หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

กำหนดระบบตรวจสอบคุณภาพเส้นไหม ณ แหล่งผลิต

สาขาวิชาชีพเกษตรกรรม


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ ARC-NTVZ-667A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ กำหนดระบบตรวจสอบคุณภาพเส้นไหม ณ แหล่งผลิต

3. ทบทวนครั้งที่ N/A

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ISCO - 08     รหัสอาชีพ    7318    ช่างงานหัตถกรรมสิ่งทอ เครื่องหนัง และวัสดุที่เกี่ยวข้อง
ISCO - 08     รหัสอาชีพ    7318    คนกรอเส้นไหม เส้นด้าย
ISCO - 08    รหัสอาชีพ    7318    คนสาวและบิดเกลียวไหมด้วยมือ
 


6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)

มีความรู้และทักษะทางเทคนิคในการกำหนดระบบตรวจสอบคุณภาพเส้นไหมทั้งคุณลักษณะเส้นไหม และควบคุมชั้นคุณภาพ ณ แหล่งผลิตให้ได้ตามมาตรฐาน  สามารถตัดสินใจแก้ปัญหาเฉพาะหน้าที่เกี่ยวข้องกับคุณภาพเส้นไหมโดยอ้างอิงตามมาตรฐาน โดยควบคุมกระบวนการปฏิบัติงานตรวจสอบคุณภาพได้  


7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)

อาชีพการเกษตร


9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)

ISCO - 08 หมวดใหญ่ 7 ช่างฝีมือและผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้อง


10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)

1.  มกษ. 8000-2565 มาตรฐานสินค้าเกษตรเรื่อง เส้นไหมดิบ: เส้นไหมไทยสาวมือ  สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
2.  มกษ. 5900-2565  มาตรฐานสินค้าเกษตรเรื่อง  การปฏิบัติที่ดีสำหรับการผลิตเส้นไหมดิบ เล่ม 1:เส้นไหมไทยสาวมือ สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
 


11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria)
B12041

จัดตั้งชุดอุปกรณ์เพื่อการตรวจคุณลักษณะเส้นไหม เช่น ขนาดเส้นไหม น้ำหนักเข็ดไหม การจัดเรียงเส้นไหม การทำไพไหมในเข็ดไหม ที่ผลิตในแต่ละรุ่น

 1. อธิบายคุณลักษณะเส้นไหมที่ต้องตรวจสอบระหว่างการผลิตเส้นไหมในแต่ละรุ่นได้

2. จัดเตรียมชุดอุปกรณ์เครื่องมือตรวจสอบคุณภาพเส้นไหม

3. แสดงวิธีการตรวจสอบคุณภาพเส้นไหมแต่ละคุณลักษณะระหว่างการผลิตเส้นไหมแต่ละรุ่นได้ 

B12042

ตรวจชั้นคุณภาพเส้นไหมตามมาตรฐานได้หากมีใบสั่งซื้อ

1. อธิบายขั้นคุณภาพเส้นไหมที่กำหนดในมาตรฐานได้

2. แสดงวิธีการตรวจสอบคุณภาพเส้นไหมตามชั้นคุณภาพที่กำหนดในมาตรฐานได้


12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

1. สามารถอ่านออกเขียนได้
2. มีความรู้เกี่ยวกับการเกษตรกรรม
3. มีความรู้เกี่ยวกับคุณภาพเส้นไหมที่กำหนดในมาตรฐาน
 


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. การจัดการระบบตรวจสอบคุณภาพเส้นไหมระหว่างการผลิตแต่ละรุ่น  
2. การจัดเตรียมเครื่องมือและอุปกรณ์ตรวจสอบคุณภาพเส้นไหมระหว่างการผลิตแต่ละรุ่น  
3.  การบันทึกข้อมูลการปฏิบัติงานให้ครบถ้วนตามแบบฟอร์มที่กำหนด
 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. ความรู้เกี่ยวกับเส้นไหมแบบต่าง ๆ 
2. ขั้นคุณภาพเส้นไหมตามมาตรฐานสินค้าเกษตร (มกษ.) ที่กำหนด 
3. วิธีการตรวจสอบคุณภาพเส้นไหม และเครื่องมืออุปกรณ์ที่จำเป็นต้องใช้ในการตรวจสอบคุณภาพเส้นไหม
 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก)  หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)
    หลักฐานรับรองคุณภาพเส้นไหมตามมาตรฐานที่ได้รับรองจากหน่วยงานราชการ (ถ้ามี)
     หลักฐานรับรองปฏิบัติงานด้านการผลิตเส้นไหม (ถ้ามี)
 (ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)
    ใบประกาศนียบัตรที่ผ่านการอบรมด้านการผลิตเส้นไหม หรือในวิชาที่เกี่ยวข้อง (ถ้ามี)
 (ค) คำแนะนำในการประเมิน
           การพิจารณาเข้าสู่กระบวนการประเมินสมรรถนะให้ใช้หลักฐานการปฏิบัติงานหรือหลักฐานความรู้ตามที่ระบุ
 (ง) วิธีการประเมิน
แฟ้มสะสมผลงาน (เทียบโอนประสบการณ์การทำงานเพื่อการรับรองคุณวุฒิวิชาชีพ RESK : Recognition of Existing Skills and Knowledge)
 


