หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

เตรียมรังไหมที่จะนำมาสาวเป็นเส้นไหม

สาขาวิชาชีพเกษตรกรรม


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ ARC-YZAL-665A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ เตรียมรังไหมที่จะนำมาสาวเป็นเส้นไหม

3. ทบทวนครั้งที่ N/A

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ISCO - 08     รหัสอาชีพ    7318    ช่างงานหัตถกรรมสิ่งทอ เครื่องหนัง และวัสดุที่เกี่ยวข้อง
ISCO - 08     รหัสอาชีพ    7318    คนกรอเส้นไหม เส้นด้าย
ISCO - 08    รหัสอาชีพ    7318    คนสาวและบิดเกลียวไหมด้วยมือ
 


6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)

มีความสามารถในการเตรียมรังไหมที่จะนำมาสาวเป็นเส้นไหม  ครอบคลุมการจัดทำแผนการเตรียมรังไหม  การคัดแยกรังไหม และการจัดเก็บรักษารังไหมที่รอจะนำมาสาวเป็นเส้นไหมที่มีคุณภาพ   สามารถตัดสินใจแก้ปัญหาเฉพาะหน้าที่เกี่ยวข้องกับการเตรียมรังไหมโดยใช้ความรู้ และหลักการได้ด้วยตนเอง


7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)

อาชีพการเกษตร


9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)

ISCO - 08 หมวดใหญ่ 7 ช่างฝีมือและผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้อง


10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)

1.  มกษ. 8000-2564  มาตรฐานสินค้าเกษตรเรื่องเส้นไหมดิบ: เส้นไหมไทยสาวมือ  สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
2. มกษ. 8001-2553 มาตรฐานสินค้าเกษตรเรื่องรังไหมพันธุ์ไทยสีเหลือง สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
3.  มกษ. 8002-2556   มาตรฐานสินค้าเกษตรเรื่องเส้นไหมดิบ: เส้นไหมสาวด้วยเครื่องจักร   สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
4.  มกษ. 5900-2564 มาตรฐานสินค้าเกษตรเรื่องการปฏิบัติที่ดีสำหรับการผลิตเส้นไหมดิบ:เส้นไหมไทยสาวมือ สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
 


11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria)
B12021

จัดทำแผนการเตรียมรังไหมเพื่อผลิตเส้นไหมตามแผนในแต่ละรุ่น

1. วางแผนพันธุ์และปริมาณรังไหมที่ใช้ในการผลิตเส้นไหมในแต่ละรุ่นได้

2. จัดทำแผนการเตรียมรังไหมเพื่อผลิตเส้นไหมในแต่ละรุ่น

B12022

คัดแยกรังไหมที่เป็นรังดี กับรังบกพร่องออกจากกัน

1. คัดแยกรังดี และรังบกพร่องได้ตามข้อกำหนดมาตรฐานสินค้าเกษตร


2. ระบุลักษณะของรังไหมที่คัดแยกเพื่อนำมาสาวให้ได้เส้นไหมแต่ละชนิด

B12023

มีระบบการจัดเก็บรังไหมสด/แห้งที่ดีเพื่อการสาวได้เส้นไหมคุณภาพ

1. จัดเก็บรังไหมดีที่จะนำไปสาวไหมอย่างมีระเบียบและชัดเจน โดยแยกจากรังไหมเสีย

2. เก็บรักษารังไหมสดเพื่อรอการใช้งานอย่างถูกวิธี 

3.  เก็บรักษารังไหมที่ผ่านการอบเพื่อฆ่าดักแด้ หรืออบจนแห้ง อย่างถูกวิธี เพื่อป้องกันเชื้อรา และป้องกันสัตว์และแมลงศัตรูเข้าทำลายรังไหมได้   

B12024

กำหนดใช้รังไหมพันธุ์เดียวกันต่อการผลิตเส้นไหมในรุ่นเดียวกัน

1.  กำหนดพันธุ์รังไหมที่ใช้ในการสาวไหมแต่ละรุ่นให้ได้คุณลักษณะเดียวกัน โดยต้องเป็นพันธุ์เดียวกัน มีขนาดและสีสม่ำเสมอ

2. คัดพันธุ์รังไหมพันธุ์เดียวกัน ให้ได้คุณลักษณะเดียวกัน โดยต้องมีขนาดและสีสม่ำเสมอ


12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

1. สามารถอ่านออกเขียนได้
2. มีความรู้เกี่ยวกับการเกษตรกรรม
3. มีความรู้เกี่ยวกับรังไหมที่จะนำมาสาวเป็นเส้นไหม
 


