หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ผลิตเส้นไหม

สาขาวิชาชีพเกษตรกรรม


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ ARC-PLSM-666A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ผลิตเส้นไหม

3. ทบทวนครั้งที่ N/A

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ISCO - 08     รหัสอาชีพ    7318    ช่างงานหัตถกรรมสิ่งทอ เครื่องหนัง และวัสดุที่เกี่ยวข้อง
ISCO - 08     รหัสอาชีพ    7318    คนกรอเส้นไหม เส้นด้าย
ISCO - 08    รหัสอาชีพ    7318    คนสาวและบิดเกลียวไหมด้วยมือ
 


6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)

มีความรู้และทักษะทางเทคนิคในการปฏิบัติงานผลิตเส้นไหม เริ่มจากกำหนดชนิดเส้นไหมที่ทำการผลิต    การต้มรังไหม การกำหนดวิธีการสาวเส้นไหมตามมาตรฐาน  และลักษณะและคุณภาพเส้นไหมที่ต้องการ สามารถตัดสินใจแก้ปัญหาเฉพาะหน้าที่เกี่ยวข้องกับการสาวเส้นไหมได้โดยใช้ความรู้และหลักการได้ด้วยตนเอง สามารถควบคุมกระบวนการผลิตเส้นไหมและประเมินผลผลิตเส้นไหมได้   


7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)

อาชีพการเกษตร


9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)

ISCO - 08 หมวดใหญ่ 7 ช่างฝีมือและผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้อง


10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)

1.  มกษ. 8000-2565  มาตรฐานสินค้าเกษตรเรื่อง เส้นไหมดิบ: เส้นไหมไทยสาวมือ  สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
2.  มกษ. 5900-2564 มาตรฐานสินค้าเกษตร เรื่อง การปฏิบัติที่ดีสำหรับการผลิตเส้นไหมดิบ :เส้นไหมไทยสาวมือ สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
 
 


11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria)
B12031

กำหนดชนิดเส้นไหมที่ทำการผลิต

1. ระบุชนิดเส้นไหมที่ผลิตด้วยการสาวไหมแบบพื้นฐานเช่น สาวไหมเลย  สาวไหมลืบ  สาวไหมน้อย  สาวไหมแลง พร้อมทั้งระบุขนาดเส้นไหมหน่วยเป็นดีเนียร์/เดน ได้ถูกต้อง  

2. อธิบายลักษณะของเส้นไหมแต่ละชนิดที่ผลิตจากการสาวไหมแบบพื้นฐานได้ถูกต้อง

B12032

มีข้อมูลพื้นฐานเพื่อประมวลผลกำหนดวิธีการสาวไหมตามมาตรฐาน

1. อธิบายขั้นตอนและวิธีการสาวไหมแต่ละขั้นตอนตามข้อกำหนดในมาตรฐานได้

2. อธิบายข้อมูลวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการสาวไหมให้เหมาะสมกับชนิดเส้นไหมที่ผลิตได้

3. อธิบายวิธีการสาวเส้นไหมให้ได้เส้นไหมในแบบต่าง ๆ ตามมาตรฐาน ได้ถูกต้อง

B12033

มีองค์ความรู้การสาวเส้นไหมคุณภาพ


1. อธิบายเทคนิควิธีการสาวไหมชนิดต่างๆ ให้มีคุณภาพเฉพาะตามมาตรฐานได้

2. อธิบายคุณภาพของเส้นไหมชนิดต่างๆ ที่ผลิต ตามข้อกำหนดขั้นต้นและข้อกำหนดเฉพาะตามมาตรฐานได้

B12034

จัดทำเข็ดไหมได้ตามมาตรฐานหรือใบสั่งซื้อ

1. เตรียมวัสดุมีชุดอุปกรณ์ในการทำเข็ดไหมมาตรฐานครบถ้วน

2. อธิบายวิธีการกรอเส้นไหมให้เป็นเข็ดไหมในแบบต่าง ๆ ได้ถูกต้องตามมาตรฐาน  

3. ทำไพไหมตามลักษณะการกรอเส้นไหมเป็นเข็ดได้อย่างถูกต้อง


12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

1. สามารถอ่านออกเขียนได้
2. มีความรู้เกี่ยวกับการเกษตรกรรม
3. มีความรู้เกี่ยวกับการสาวเส้นไหม
 


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. การสาวเส้นไหมแบบพื้นฐาน
2. การใช้วัสดุอุปกรณ์ในการสาวเส้นไหม
3.  การเตรียมและใช้วัสดุอุปกรณ์ในการกรอเส้นไหมเพื่อทำเข็ดไหมอย่างปลอดภัย
4  การกรอเส้นไหมเป็นเข็ดไหม  
5. การบันทึกข้อมูลการปฏิบัติงานให้ครบถ้วนตามแบบฟอร์มที่กำหนด
 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. ความรู้เกี่ยวกับเส้นไหมชนิดต่าง ๆ ที่ได้จากการสาวไหม
2. คุณภาพเส้นไหมตามมาตรฐานสินค้าเกษตร (มกษ.) ที่กำหนด 
3. วิธีการสาวไหมชนิดต่าง ๆ 
4. วิธีการทำเข็ดไหมให้ได้ตามมาตรฐานและใบสั่งซื้อ
 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก)  หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)
 หลักฐานรับรองคุณภาพเส้นไหมตามมาตรฐานที่ได้รับรองจากหน่วยงานราชการ (ถ้ามี)
 หลักฐานรับรองปฏิบัติงานด้านการผลิตเส้นไหม (ถ้ามี)