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก) คำแนะนำ
      การพิจารณาเข้าสู่กระบวนการประเมินสมรรถนะให้ใช้หลักฐานการปฏิบัติงานหรือหลักฐานความรู้ตามที่ระบุ
 (ข) คำอธิบายรายละเอียด  
1.  คุณภาพเส้นไหมที่ผลิตได้เพื่อนำไปจำหน่าย ควรควบคุมและทดสอบคุณภาพเส้นไหมที่ผลิตให้ได้คุณภาพตามข้อกำหนดในมาตรฐานสินค้าเกษตร มกษ. ตามประเภทเส้นไหมที่ผลิต (มกษ. 8000 เส้นไหมดิบ: เส้นไหมสาวมือ) ดังนี้ 
  คุณภาพเส้นไหมสาวมือ ตามมาตรฐานสินค้าเกษตร มกษ. 8000 เส้นไหมดิบ : เส้นไหมสาวมือ ได้กำหนดข้อกำหนดคุณภาพขั้นต้น  ข้อกำหนดเฉพาะ  และข้อกำหนดเรื่องขนาด ดังนี้
    ข้อกำหนดขั้นต้น : เป็นเส้นไหมแท้  ขนาดเส้นรอบวงเข็ดอยู่ในช่วง - 135 -155 เชนติเมตร ต้องทำไพอย่างน้อย 6 จุดของเข็ดไหมที่แต่ละจุดมีการร้อยเส้นด้ายเพื่อแบ่งเส้นไหมออกจากกันอย่างน้อย 4 ส่วน  ต้องเหลือปลายเส้นด้ายที่ใช้ทำไพ ให้ยาวเกินความกว้างของเข็ดไม่น้อยกว่า 8 ซม. มัดปลายเส้นด้าย กับปลายเส้นไหมของเข็ดให้เรียบร้อย  
ข้อกำหนดเฉพาะ :  ซึ่งมีการแบ่งชั้นคุณภาพเส้นไหมไทยสาวมือชนิดไหมหนึ่ง เป็น 3 ชั้น คือ ชั้นพิเศษ  ชั้นหนึ่ง และชั้นสอง โดยมีกำหนดเกณฑ์การยอมรับข้อบกพร่องชองแต่ละชั้นคุณภาพ โดยกำหนดคะแนนเต็ม และหักคะแนนข้อบกพร่องรวมออก ได้เป็นคะแนนชั้นคุณภาพของเส้นไหมที่ตรวจสอบ ทั้งนี้ข้อบกพร่องที่ตรวจสอบประกอบด้วย เส้นไม่เรียบ เส้นขนาดไม่สม่ำเสมอ  เส้นไม่รวมตัวกัน  เส้นสีไม่สม่ำเสมอ  เส้นไม่สะอาด โดยคะแนนที่หักออกแตกต่างกับตามชนิดของเส้นไหมเช่นกัน  (รายละเอียดในมาตรฐานสินค้าเกษตร เส้นไหมดิบ เล่ม 1: เส้นไหมไทยสาวมือ (มกษ.8000)
ข้อกำหนดเรื่องขนาด : กำหนดเป็นรหัสขนาดเฉพาะเส้นไหมไทยสาวมือชนิดไหมหนึ่ง โดยอาจระบุเป็นจำนวนรังไหมขณะสาวเส้นไหม ขนาดดีเนียร์ (denier) หรือขนาดเท็กซ์ (tex) ตามข้อกำหนดของคู่ค้า  
2. การตรวจสอบคุณภาพเส้นไหมที่ได้จากการสาวไหม จะตรวจสอบตามวิธีการทดสอบ และชักตัวอย่าง  ตามวิธีการสาวเส้นไหม ซึ่งระบุในมาตรฐานสินค้าเกษตร  มกษ. 8000 สำหรับ เส้นไหมดิบ จากเส้นไหมสาวมือ    คุณภาพเส้นไหมที่ต้องทดสอบ ได้แก่ เป็นเส้นไหมแท้ด้วยการเผาไหม้ของเส้นใย, ขนาดเส้นรอบวงเข็ดด้วยการใช้ไม้บรรทัดวัด, การทำไพด้วยการตรวจพินิจ  ขนาดเส้นไหม ความสม่ำเสมอน้ำหนักเข็ดไหมด้วยการใช้เครื่องชั่งน้ำหนัก  ข้อบกพร่องในแต่ละชั้นคุณภาพด้วยการตรวจพินิจโดยใช้กระดาษสีดำ แบบบันทึกข้อบกพร่อง และเครื่องคิดเลข
 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

เจ้าหน้าที่สอบพิจารณาหลักฐานของผู้เข้ารับการประเมิน ในกระบวนการประเมินเทียบโอนประสบการณ์การทำงานเพื่อการรับรองคุณวุฒิวิชาชีพ โดยหลักฐานต้องมีความสอดคล้องตามหน่วยสมรรถนะ (Unit of Competence: UoC) สมรรถนะย่อย (Element of Competence: EoC) และเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria: PC)


ยินดีต้อนรับ