หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ปฏิบัติงานเลี้ยงไหม

สาขาวิชาชีพเกษตรกรรม


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ ARC-QORD-654A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ปฏิบัติงานเลี้ยงไหม

3. ทบทวนครั้งที่ N/A

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ISCO 2008     รหัสอาชีพ    6123    เกษตรกรปลูกหม่อนเลี้ยงไหม
ISCO 2008    รหัสอาชีพ     6123    เกษตรกรเลี้ยงไหม
ISCO 2008    รหัสอาชีพ     6123    คนเลี้ยงไหม
ISCO 2008    รหัสอาชีพ     6123    เจ้าของฟาร์มเลี้ยงไหม
ISCO 2008    รหัสอาชีพ    9212    คนงานฟาร์มเลี้ยงไหม
 


6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)

มีความรู้และทักษะในการเตรียมพื้นที่เลี้ยงไหม จัดการไข่ไหม/ไหมวัยอ่อน จัดการเลี้ยงไหมแต่ละวัยการเก็บไหมสุกเข้าจ่อทำรัง ตามวิธีการปฏิบัติงานที่กำหนดไว้ โดยประยุกต์ใช้ความรู้และหลักการที่เกี่ยวข้องได้   เลือกใช้วัสดุอุปกรณ์และเครื่องมือในการปฏิบัติงานเลี้ยงไหมได้ถูกต้องและปลอดภัย สามารถจัดการและปรับวิธีทำงานตามคู่มือการปฏิบัติงาน และตัดสินใจแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นได้ด้วยตนเอง


7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)

อาชีพการเกษตร


9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)

ISCO – 08 หมวดใหญ่ 6 ผู้ปฏิบัติงานที่มีฝีมือด้านการเกษตร ป่าไม้ และประมง
ISCO – 08 หมวดใหญ่ 9 ผู้ประกอบอาชีพงานพื้นฐาน
 


10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)

1.  มกษ. 8001–2553 มาตรฐานสินค้าเกษตร เรื่องรังไหมพันธุ์ไทยสีเหลือง สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ  กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
2.  มกษ. 8201-2565  มาตรฐานสินค้าเกษตร เรื่องการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับฟาร์มไหมชนิดกินใบหม่อน  สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ  กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
 


11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria)
A11041

เตรียมพื้นที่เลี้ยงไหมให้ถูกสุขลักษณะทั้งก่อนและหลังการเลี้ยงไหม

1. อธิบายวิธีการกำจัดเชื้อจุลินทรีย์ที่อาจติดอยู่กับวัสดุอุปกรณ์ หรือติดมากับบุคคลที่เข้ามาในสถานที่เลี้ยงไหมได้ถูกต้อง

2  รักษาความสะอาดและกำจัดเชื้อจุลินทรีย์ทั้งในบริเวณและรอบบริเวณสถานที่เลี้ยงไหมได้อย่างถูกวิธีตามมาตรการที่กำหนด

3  รักษาความสะอาดและกำจัดเชื้อ จุลินทรีย์ที่อยู่กับพาหนะขนส่งไข่ไหม หนอนไหม และรังไหม ได้อย่างถูกวิธีตามมาตรการที่กำหนด

4 กำจัดขยะหลังการเลี้ยงไหมแต่ละรุ่น เช่น มูลของไหม กิ่งหม่อน และใบหม่อน ทั้งในบริเวณและรอบบริเวณที่เลี้ยงไหม เพื่อป้องกันการระบาดของโรคได้อย่างถูกวิธีตามมาตรการที่กำหนด

A11042

จัดการไข่ไหม/ไหมวัยอ่อน ก่อนการเริ่มเลี้ยงไหม

1. สามารถจัดการไข่ไหม/ไหมวัยอ่อน โดยควบคุมอุณหภูมิและความชื้นสัมพัทธ์ที่เหมาะสมต่อการฟักไข่ไหม 

