หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ดูแลกิจวัตรประจำวันของเด็ก

สาขาวิชาชีพบริการสุขภาพ


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ HLT-DZMI-565A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ดูแลกิจวัตรประจำวันของเด็ก

3. ทบทวนครั้งที่ 2 / 2566

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

5311 ผู้ปฏิบัติงานดูแลเด็ก


6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)

ผู้มีความรู้และทักษะในการดูแลกิจวัตรประจำวัน ในสุขลักษณะทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ การกิน นอน ขับถ่าย และอนามัยของเด็ก รวมไปถึงการดูแลสุขภาพของเด็กเบื้องต้น


7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)

ผู้ดูแลเด็ก


9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria)
10102.01 ดูแลสุขลักษณะการกินของเด็ก

1. ป้อนอาหาร และฝึกการรับประทานอาหารด้วยตนเอง

2. กระตุ้นให้เด็กรับประทานอาหารในปริมาณที่เพียงพอตามช่วงวัย

3. จัดอาหารให้เด็กรับประทานตามช่วงเวลา

10102.02 ดูแลสุขลักษณะการนอนของเด็ก

1. ดูแลการนอนของเด็กตามช่วงวัย

2. ทำความสะอาดเครื่องนอนสำหรับเด็ก

10102.03 ดูแลสุขลักษณะการขับถ่ายของเด็ก

1. ดูแลการเปลี่ยนผ้าอ้อมของเด็ก

2. ฝึกให้เด็กขับถ่ายและทำความสะอาดอวัยวะในการขับถ่าย

10102.04 ดูแลสุขลักษณะในการทำความสะอาดของเด็ก

1. อาบน้ำและสระผมให้เด็กช่วงวัย 3 เดือน –1 ปี

2. ฝึกให้เด็กช่วงวัย 2 ปีขึ้นไป อาบน้ำด้วยตนเอง

3. สังเกตความผิดปกติ ส่วนต่างๆของเด็ก และรายงาน

10102.05 ประเมินสุขภาพเด็กเบื้องต้น

1. ประเมินการเจริญเติบโตตามวัยของเด็ก

2. คัดกรองเบื้องต้นกับเด็กที่มีปัญหาสุขภาพ


12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. มีทักษะในการทำความสะอาดร่างกายเด็ก
2. มีทักษะในการการเปลี่ยนผ้าอ้อมเด็ก
3. มีทักษะในการดูแลสุขภาพเด็กเบื้องต้น
 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. ความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขลักษณะการกินของเด็ก
2. ความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขลักษณะการนอนของเด็ก
3. ความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขลักษณะการขับถ่ายของเด็ก
4. ความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขลักษณะในการทำความสะอาดของเด็ก
5. ความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพเด็กเบื้องต้นความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับสุขภาพเด็กแต่ละช่วงวัย
 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

  หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมินและควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)
    (ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)
        1. เอกสาร/หลักฐานรับรองการทำงาน
        2. เอกสาร/หลักฐานการอบรมเชิงปฏิบัติการ
        3. แฟ้มสะสมผลงาน และ/หรือ
        4. เอกสาร/หลักฐานที่เกี่ยวข้อง
    (ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)
        1. ผลการสัมภาษณ์และ/หรือ ผลสังเกตการณ์ปฏิบัติงานจริง
        2. ผลการทดสอบความรู้
        3. แฟ้มสะสมผลงาน (portfolio) และ/หรือ
        4. เอกสาร/หลักฐานที่เกี่ยวข้อง
    (ค) คำแนะนำในการประเมิน
        ผู้เข้ารับการประเมินต้องผ่านการประเมินที่ครอบคลุมในทุกสมรรถนะย่อยขอบเขตความรู้และทักษะที่กำหนดในกรณีที่ผู้รับการประเมินผ่านไม่ครบตามเกณฑ์กำหนดผู้ประเมินต้องแจ้งหน่วยสมรรถนะและสมรรถนะย่อยที่ไม่ผ่านให้ผู้รับการประเมินไปทบทวนสมรรถนะที่ยังไม่ผ่านและสามารถกลับมาทดสอบสมรรถนะใหม่อีกครั้ง
    (ง) วิธีการประเมิน
        1. ผู้ประเมินทำการประเมินการปฏิบัติงานจริงที่ต้องการของผู้เข้าทดสอบโดยใช้แบบบันทึกรายการจากการสังเกตและเอกสารหลักฐานที่จำเป็นในการปฏิบัติงานต่างๆ
        2. ผู้ประเมินทำการประเมินความรู้ผู้เข้าทดสอบโดยใช้แบบสัมภาษณ์และ/หรือแบบทดสอบความรู้แฟ้มสะสมผลงานและ/หรือเอกสาร/หลักฐานที่เกี่ยวข้อง