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. การวางแผนพันธุ์รังไหมที่นำมาใช้ผลิตเส้นไหมแต่ละรุ่น
2. คัดแยกรังไหมที่จะนำมาสาวเป็นเส้นไหม
2. การจัดเก็บรังไหมที่จะนำมาสาวเป็นเส้นไหม
3, ทักษะการใช้วัสดุอุปกรณ์ที่นำสาวเป็นเส้นไหม
4. การทำงานร่วมกับผู้อื่นและการสื่อสารกับผู้ร่วมงานให้เข้าใจได้ดี
5. การบันทึกข้อมูลการปฏิบัติงานให้ครบถ้วนตามแบบฟอร์มที่กำหนด
 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. ความรู้เรื่องลักษณะรังไหมดี รังไหมเสีย/รังบกพร่อง
2, ความรู้เรื่องวิธีการคัดแยกรังไหมดี รังไหมเสีย/รังบกพร่อง
3. ความรู้เรื่องวิธีการเก็บรักษารังไหมให้คงคุณภาพ 
 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก)  หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)
     หลักฐานรับรองปฏิบัติงานด้านการผลิตเส้นไหม (ถ้ามี)
 (ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)
    ใบประกาศนียบัตรที่ผ่านการอบรมด้านการผลิตเส้นไหม หรือในวิชาที่เกี่ยวข้อง (ถ้ามี)
 (ค) คำแนะนำในการประเมิน
           การพิจารณาเข้าสู่กระบวนการประเมินสมรรถนะให้ใช้หลักฐานการปฏิบัติงานหรือหลักฐานความรู้ตามที่ระบุ
 (ง) วิธีการประเมิน
แฟ้มสะสมผลงาน (เทียบโอนประสบการณ์การทำงานเพื่อการรับรองคุณวุฒิวิชาชีพ RESK : Recognition of Existing Skills and Knowledge)
 