2. อธิบายการจัดการด้านแสงสว่างที่เหมาะสมเพื่อให้ตัวอ่อนในไข่ไหมแข็งแรง และไข่ไหมฟักออกพร้อมกันได้ตามกำหนด

A11043

จัดการเลี้ยงไหมแต่ละวัย (วัยอ่อนและวัยแก่)

1. ใช้วัสดุที่สะอาดรองรับภายในภาชนะที่พร้อมใช้เลี้ยงไหมวัยอ่อนได้

2. อธิบายวิธีการป้องกัน และกำจัดเชื้อจุลินทรีย์ในสถานที่เลี้ยงไหมและวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับเลี้ยงไหมได้

3. อธิบายวิธีการคัดเลือกใบหม่อนที่นำมาใช้เลี้ยงไหมวัยอ่อน ให้มีรูปทรงขนาดและความอ่อนแก่ให้เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของหนอนไหมแต่ละวัย

4. อธิบายวิธีการและเลือกใช้อุปกรณ์ในการย้ายไหมจากแผ่นไข่ไหมได้อย่างถูกวิธี

5. ควบคุมอุณหภูมิ และความชื้นสัมพัทธ์ในบริเวณที่วางกระด้งหรือชั้นหรือพื้นที่เลี้ยงไหมให้เหมาะสมกับหนอนไหมแต่ละวัย  และไม่ส่งผลต่อการเจริญเติบโตของไหมได้

A11044

จัดเก็บไหมสุกเข้าจ่อทำรัง

1. อธิบายลักษณะไหมสุกได้ถูกต้อง

2. คัดเลือกไหมสุกที่จะนำไปเข้าจ่อได้อย่างถูกต้อง

3. เก็บแยกไหมตาย ไหมอ่อนแอที่ไม่ทำรัง เพื่อนำไปกำจัดอย่างถูกวิธี

A11045

จดบันทึกข้อมูลการเลี้ยงไหม

1. บันทึกข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการเลี้ยงไหมในแต่ะละรุ่น ดังนี้

- อุณหภูมิ และความชื้นสัมพัทธ์ของสถานที่เลี้ยงหนอนไหมทุกวัน

- วัน เดือน ปี ที่เริ่มกกไข่ไหม (กรณีที่เกษตรกรดำเนินการเอง)

- วัน เดือน ปี ของวันแรกฟัก

- วัน เดือน ปี ที่รับหนอนไหมมาเลี้ยง และวัยของหนอนไหม (กรณีรับหนอนไหมวัยอ่อนมาเลี้ยง)

- วัน เดือน ปี ที่หนอนไหมเข้าจ่อทำรัง

- วัน เดือน ปี ที่เก็บเกี่ยวรังไหมสด


2. รวบรวมเอกสารหลักฐานที่จำเป็น ได้แก่

- แหล่งที่ผลิตไข่ไหม

- การตรวจและรับรองว่าไข่ไหมปลอดโรคเพบริน


3. ต้องเก็บรักษาบันทึกข้อมูลและเอกสารหลักฐานไม่น้อยกว่าอายุของใบรับรอง”


12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

1. สามารถอ่านออกเขียนได้
2. มีความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการเกษตรกรรม
3. มีความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับวิธีการเลี้ยงไหม
 