 (ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)
    ใบประกาศนียบัตรที่ผ่านการอบรมด้านการผลิตเส้นไหม หรือในวิชาที่เกี่ยวข้อง (ถ้ามี)
 (ค) คำแนะนำในการประเมิน
           การพิจารณาเข้าสู่กระบวนการประเมินสมรรถนะให้ใช้หลักฐานการปฏิบัติงานหรือหลักฐานความรู้ตามที่ระบุ
 (ง) วิธีการประเมิน
แฟ้มสะสมผลงาน (เทียบโอนประสบการณ์การทำงานเพื่อการรับรองคุณวุฒิวิชาชีพ RESK : Recognition of Existing Skills and Knowledge)
 


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก)  คำแนะนำ
         การพิจารณาเข้าสู่กระบวนการประเมินสมรรถนะให้ใช้หลักฐานการปฏิบัติงานหรือหลักฐานความรู้ตามที่ระบุ
 (ข)  คำอธิบายรายละเอียด   
    1 .การผลิตเส้นเส้นไหมที่สาวด้วยมือเป็นส่วนใหญ่มีการผลิต 4 ชนิด     ได้แก่ 1) เส้นไหมหนึ่ง 2) เส้นไหมสองหรือเส้นไหมสาวเลย 3) เส้นไหมสาม 4) เส้นไหมแลง  
    2. เส้นไหมไทย คือ เส้นไหมที่ผลิตในประเทศไทยสาวใช้อุปกรณ์พวงสาวไหมแบบพื้นบ้านหรือแบบปรับปรุง โดยใช้แรงคนในการสาว เส้นไหมที่สาวได้มี 4 ชนิด ได้แก่ ไหมหนึ่ง ไหมสอง ไหมสาม และไหมแลง ดังนี้
2.1 ไหมหนึ่ง หมายถึง เส้นไหมไทยสาวมือที่มีลักษณะเส้นเรียบ ขนาดและสีสม่ำเสมอ สะอาดไม่มีสิ่งปลอมปน สาวได้จากเปลือกรังไหมชั้นใน หลังจากได้สาวไหมสามออกหมดแล้ว 
2.2 ไหมสอง หรือไหมสาวเลย หมายถึง เส้นไหมไทยสาวมือที่ไม่เรียบ มีลักษณเส้นไหมขนาดเส้นใหญ่กว่าไหมหนึ่ง ขนาดสม่ำเสมอ มีปุ่มปมได้บ้าง สะอาดไม่มีสิ่งปลอมปน สาวได้จากรังไหมที่ลอกปุยไหมออกแล้ว และสาวต่อเนื่องตั้งแต่เปลือกรังไหมชั้นนอกถึงชั้นในรวมกัน จนสาวเป็นไหมสองต่อไปไม่ได้ 
2.3 ไหมสาม หรือไหมลืบ หมายถึง เส้นไหมไทยสาวมือที่มีลักษณะเส้นไหมใหญ่มาก เนื้อหยาบ ไม่เรียบ มีปุ่มปมขนาดสม่ำเสมอ สีเข้มและสม่ำเสมอ สะอาดไม่มีสิ่งปลอมปน สาวได้จากเปลือกรังไหมชั้นนอก จนกระทั่งเส้นไหมเริ่มเป็นเส้นเรียบ 
2.4 ไหมแลง หมายถึง เส้นไหมไทยสาวมือที่ไม่เรียบ และปุ่มปมมีขนาดสม่ำเสมอ สาวได้จากเปลือกรังไหมที่สาวไหมหนึ่งหรือไหมสองออกไปแล้ว
    3. การสาวไหมพื้นบ้านมีขั้นตอนดังนี้
        3.1 การต้มรังไหม น้ำที่ใช้ต้มรังไหมควรเป็นน้ำสะอาด ไม่ขุ่น มีความเป็นกรด-ด่างปานกลาง การต้มให้ร้อน แต่ไม่เดือด นำรังไหมที่เตรียมไว้ลงต้มในหม้อ แล้วใช้ไม้คืบกดรังไหมให้จมน้ำ ยกไม้คืบเกลี่ยรังไหมขึ้นปมเส้นไหมจะหลุดจากรังไหมติดไม้คืบขึ้นมา
        3.2 การพันเกลียวเส้นไหม เมื่อเส้นไหมติดไม้คืบเกลี่ยรังไหมขึ้นมา ใช้มือรวบเส้นไหมที่ติดกับไม้คืบดึงขึ้นมา แล้วสอดเส้นไหมใส่รูที่อยู่ตรงกลางพวงสาวไหม ดึงขึ้นไปพันกับลูกรอกของพวงสาวไหม 1 รอบ แล้วพันเกลียวเส้นไหม 7-9 รอบ แล้วดึงเส้นไหมผ่านพวงสาวไหมลงภาชนะ และทำการสาวไหม (ดึงเส้นไหม) จนเส้นไหมเปลือกนอกหมด
