หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

บริหารจัดการตลาดและจำหน่ายผลผลิตเส้นไหม

สาขาวิชาชีพเกษตรกรรม


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ ARC-BJYL-669A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ บริหารจัดการตลาดและจำหน่ายผลผลิตเส้นไหม

3. ทบทวนครั้งที่ N/A

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ISCO - 08     รหัสอาชีพ    7318    ช่างงานหัตถกรรมสิ่งทอ เครื่องหนัง และวัสดุที่เกี่ยวข้อง
ISCO - 08     รหัสอาชีพ    7318    คนกรอเส้นไหม เส้นด้าย
ISCO - 08    รหัสอาชีพ    7318    คนสาวและบิดเกลียวไหมด้วยมือ
 


6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)

มีความสามารถในการบริหารจัดการการตลาดและการจำหน่ายผลผลิตเส้นไหม  โดยประเมินข้อมูลแนวโน้มและความต้องการของตลาด  บริหารจัดการการตลาด มีแผนการขายออนไลน์เพื่อเพิ่มศักยภาพตลาดเส้นไหม สร้างระบบเชื่อมโยงระหว่างผู้ผลิตกับผู้ใช้เส้นไหม และการจัดการแก้ไขปัญหาการตลาด กำกับดูแลผู้ร่วมงาน การปฏิบัติงานได้ตามเป้าหมายได้


7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)

อาชีพการเกษตร


9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)

ISCO - 08 หมวดใหญ่ 7 ช่างฝีมือและผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้อง


10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)

1.  มกษ. 8000-2565  มาตรฐานสินค้าเกษตรเรื่องเส้นไหมดิบ เล่ม 1: เส้นไหมไทยสาวมือ  สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
2.  มกษ. 5900-2565  มาตรฐานสินค้าเกษตรเรื่องการปฏิบัติที่ดีสำหรับการผลิตเส้นไหมดิบ เล่ม 1:เส้นไหมไทยสาวมือ สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
 


11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria)
B12061

มีข้อมูลความต้องการใช้ชนิดเส้นไหมเพียงพอต่อการวางแผนการผลิต

1.  รวบรวมข้อมูลความต้องการใช้ชนิดเส้นไหมได้จากแหล่งซื้อเส้นไหม เพื่อวางระบบเครือข่ายผู้ผลิต-ผู้ซื้อ

2.  ศึกษาข้อมูลและวิเคราะห์แนวโน้มความต้องการตลาดเส้นไหมแต่ละชนิดเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในการวางแผนการสาวไหมให้ สอดคล้องกับความต้องการของตลาด

B12062

มีแผนการใช้ระบบขายออนไลน์ เพื่อเพิ่มศักยภาพตลาดเส้นไหม

1. จัดทำระบบการนำเสนอจำหน่ายผลผลิตเส้นไหมที่มีคุณลักษณะตามคุณภาพมาตรฐานที่ชัดเจน ครบถ้วนเพื่อให้ผู้ซื้อใช้ประกอบการตัดสินใจสั่งซื้อสินค้าเส้นไหมผ่านทางออนไลน์ได้อย่างมั่นใจ

2.  ระบุแนวทางประชาสัมพันธ์ระบบการขายออนไลน์ไปยังผู้ใช้เส้นไหมได้ทั่วถึง จัดทำระบบประชาสัมพันธ์ผลผลิตเพื่อการจำหน่ายในช่องทางสารสนเทศอย่างชัดเจนเกี่ยวกับคุณสมบัติของผลผลิตพร้อมภาพเหมือนจริงประกอบ

3.  กำหนดข้อมูลการขายที่จำเป็นในระบบขายออนไลน์เพื่อเพิ่มศักยภาพการตลาดเส้นไหมได้ เช่น คำสั่งซื้อ ราคาจำหน่ายเส้นไหม  สต็อคเส้นไหม  การจัดส่ง สถิติยอดขายเส้นไหม เป็นต้น

B12063

สร้างระบบเชื่อมโยงระหว่างผู้ผลิตกับผู้ใช้เส้นไหม

1. เตรียมและรวบรวมผลผลิตเส้นไหมให้มีคุณภาพมาตรฐานส่งแหล่งรับซื้อได้ตามความต้องการของตลาด

2. ระบุปัญหาและอุปสรรคในการจำหน่ายเส้นไหม จากผู้ใช้เส้นไหมไปยังผู้ผลิตได้ และหาแนวทางการแก้ปัญหาที่คาดการณ์ว่าจะเกิดขึ้นได้

3. มีระบบสารสนเทศเชื่อมโยงระหว่างผู้ผลิตกับผู้ใช้เส้นไหมเพื่อใช้ตัดสินใจในการจำหน่ายผลผลิตเส้นไหมได้