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. การฟักไข่ไหม การเลี้ยงไหมวัยอ่อนและวัยแก่ การเก็บไหมสุกเข้าทำรัง การเก็บเกี่ยวรังไหม
2. การใช้วัสดุอุปกรณ์ และสารเคมี ในการเลี้ยงไหม และ ป้องกันกำจัดโรคแมลงศัตรูไหม
3. การดูแลรักษาสุขลักษณะและความสะอาดบริเวณสถานที่เลี้ยงไหม ก่อนและหลังการเลี้ยงไหม
4. การทำงานร่วมกับผู้อื่นและสื่อสารระดับพื้นฐาน
5. การบันทึกข้อมูลการปฏิบัติงานให้ครบถ้วนตามแบบฟอร์มที่กำหนด
 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1.  การจัดการสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการฟักไข่ไหม
2.  ลักษณะสำคัญของไหมแต่ละวัย และไหมสุก   
3.  วิธีการเลี้ยงไหมวัยอ่อนและไหมวัยแก่ และวิธีการจัดการไหมสุก
4.  ลักษณะสถานที่เลี้ยงไหม และวิธีการดูแลรักษาสุขลักษณะชองสถานที่เลี้ยงไหม
 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก)  หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)
   หลักฐานรับรองปฏิบัติงานด้านการปลูกหม่อนเลี้ยงไหม (ถ้ามี)
 (ข)  หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)
    ใบประกาศนียบัตรที่ผ่านการอบรมด้านการปลูกหม่อนเลี้ยงไหม หรือในวิชาที่เกี่ยวข้อง (ถ้ามี)
 (ค) คำแนะนำในการประเมิน
            การพิจารณาเข้าสู่กระบวนการประเมินสมรรถนะให้ใช้หลักฐานการปฏิบัติงานหรือหลักฐานความรู้ตามที่ระบุ
 (ง) วิธีการประเมิน
 แฟ้มสะสมผลงาน (เทียบโอนประสบการณ์การทำงานเพื่อการรับรองคุณวุฒิวิชาชีพ RESK : Recognition of Existing Skills and Knowledge)
 


