หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

จัดตั้งเป็นผู้ผลิตเส้นไหม

สาขาวิชาชีพเกษตรกรรม


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ ARC-XUXC-664A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ จัดตั้งเป็นผู้ผลิตเส้นไหม

3. ทบทวนครั้งที่ N/A

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ISCO - 08     รหัสอาชีพ    7318    ช่างงานหัตถกรรมสิ่งทอ เครื่องหนัง และวัสดุที่เกี่ยวข้อง
ISCO - 08     รหัสอาชีพ    7318    คนกรอเส้นไหม เส้นด้าย
ISCO - 08    รหัสอาชีพ    7318    คนสาวและบิดเกลียวไหมด้วยมือ
 


6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)

มีความรู้และทักษะในการวางแผนและกำหนดแผนการผลิตเส้นไหมต่อปี โดยเตรียมพื้นที่ปฏิบัติงาน วัสดุ เครื่องมืออุปกรณ์ให้พร้อมในการแปรรูปรังไหมให้เป็นเส้นไหมตามแผนที่กำหนด  ควบคุมกระบวนการปฏิบัติงาน สามารถตัดสินใจแก้ปัญหาเฉพาะหน้าในการผลิตเส้นไหมได้ด้วยตนเอง โดยใช้ความรู้ทางหลักการที่เกี่ยวข้อง 


7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)

อาชีพการเกษตร


9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)

ISCO - 08 หมวดใหญ่ 7 ช่างฝีมือและผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้อง


10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)

1.  มกษ. 8000-2564 มาตรฐานสินค้าเกษตรเรื่องเส้นไหมดิบ: เส้นไหมไทยสาวมือ สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
2.  มกษ. 8002-2556 เส้นไหมดิบ: เส้นไหมสาวด้วยเครื่องจักร สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
3.  มกษ. 5900-2564 การปฏิบัติที่ดีสำหรับการผลิตเส้นไหมดิบ:เส้นไหมไทยสาวมือ สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
 


11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria)
B12011

กำหนดแผนการผลิตเส้นไหมต่อปี

1. วางแผนการผลิตเส้นไหมประเภทต่างๆ ให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดและศักยภาพของกลุ่ม

2. จัดทำแผนการผลิตเส้นไหมต่อปี

B12012

จัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์การผลิตเส้นไหมตามแผนที่กำหนด

1. เตรียมวัสดุ เครื่องมือ อุปกรณ์ในการแปรรูปรังไหมให้เป็นเส้นไหมให้ครบถ้วนและสอดคล้องกับแผนการผลิตเส้นไหม

2.  ตรวจสอบสภาพการใช้งานของเครื่องมืออุปกรณ์ในการแปรรูปรังไหมให้เป็นเส้นไหมให้สะอาดและใช้ได้ตามวัตถุประสงค์

3. มีระบบการบำรุงรักษา ทำความสะอาดและจัดเก็บเครื่องมืออุปกรณ์ในการแปรรูปรังไหมให้เป็นเส้นไหมอย่างถูกต้องและเหมาะสม  


12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

1. สามารถอ่านออกเขียนได้
2. มีความรู้เกี่ยวกับการเกษตรกรรม
3. มีความรู้เกี่ยวกับการแปรรูปรังไหมเป็นเส้นไหม
 


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. การวางแผนการผลิตเส้นไหมประเภทต่าง ๆ  ให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาด 
2. การเตรียมและใช้วัสดุ เครื่องมือ อุปกรณ์ในการแปรรูปรังไหมเพื่อผลิตเส้นไหม
3. การทำงานร่วมกับผู้อื่นและสื่อสารกับผู้ร่วมงานให้เข้าใจได้ดี  
4. ทักษะการบันทึกข้อมูลการปฏิบัติงานให้ครบถ้วนตามแบบฟอร์มที่กำหนด
 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. ประเภทเส้นไหมและขั้นตอนการผลิตเส้นไหมเพื่อนำมาใช้วางแผนการผลิตเส้นไหม
2. การเตรียมสถานที่และวัสดุ อุปกรณ์ที่จำเป็นในการผลิตเส้นไหม
 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)
       หลักฐานรับรองปฏิบัติงานด้านการผลิตเส้นไหม (ถ้ามี)
 (ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)
    ใบประกาศนียบัตรที่ผ่านการอบรมด้านการผลิตเส้นไหม หรือในวิชาที่เกี่ยงข้อง (ถ้ามี)
 (ค) คำแนะนำในการประเมิน
           การพิจารณาเข้าสู่กระบวนการประเมินสมรรถนะให้ใช้หลักฐานการปฏิบัติงานหรือหลักฐานความรู้ตามที่ระบุ
 (ง) วิธีการประเมิน
แฟ้มสะสมผลงาน (เทียบโอนประสบการณ์การทำงานเพื่อการรับรองคุณวุฒิวิชาชีพ RESK : Recognition of Existing Skills and Knowledge)
 


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก)    คำแนะนำ
         การพิจารณาเข้าสู่กระบวนการประเมินสมรรถนะให้ใช้หลักฐานการปฏิบัติงานหรือหลักฐานความรู้ตามที่ระบุ
 (ข)    คำอธิบายรายละเอียด  
      1.  จัดทำแผนการผลิตเส้นไหม ภายใต้ปริมาณรังไหมที่มีแผนการรับเข้าเป็นวัตถุดิบในการผลิตตามที่กำหนดอย่างชัดเจน พร้อมกับแหล่งตลาดในการจำหน่ายเส้นไหม
         2. วัสดุ เครื่องมือ และอุปกรณ์ในการผลิตเส้นไหมมีสภาพที่สมบูรณ์พร้อมใช้งานได้ ดังนี้
        1)  ชุดอุปกรณ์สาวไหมแบบพื้นบ้านหรือแบบปรับปรุง หรือที่มีเครื่องทุ่นแรงช่วยในการสาวเส้นไหม จะใช้หม้อต้มสาวไหม   พวงสาวไหมแบบพื้นบ้านหรือแบบปรับปรุง ไม้คืบ (ใช้สำหรับกดรังไว้) กรรไกร เตา อุปกรณ์เก็บเส้นไหม เช่น อัก เหล่ง หรือภาชนะรองรับเส้นไหม เป็นต้น
        2)  ชุดเครื่องสาวไหมขนาดเล็ก  จะใช้เครื่องสาวไหมขนาดเล็กไม่เกิน 5 แรงม้า หม้อต้มรังไหม เทอร์โมมิเตอร์ อ่างสาวไหม  และอัก 
        3) เหล่งกรอเส้นไหมเพื่อทำเข็ดไหม พร้อมอุปกรณ์สำหรับทำไพ
 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

เจ้าหน้าที่สอบพิจารณาหลักฐานของผู้เข้ารับการประเมิน ในกระบวนการประเมินเทียบโอนประสบการณ์การทำงานเพื่อการรับรองคุณวุฒิวิชาชีพ โดยหลักฐานต้องมีความสอดคล้องตามหน่วยสมรรถนะ (Unit of Competence: UoC) สมรรถนะย่อย (Element of Competence: EoC) และเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria: PC)


ยินดีต้อนรับ