        3.3 การพักรังไหม เมื่อสาวไหมเปลือกออกหมด ให้หยุดสาวแล้วใช้กระชอน ช้อน หรือทัพพี ตักรังไหมออกจากหม้อต้มครั้งละประมาณ 15-20 รัง ผึ่งไว้บนกระด้ง 
.     4. การสาวเส้นไหมแบบพื้นบ้าน มีวิธีการสืบทอดต่อ ๆ กันมานาน มีอุปกรณ์และเครื่องมือที่ใช้ ดังนี้
- เครื่องสาวไหม  ประกอบด้วยรอกและมูเล่
-  หม้อต้มรังไหม อาจใช้หม้อดิน  หรือหม้ออะลูมิเนียม หรือหม้อเคลือบ   
-  เตาไฟ  สำหรับตั้งหม้อต้มรังไหม
-  ไม้คีบ  สำหรับเกลี่ยรังไหมและเส้นใยไหม
-  กระด้ง  สำหรับใส่รังไหม
    5. การทำเข็ดไหม คือการนำเส้นไหมที่สาวได้มากรอทำเข็ดไหม (ไจไหม) โดยใช้เหล่งมาตรฐานที่มีขนาดเส้นรอบวงอยู่ในช่วง 135 - 155 เซนติเมตร  โดยมีมวลแต่ละเข็ด 80 - 100 กรัม หรือตามความต้องการของคู่ค้า ทำการมัดเงื่อนเส้นไหมให้เรียบร้อย โดยใน 1 เข็ดจะมีเงื่อนปลาย 2 อัน  นำเงื่อนในซึ่งเป็นเงื่อนที่เริ่มการกรอกับเงื่อนนอกซึ่งเป็นเงื่อนที่กรอเส้นไหมเสร็จมาผูกเข้ากับเชือกด้วยด้ายสีขาวที่ใช้ทำไพมัดเงื่อนให้เรียบร้อย   การกรอเส้นไหม จะทำการกรอแบบไดมอนด์ครอส (diamond cross winding) คือการกรอเส้นไหมในลักษณะที่จัดเรียงเส้นไหมให้สานเป็นตาข่าย
    6. การทำไพ หมายถึง การแบ่งส่วนเส้นไหมไทยสาวมือโดยใช้เส้นด้ายแบ่งมัดย่อยในเข็ดไหม เพื่อรักษารูปทรงของเข็ดและไม่ให้เส้นไหมพันกันเมื่อนำไปใช้ การทำไพของเข็ดไหมที่กรอแบบไดมอนด์ครอสควรมีอย่างน้อย 6 จุด แต่ละจุดมีการร้อยเส้นด้ายเพื่อแบ่งเส้นไหมออกจากกันอย่างน้อย 4 ส่วน  เหลือปลายเส้นด้ายที่ใช้ทำไพให้ยาวเกินความกว้างของเข็ดไม่น้อยกว่า 8 ซม.  มัดปลายเส้นด้ายที่ทำไพเป็นเส้นคู่ให้เรียบร้อย เหลือปลายด้ายถัดจากปมที่มัด 1 ซม.  เส้นด้ายทำไพมักใช้ด้ายสังเคราะห์ใยยาว เช่น ไนลอน   พอลิเอสเตอร์สีขาว ขนาด 126 ± 9 ดีเนียร์
7. เข็ดไหม หรือที่เรียกว่า ไจไหม หมายถึง เส้นไหมที่ที่ทำการม้วนเก็บด้วยเหล่งหรืออุปกรณ์อื่น 
มีขนาดรอบวงและน้ำหนักตามมาตรฐาน คือ กรอแบบไดมอนด์ครอส มีขนาดเส้นรอบวงอยู่ในช่วง 135 ซม. ถึง 155 ซม. มีมวลแต่ละเข็ด 80 กรัม ถึง 100 กรัม หรือตามใบสั่งซื้อ
 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

เจ้าหน้าที่สอบพิจารณาหลักฐานของผู้เข้ารับการประเมิน ในกระบวนการประเมินเทียบโอนประสบการณ์การทำงานเพื่อการรับรองคุณวุฒิวิชาชีพ โดยหลักฐานต้องมีความสอดคล้องตามหน่วยสมรรถนะ (Unit of Competence: UoC) สมรรถนะย่อย (Element of Competence: EoC) และเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria: PC)


ยินดีต้อนรับ