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก)  คำแนะนำ
           การพิจารณาเข้าสู่กระบวนการประเมินสมรรถนะให้ใช้หลักฐานการปฏิบัติงานหรือหลักฐานความรู้ตามที่ระบุ 
 (ข)    คำอธิบายรายละเอียด   
1. พื้นที่เลี้ยงไหม ต้องมีพื้นที่เพียงพอรองรับหนอนไหมที่เลี้ยง  และต้องสะอาด ไม่เป็นแหล่งสะสมเชื้อโรคที่มีผลกระทบต่อความแข็งแรงของหนอนไหม  อากาศถ่ายเทสะดวก มีการระบายอากาศในฤดูร้อนและป้องกันลมและฝนในฤดูฝน สถานที่ตั้งควรอยู่ในพื้นที่ร่มเงา มีแสงสว่างส่องกระจายทั่วบริเวณสถานที่เลี้ยงเพื่อให้หนอนไหมเจริญเติบโตสม่ำเสมอ แต่ต้องป้องกันไม่ให้แสงแดดส่องโดนตัวหนอนไหมโดยตรง  สภาพแวดล้อมด้านนอกต้องไม่มีมลภาวะ ฝุ่น ควันไฟ   และต้องมีมาตรการป้องกันพาหะนำโรค และป้องกันสัตว์ที่เป็นศัตรูของหนอนไหมและรังไหม
2. ไข่ไหมที่จะนำฟักเป็นหนอนไหม ต้องมาจากแหล่งที่แม่ผีเสื้อผ่านการตรวจและรับรองการปลอดโรค  และยืนยันเปอร์เซ็นต์การฟักออกไม่ต่ำกว่า 90% และทราบข้อมูลวัน เดือน ปี ที่ผลิตไข่ไหม  ไข่ไหมสำหรับการผลิตเส้นไหม มี 2 แบบ คือ ไข่ไหมจากกรมหม่อนไหม และไข่ไหมที่เกษตรกรต่อพันธุ์เอง ซึ่งเป็นพันธุ์พื้นเมือง ควรสลับแหล่งพ่อแม่พันธุ์เพื่อให้ได้พันธุ์ที่แข็งแรง  ในกรณีที่เกษตรกรดำเนินการฟักไข่ไหมเอง ควรมีการควบคุมอุณหภูมิที่ประมาณ 25 oC ความชื้นสัมพัทธ์ที่ประมาณ  80% - 85% และมีการจัดการด้านแสงสว่าง เพื่อให้ตัวอ่อนในไข่ไหมแข็งแรง และไข่ไหมฟักออกพร้อมกันได้ตามกำหนด
3. หนอนไหม มี 5 วัย โดยหนอนไหมวัยอ่อน คือ  หนอนไหมนับตั้งแต่แรกฟักออกจากไข่ เป็นหนอนหนอนไหมวัย 1 วัย 2 และวัย 3  ส่วนหนอนไหมวัยแก่ คือ หนอนไหมวัย 4  ถึงวัย 5  โดยเกษตรกรต้องเลือกเก็บใบหม่อนที่ใช้เลี้ยงให้เหมาะสมกับวัยของหนอนไหม ดังนี้
หนอนไหมวัย 1 ใช้ใบหม่อนใต้ยอดลงมาใบที่ 1 ถึง ใบที่ 3
หนอนไหมวัย 2 ใช้ใบหม่อนใต้ยอดลงมาใบที่ 1 ถึง ใบที่ 6
หนอนไหมวัย 3 ใช้ใบหม่อนใต้ยอดลงมาใบที่ 1 ถึง ใบที่ 10
หนอนไหมวัย 4 ถึง วัย 5 ใช้ใบหม่อนได้ตลอดทั้งกิ่ง ยกเว้นใบยอด
การเก็บใบหม่อนที่จะนำไปเลี้ยงหนอนไหมวัยอ่อน (วัย 1 ถึง วัย 3) ควรเก็บในช่วงเช้า เพราะในช่วงเวลาดังกล่าว  ใบหม่อนมีน้ำและโปรตีนเป็นองค์ประกอบสูง เหมาะสำหรับหนอนไหมวัยอ่อนที่มีอัตราการเจริญเติบโตสูง  ส่วนใบหม่อนที่จะนำไปเลี้ยงหนอนไหมวัยแก่ (วัย 4 ถึง วัย 5) ควรเก็บในช่วงบ่าย เป็นช่วงเวลาที่ใบหม่อนจะมีน้ำเป็นองค์ประกอบน้อย แต่คาร์โบไฮเดรตสูง เหมาะสำหรับหนอนไหมวัยแก่นำไปสร้างต่อมไหม (silk gland) ได้ดี     
4. ไหมสุก คือ หนอนไหมวัย 5 ซึ่งเจริญเติบโตเต็มวัย หยุดกินใบหม่อนเพื่อพร้อมสร้างรังไหม  ซึ่งการทำรังไหมคือการคายเส้นใยเพื่อห่อหุ้มตัวไหม  จากนั้นนำรังไปขาย หรือนำไปแปรรูปเป็นเส้นไหม
5. รังไหม คือ สิ่งห่อหุ้มหนอนไหมที่สร้างขึ้นโดยหนอนไหมพ่นเส้นใยเพื่อห่อหุ้มตัวเอง ก่อนลอกคราบบกลายเป็นดักแด้  ซึ่งรังไหมสดจะมีส่วนของดักแด้ที่มีชีวิต เปลือกรัง และคราบของหนอนไหมอยู่ภายใน ซึ่งรวมทั้งรังที่ยังไม่ลอกปุยไหมและลอกปุยไหมแล้ว
6. ข้อมูลที่ต้องทราบและบันทึกในการเลี้ยงไหม ประกอบด้วยพันธุ์ไหมที่เลี้ยง สถานที่เลี้ยงไหม และการควบคุมอุณหภูมิและความชื้นสัมพัทธ์  วันเดือนปีและระยะเวลาเลี้ยง วิธีการเลี้ยงที่เหมาะสมในแต่ละพันธุ์
 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

เจ้าหน้าที่สอบพิจารณาหลักฐานของผู้เข้ารับการประเมิน ในกระบวนการประเมินเทียบโอนประสบการณ์การทำงานเพื่อการรับรองคุณวุฒิวิชาชีพ โดยหลักฐานต้องมีความสอดคล้องตามหน่วยสมรรถนะ (Unit of Competence: UoC) สมรรถนะย่อย (Element of Competence: EoC) และเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria: PC)


ยินดีต้อนรับ