12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

1. สามารถอ่านออกเขียนได้
2. มีความรู้เกี่ยวกับการเกษตรกรรม
3. มีความรู้เกี่ยวกับแหล่งรับซื้อและการจัดจำหน่ายผลผลิตรังไหมไปยังแหล่งรับซื้อ
 


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

(ก)  ความต้องการด้านทักษะ
1. การติดต่อประสานงานแหล่งรับซื้อผลผลิตเส้นไหม  
2. การวิเคราะห์ข้อมูลการตลาดผลผลิตเส้นไหม และวางแผนการผลิตเส้นไหมให้สามารถจำหน่ายให้แหล่งรับซื้อได้
3. การคำนวณต้นทุนการผลิตทั้งกระบวนการจนได้ผลผลิตเส้นไหม และกำหนดราคาจำหน่ายผลผลิตเส้นไหม
4. การวางแผนการขายออนไลน์สำหรับผลผลิตเส้นไหมไปยังแหล่งรับซื้อ เพื่อเพิ่มศึกยภาพการตลาดได้
5.  การทำงานร่วมกับผู้อื่นและติดต่อสื่อสารผู้ร่วมงานและกลุ่มลูกค้าที่มีความต้องการรับซื้อเส้นไหม

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. ความรู้เกี่ยวกับคุณภาพและมาตรฐานของเส้นไหมแต่ละชนิดที่เป็นที่ต้องการของแหล่งซื้อ
2. ราคาตลาดของเส้นไหมในแต่ละชั้นคุณภาพ
3. ระบบการขายออนไลน์และแนวทางการวางแผนการขายออนไลน์ที่มีประสิทธิภาพ
 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก)   หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)
    หลักฐานรับรองปฏิบัติงานด้านการผลิตเส้นไหม (ถ้ามี)
 (ข)    หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)
    ใบประกาศนียบัตรที่ผ่านการอบรมด้านการผลิตเส้นไหม หรือในวิชาที่เกี่ยวข้อง (ถ้ามี)
 (ค) คำแนะนำในการประเมิน
           การพิจารณาเข้าสู่กระบวนการประเมินสมรรถนะให้ใช้หลักฐานการปฏิบัติงานหรือหลักฐานความรู้ตามที่ระบุ
 (ง) วิธีการประเมิน
แฟ้มสะสมผลงาน (เทียบโอนประสบการณ์การทำงานเพื่อการรับรองคุณวุฒิวิชาชีพ RESK : Recognition of Existing Skills and Knowledge
 


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก)  คำแนะนำ
         การพิจารณาเข้าสู่กระบวนการประเมินสมรรถนะให้ใช้หลักฐานการปฏิบัติงานหรือหลักฐานความรู้ตามที่ระบุ
 (ข)  คำอธิบายรายละเอียด    
1. แหล่งตลาดหรือแหล่งรับซื้อเส้นไหม มีทั้งกลุ่มผู้ผลิตผ้าไหมที่เป็นกลุ่มชุมชน และโรงงานอุตสาหกรรม และผู้ส่งออกเส้นไหม การจำหน่ายเส้นไหมอุตสาหกรรมส่วนใหญ่เป็นเส้นยืน (ที่ได้จากการสาวไหมอุตสาหกรรมและสาวไหมพื้นบ้าน) เส้นพุ่ง (จากการสาวเส้นไหมพื้นบ้าน) 
2. วิธีการจำหน่าย อาจเป็นการจำหน่ายตรงไปยังโรงงานอุตสาหกรรมเป็นไปตามพันธะสัญญาที่ตกลงระหว่างกัน หรือจำหน่ายผ่านคนกลาง หรือจำหน่ายผ่านงานแสดงสินค้า หรือจำหน่ายผ่านช่องทางออนไลน์
3. ระบบการขายออนไลน์ ทำให้สามารถขยายตลาดได้มากขึ้น นำไปสู่การเพิ่มศักยภาพการจำหน่ายผลผลิตไปยังผู้ใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้เกิดการเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างผู้ซื้อ-ผู้ขาย เกิดการพัฒนาร่วมกันอย่างลงตัว
 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

เจ้าหน้าที่สอบพิจารณาหลักฐานของผู้เข้ารับการประเมิน ในกระบวนการประเมินเทียบโอนประสบการณ์การทำงานเพื่อการรับรองคุณวุฒิวิชาชีพ โดยหลักฐานต้องมีความสอดคล้องตามหน่วยสมรรถนะ (Unit of Competence: UoC) สมรรถนะย่อย (Element of Competence: EoC) และเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria: PC)


ยินดีต้อนรับ