หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ส่งเสริมพัฒนาการด้านร่างกายของเด็ก

สาขาวิชาชีพบริการสุขภาพ


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ HLT-JBBZ-570A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ส่งเสริมพัฒนาการด้านร่างกายของเด็ก

3. ทบทวนครั้งที่ 2 / 2566

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

5311 ผู้ปฏิบัติงานดูแลเด็ก


6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)

ผู้มีความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการส่งเสริมพัฒนาการเด็กในด้านการเคลื่อนไหว การทรงตัว การรับรู้ และประสาทสัมผัสของเด็ก


7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)

ผู้ดูแลเด็ก


9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria)
10201.01 ส่งเสริมการเคลื่อนไหวของเด็ก

1. ส่งเสริมพัฒนาการการเคลื่อนไหวของเด็กให้เหมาะสมกับช่วงวัย

2. ประเมินพัฒนาการเบื้องต้นการเคลื่อนไหวของเด็ก ตามช่วงวัย

10201.02 ส่งเสริมการรับรู้และประสาทสัมผัสของเด็ก

1. ส่งเสริมประสาทสัมผัสทั้ง 5ของเด็กให้เหมาะสมกับช่วงวัย

2. ประเมินประสาทสัมผัสทั้ง 5 ของเด็กเบื้องต้น ตามช่วงวัย


12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. มีทักษะในการสังเกตพัฒนาการเบื้องต้นและการจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมพัฒนาการการเคลื่อนไหวและการทรงตัวของเด็ก
2. มีทักษะในการสังเกตพัฒนาการเบื้องต้นและการจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมพัฒนาการการรับรู้และประสาทสัมผัสของเด็ก
 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. ความรู้เกี่ยวกับพัฒนาการเด็กในด้านการเคลื่อนไหว การทรงตัว การรับรู้ และประสาทสัมผัส


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมินและควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)
    (ก)    หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)
        1. เอกสาร/หลักฐานรับรองการทำงาน
        2. เอกสาร/หลักฐานการอบรมเชิงปฏิบัติการ
        3. แฟ้มสะสมผลงาน และ/หรือ    
        4. เอกสาร/หลักฐานที่เกี่ยวข้อง
    (ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)
        1. ผลการสังเกตการณ์ปฏิบัติงานจริง
        2. ผลการทดสอบความรู้
        3. แฟ้มสะสมผลงาน (portfolio) และ/หรือ
        4. เอกสาร/หลักฐานที่เกี่ยวข้อง
    (ค) คำแนะนำในการประเมิน
        ผู้เข้ารับการประเมินต้องผ่านการประเมินที่ครอบคลุมในทุกสมรรถนะย่อยขอบเขตความรู้และทักษะที่กำหนดในกรณีที่ผู้รับการประเมินผ่านไม่ครบตามเกณฑ์กำหนดผู้ประเมินต้องแจ้งหน่วยสมรรถนะและสมรรถนะย่อยที่ไม่ผ่านให้ผู้รับการประเมินไปทบทวนสมรรถนะที่ยังไม่ผ่านและสามารถกลับมาทดสอบสมรรถนะใหม่อีกครั้ง
    (ง) วิธีการประเมิน
        1. ผู้ประเมินทำการประเมินการปฏิบัติงานจริงที่ต้องการของผู้เข้าทดสอบโดยใช้แบบบันทึกรายการจากการสังเกตและเอกสารหลักฐานที่จำเป็นในการปฏิบัติงานต่างๆ
        2. ผู้ประเมินทำการประเมินความรู้ผู้เข้าทดสอบโดยใช้แบบสัมภาษณ์และ/หรือแบบทดสอบความรู้แฟ้มสะสมผลงานและ/หรือเอกสาร/หลักฐานที่เกี่ยวข้อง


15. ขอบเขต (Range Statement)

    ขอบเขตอธิบายถึงขอบเขตของการปฏิบัติงานและสภาพแวดล้อมอื่นๆหรือสถานการณ์อื่นๆที่มีผลกระทบต่อการทำงานรวมถึงเครื่องมืออุปกรณ์เทคโนโลยีทรัพยากรที่ใช้หรือข้อกำหนดอื่นๆที่เกี่ยวข้อง
    (ก) คำแนะนำ
        ไม่มี
    (ข) คำอธิบายรายละเอียด
        1. การเคลื่อนไหว หมายถึง การเคลื่อนไหวประกอบด้วย การเคลื่อนไหวโดยใช้กล้ามเนื้อมัดใหญ่ และกล้ามเนื้อมัดเล็ก การเคลื่อนไหวโดยใช้กล้ามเนื้อมัดใหญ่มีความสำคัญอย่างยิ่ง ต่อการพัฒนาการเจริญเติบโตของเด็ก เนื่องจากเป็นพื้นฐานของการพัฒนาทักษะด้านอื่นๆ และยังพัฒนาเป็นรูปแบบขั้นตอนต่อเนื่อง ได้แก่ การชันคอ กลิ้งตัว นั่ง คืบ คลาน ยืน เดิน จับ หยิบ ขีด และเขียน
        2. การทรงตัว หมายถึง ความสามารถในการรักษาความสมดุลร่างกายในขณะอยู่กับที่หรือขณะเคลื่อนที่
        3. การเคลื่อนไหวและการทรงตัวของเด็ก เป็นพัฒนาการที่สังเกตเห็นความเปลี่ยนแปลงได้ชัดเจนมาก พัฒนาการการเคลื่อนไหวแบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ การใช้กล้ามเนื้อมัดใหญ่ในการควบคุมการทรงตัวและเคลื่อนที่ และการเคลื่อนไหวกล้ามเนื้อมัดเล็กๆของตาและมือซึ่งแต่ละช่วงวัยจะมีพัฒนาการที่แตกต่างกัน
        4. การรับรู้และประสาทสัมผัส หมายถึง เริ่มตั้งแต่ การมีสิ่งเร้ามา กระทบกับอวัยวะรับสัมผัสทั้งห้า และส่งกระแสประสาท ไปยังสมอง เพื่อการแปลความ กระบวนการของการรับรู้ เป็นกระบวนการที่คาบเกี่ยวกันระหว่างเรื่องความเข้าใจ การคิด การรู้สึก ความจำ การเรียนรู้ การตัดสินใจ


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

1.    ทดสอบความรู้ โดยใช้แบบสัมภาษณ์ และ/หรือแบบทดสอบความรู้ 
2.    ประเมินทักษะการปฏิบัติงานโดยใช้ใบบันทึกจากการสังเกตการปฏิบัติงาน
3.    ใช้เอกสาร/หลักฐาน


ยินดีต้อนรับ