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก)    คำแนะนำ
         การพิจารณาเข้าสู่กระบวนการประเมินสมรรถนะให้ใช้หลักฐานการปฏิบัติงานหรือหลักฐานความรู้ตามที่ระบุ 
 (ข)    คำอธิบายรายละเอียด
        1. กำหนดแผนการรับรังไหมเพื่อการผลิตเส้นไหมอย่างต่อเนื่องตามแผนการผลิตเส้นไหมที่ได้จัดทำขึ้น เพื่องานผลิตเส้นไหมอย่างชัดเจน ทั้งวันและปริมาณรังไหม
         2. การคัดแยกรังดี รังพกพร่อง เพื่อการใช้ผลิตเส้นไหมตามชนิดที่กำหนดแผนการผลิตและเป็ไปตามมาตรฐานคุณภาพที่กำหนด ดังนี้       
2.1    รังดี  เป็นรังไหมสด มีลักษณะทางกายภาพตรงตามพันธุ์ ดักแด้ไม่ตาย ผนังลำตัวดักแด้มีสีเหลืองน้ำตาล เปลือกรังไหมต้องสะอาด ไม่เปื้อนและไม่ด้าน และปราศจากสิ่งแปลกปลอมที่มองเห็นได้ เช่น เศษใบหม่อน มูลไหม  เส้นใยไหมเกาะรวมตัวกัน และมีเปอร์เซ็นต์รังไหมเสีย และเปอร์เซ็นต์เปลือกรังตามมาตรฐานสินค้าเกษตรกำหนด (มกษ. 8001-2553) 
2.2    รังบกพร่อง มีลักษณะดังนี้
    (1) รังแฝด คือ รังไหมที่เกิดจากไหมตั้งแต่ ๒ ตัว ขึ้นไปทำรังร่วมกัน ซึ่งเมื่อนำมาสาวจะทำให้เส้นไหมขาดบ่อย และสาวยาก เพราะเส้นไหมพันกัน  เส้นไหมไม่เรียบ และประสิทธิภาพการสาวไหมลดลง การเกิดรังแฝด อาจเกิดจากหลายสาเหตุด้วยกัน เช่น ลักษณะของพันธุ์ไหม จำนวนไหมต่อจ่อมากเกินไป ลักษณะจ่อไม่ถูกต้องหรือไม่เหมาะสมกับหนอนไหม
    (2) รังเจาะ คือ รังไหมที่ถูกหนอนแมลงวันก้นขนหรือผีเสื้อไหมเจาะรังไหมออกมา หรือจากมดหรือสัตว์อื่นกัด ทำให้รังไหมที่ถูกเจาะเกิดเป็นรู เมื่อนำไปสาวเป็นเส้นไหมเท่ากับไปตัดเส้นไหม ทำให้เส้นไหมขาด และประสิทธิภาพในการสาวไหมต่ำ
(3) รังเปื้อนภายใน คือ รังไหมที่เกิดจากดักแด้ตายภายในรัง หรือไหมเป็นโรคแต่สามารถทำรังได้ เมื่อทำรังเสร็จก็ตายอยู่ภายในรัง ทำให้รังไหมสกปรก เมื่อนำมาสาวจะได้เส้นไหมมีสีดำ ไม่มีคุณภาพ
(4) รังเปื้อนภายนอกคือ รังไหมที่เปื้อนสิ่งขับถ่ายของไหมตัวอื่นที่ปล่อยก่อนทำรัง หรือการแตกของไหมที่เป็นโรคที่เก็บเข้าจ่อ ทำให้เปื้อนรังดีที่อยู่ในจ่อเดียวกัน เมื่อนำไปสาวทำให้ดึงเส้นไหมได้ยาก
(5) รังบาง คือ รังไหมที่ได้จากไหมที่ไม่แข็งแรง หรือไหมเป็นโรคแล้วเจริญเติบโตเป็นไหมสุกเข้าทำรัง จึงพ่นเส้นใยได้น้อย ทำให้รังไหมบางผิดปกติ หรือเกิดจากการเก็บไหมเข้าจ่อช้าเกินไป จึงพ่นเส้นใยตามขอบกระด้งหรือมุมของโต๊ะเลี้ยงไหม
(6) รังหลวม คือ รังไหมที่เกิดจากการทำรังของไหมในสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม เช่น อุณหภูมิขึ้นๆ ลงๆ ส่งผลให้การพ่นใยไม่สม่ำเสมอ รังไหมแยกเป็นชั้น ๆ หากนำไปสาวเส้นไหมจะขาดบ่อย 
(7) รังหัวท้ายบาง คือ รังไหมที่มีลักษณะตามสายพันธุ์ไหมที่ไม่เหมาะสม หรือเกิดจากอุณหภูมิสูงในช่วงกกไข่ บางครั้งเกิดจากอุณหภูมิต่ำระหว่างที่ไหมทำรัง รังไหมชนิดนี้จะมีส่วนหัวแหลมผิดปกติ เมื่อนำไปต้มบริเวณส่วนแหลมจะเละก่อน และถ้านำมาสาวเส้นใยไหมจะสาวยาก ทำให้บริเวณส่วนแหลมขาด
(8) รังผิดรูปร่าง คือ รังไหมที่เกิดจากการทำรังของไหมในจ่อที่ไม่เหมาะสม หรือลักษณะจ่อไม่ถูกสุขลักษณะ หรือเกิดจากไหมที่ไม่แข็งแรงทำรังได้ไม่สมบูรณ์ ลักษณะรังไหมชนิดนี้จะบิดเบี้ยว ไม่สมบูรณ์ และไม่มีความสม่ำเสมอ เมื่อนำไปต้มรวมกับรังไหมดีมักจะเละก่อน หรือบางทีก็แข็ง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับรูปร่างของรังนั้น ๆ ว่าผิดปกติลักษณะใด
(9) รังติดข้างจ่อ หรือรังด้าน คือ รังไหมที่เกิดจากการทำรังของไหมติดข้างจ่อ หรือติดกับกระดาษรองจ่อ หรืออาจเกิดจากการใช้จ่อไม่เหมาะสม ลักษณะรังจะแบนผิดปกติและหนาเป็นบางส่วน ซึ่งเกิดจากการจับหนอนไหมเข้าจ่อแน่นเกินไป ทำให้ไหมมีพื้นที่ทำรังไม่เพียงพอ
(10) รังบุบ คือ รังไหมที่เกิดจากการซ้อนทับกัน บรรจุแน่นเกินไป หรือเกิดจากการจัดการขนส่งไม่ระมัดระวังจนกระทบกระแทกกัน หรือจัดเก็บที่ไม่เหมาะสม จนทำให้รังไหมยุบตัว
(11) รังขึ้นรา คือ รังไหมที่เกิดจากการอบแห้งไม่สมบูรณ์ หรือเก็บรักษาในที่ระบายอากาศไม่เหมาะสม ทำให้เกิดความชื้นในภาชนะเก็บรังไหม จึงมีราเกิดขึ้นที่เปลือกรังไหมหรือดักแด้
    3. การเก็บรักษารังไหมเพื่อรอนำมาสาวเป็นเส้นไหม ควรดำเนินการดังนี้
            (1) กรณีเก็บรังไหมสด ให้เก็บในตู้ควบคุมอุณหภูมิระหว่าง 5 ถึง 8 °C เพื่อชะลอการเจาะรังไหมของผีเสื้อ
            (2) กรณีเก็บรังไหมที่ผ่านการอบเพื่อฆ่าดักแด้ หรืออบจนแห้ง ให้เก็บรักษารังไหมในสภาพความชื้นสัมพัทธ์ต่ำกว่า 70% เพื่อป้องกันเชื้อรา และป้องกันสัตว์และแมลงศัตรูเข้าทำลายรังไหมได้
    4. จัดการรังไหมที่รับซื้อตามแผนการผลิตให้เป็นสัดส่วนแต่พันธุ์ไหมอย่างชัดเจน เพื่อการผลิตเส้นไหมที่ดีและเหมาะสม มีคุณภาพตามมาตรฐานที่กำหนด และเป็นที่ตลาดต้องหรือตามใบสั่งซื้อ 
 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

เจ้าหน้าที่สอบพิจารณาหลักฐานของผู้เข้ารับการประเมิน ในกระบวนการประเมินเทียบโอนประสบการณ์การทำงานเพื่อการรับรองคุณวุฒิวิชาชีพ โดยหลักฐานต้องมีความสอดคล้องตามหน่วยสมรรถนะ (Unit of Competence: UoC) สมรรถนะย่อย (Element of Competence: EoC) และเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria: PC)


ยินดีต้อนรับ