป็นในการผลิตเส้นไหมจากรังไหมสด และรังไหมอบแห้ง
 


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. การวางแผนรังไหมสดและรังไหมอบแห้งให้มีปริมาณเพียงพอต่อการสาวไหม  
2.  การจัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์ เครื่องจักรที่จำเป็นต่อการสาวเส้นไหมให้มีเพียงพอ และพร้อมใข้
3. การวิเคราะห์ข้อมูลการผลิตเส้นไหมเพื่อนำปรับปรุงผลิตภาพการผลิตเส้นไหม
 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1.  คุณภาพรังไหมสดและรังไหมอบแห้งที่นำมาใช้ในการผลิตเส้นไหม
2.  ชนิดและลักษณะคุณภาพเส้นไหมแต่ละชนิด แต่ละพันธ์ที่จะต้องผลิต
3.  วัสดุอุปกรณ์ เครื่องจักรที่จำเป็นในกการผลิตเส้นไหมหรือสาวไหม
 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก)   หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)
    หลักฐานรับรองปฏิบัติงานด้านการผลิตเส้นไหม (ถ้ามี)
 (ข)  หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)
    ใบประกาศนียบัตรที่ผ่านการอบรมด้านการผลิตเส้นไหม หรือในวิชาที่เกี่ยวข้อง (ถ้ามี)
 (ค) คำแนะนำในการประเมิน
           การพิจารณาเข้าสู่กระบวนการประเมินสมรรถนะให้ใช้หลักฐานการปฏิบัติงานหรือหลักฐานความรู้ตามที่ระบุ
 (ง) วิธีการประเมิน
      แฟ้มสะสมผลงาน (เทียบโอนประสบการณ์การทำงานเพื่อการรับรองคุณวุฒิวิชาชีพ RESK : Recognition of Existing Skills and Knowledge
 


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก)    คำแนะนำ
      การพิจารณาเข้าสู่กระบวนการประเมินสมรรถนะให้ใช้หลักฐานการปฏิบัติงานหรือหลักฐานความรู้ตามที่ระบุ
 (ข)    คำอธิบายรายละเอียด    
1. รังไหมจะนำมาผลิตเส้นไหมแต่ละรุ่น จะต้องมีคุณภาพรังไหม ตามมาตรฐานสินค้าเกษตร มกษ.8001 มาตรฐานสินค้าเกษตร เรื่อง รังไหมพันธุ์ไทยสีเหลือง รังไหมที่ใช้ในการสาวไหมแต่ละรุ่น ต้องเป็นพันธุ์เดียวกัน มีขนาดและสีสม่ำเสมอ
2. รังไหมที่จะนำไปใช้ในการสาวเส้นไหม มีทั้งรังไหมสด  และรังไหมอบแห้ง ต้องแยกสาวและใช้เทคนิคการสาวเส้นไหมให้ถูกต้องและเหมาะสมกับรังไหมแต่ละประเภท เพื่อให้การสาวเส้นไหมมีประสิทธิภาพสูงสุด
3. การจัดการเครื่องมือและอุปกรณ์การผลิตเส้นไหม จะต้องจัดเตรียมให้มีความเหมาะสมกับเส้นไหมมี่ผลิต และเพียงพอ มีการทดสอบเครื่องมือและอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมการผลิต เช่น เทอร์โมมิเตอร์ เครื่องชั่งน้ำหนัก ตู้อบลมร้อน อุปกรณ์ตรวจหาขนาดเส้นไหม (size detector) ให้สามารถทำงานได้ถูกต้องและแม่นยำ  มีการจัดเก็บเครื่องมือและอุปกรณ์ต่างๆอย่างเป็นระเบียบหลังการใช้งาน เพื่อสะดวกต่อการนำมาใช้ต่อ และควบคุมเครื่องมือ หรืออุปกรณ์การสาวไหมไปใช้ในกิจกรรมอื่นที่ไม่เกี่ยวข้องกับการสาวไหม โดยเฉพาะการลอกกาวและย้อมสี เพื่อป้องกันคราบสกปรกที่อาจตกค้าง ทำให้เส้นไหมมีสีผิดปกติได้
 พื้นที่ปฏิบัติงานผลิตเส้นไหมควรเป็นไปตามที่กำหนดมาตรฐานสินค้าเกษตร มกษ. 5900 การปฏิบัติที่ดีสาหรับการผลิตเส้นไหมดิบ เล่ม 1: เส้นไหมไทยสาวมือ ดังนี้ มีสถานที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ที่ไม่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนและสิ่งแวดล้อม เป็นที่โปร่งและอากาศถ่ายเทได้ดี มีแสงสว่างเพียงพอต่อการปฏิบัติงาน และต้องสะอาดไม่เป็นแหล่งสะสมของเชื้อโรคที่มีผลกระทบต่อรังไหมที่จะนำมาสาวเส้นไหม มีการจัดแบ่งพื้นที่ในแต่ละกระบวนการผลิตให้เป็นสัดส่วน เพื่อป้องกันการปนเปื้อนสิ่งแปลกปลอมและป้องกันความชื้นของเส้นไหม เช่น แยกพื้นที่กระบวนการผลิตแห้ง และเปียก และที่เก็บรักษา
4.  คุณภาพเส้นไหมดิบที่ผลิตได้เพื่อนำไปจำหน่าย ควรควบคุมและทดสอบคุณภาพเส้นไหมที่ผลิตให้ได้คุณภาพตามข้อกำหนดในมาตรฐานสินค้าเกษตร มกษ. ตามประเภทเส้นไหมที่ผลิต (มกษ. 8000 เส้นไหมดิบ: เส้นไหมสาวมือ) 
 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

เจ้าหน้าที่สอบพิจารณาหลักฐานของผู้เข้ารับการประเมิน ในกระบวนการประเมินเทียบโอนประสบการณ์การทำงานเพื่อการรับรองคุณวุฒิวิชาชีพ โดยหลักฐานต้องมีความสอดคล้องตามหน่วยสมรรถนะ (Unit of Competence: UoC) สมรรถนะย่อย (Element of Competence: EoC) และเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria: PC)


ยินดีต้อนรับ