15. ขอบเขต (Range Statement)

ขอบเขตอธิบายถึงขอบเขตของการปฏิบัติงานและสภาพแวดล้อมอื่นๆหรือสถานการณ์อื่นๆที่มีผลกระทบต่อการทำงานรวมถึงเครื่องมืออุปกรณ์เทคโนโลยีทรัพยากรที่ใช้หรือข้อกำหนดอื่นๆที่เกี่ยวข้อง
 (ก) คำแนะนำ
         ไม่มี
    (ข) คำอธิบายรายละเอียด
        1. สร้างแรงจูงใจหมายถึง การสร้างแรงขับหรือสิ่งกระตุ้นให้มุ่งสู่การแสดงพฤติกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อตอบสนองความต้องการหรือจุดมุ่งหมายที่ต้องการ
        2. มารยาทในการรับประทานอาหาร หมายถึง กิริยา วาจาที่สุภาพเรียบร้อย ที่บุคคลพึ่งปฏิบัติในสังคมโดยมีระเบียบแบบแผน อันเหมาะสมตามกาลเทศะ ในการรับประทานอาหาร เช่น เคี้ยวอาหารไม่มีเสียง ไม่พูดคุยกันขณะอาหารอยู่ในปาก ให้ปิดปากขณะไอหรือจาม ใช้ช้อนตักอาหารใส่ปาก ไม่หยิบจับด้วยมือ และใช้ช้อนกลางตักอาหาร
        3. ฝึกการขับถ่าย หมายถึงฝึกการขับถ่ายให้เป็นเวลาทุกวันทานผัก ผลไม้สดทุกวัน เพื่อให้การขับถ่ายได้สะดวก ไม่กลั้นอุจจาระ/ปัสสาวะ ฝึกให้ใช้ห้องส้วมได้เอง ราดน้ำทำความสะอาดก่อน-หลังการใช้ส้วมทุกครั้งหลังการขับถ่าย ล้างทำความสะอาดอวัยวะขับถ่ายทุกครั้งด้วยน้ำสะอาดและล้างมือด้วยสบู่ทุกครั้ง
        4. สนับสนุนการนอนของเด็กตามช่วงวัยดูแลให้เด็กเข้านอนเป็นเวลาโดยไม่บังคับก่อนนอน ควรอาบน้ำให้ร่างกายสะอาด สวมเสื้อผ้าที่หลวมสบายๆนอนในที่อากาศถ่ายเทสะดวก ที่นอนสะอาดไม่มียุง และแมลงต่างๆรบกวน
        5. ประเมินสุขภาพเบื้องต้น หมายถึง การประเมินอาการเด็ก โดยซักประวัติสุขภาพ การตรวจร่างกายเบื้องต้น หรือการสังเกตภายนอก เพื่อการวินิจฉัยโรคเบื้องต้น
        6. สัดส่วนอาหารตามช่วงวัยสำหรับเด็ก หมายถึง  การจัดเตรียมและคัดสรรอาหารให้เด็กได้คุณค่าโภชนาการทางอาหารที่มีความเหมาะสมกับความหิวและอิ่มตามช่วงวัยของเด็ก โดยมีแนวทางปฏิบัติการให้อาหารตามวัยสำหรับเด็กมี 3 หลักการ ดังนี้        
        7. สมวัย หมายถึง การให้อาหารที่เหมาะสมกับวัยของเด็ก เพื่อต่อการเจริญเติบโตของเด็ก    เช่น ความเหมาะสมทางด้านร่างกาย ความพร้อมของระบบประสาทและกล้ามเนื้อ เป็นต้น    
        8. เพียงพอ หมายถึงการให้อาหารที่มีพลังงานและสารอาหารเพียงพอกับความต้องการของเด็กในแต่ละวัน  เช่น ปริมาณอาหาร สารอาหาร จำนวนมื้ออาหาร ความเข้มข้นของพลังงานอาหาร ความหลากหลายของอาหาร กลิ่นรสชาติ เป็นต้น  
        9. ความปลอดภัย หมายถึง การให้อาหารตามวัยสำหรับเด็กที่สะอาดและปลอดภัย โดยมีการเตรียมและเก็บอาหารอย่างถูกหลักอนามัย เช่น  ล้างผักและผลไม้ให้สะอาด ใช้อุปกรณ์ใส่และเก็บอาหารที่สะอาด ล้างมือก่อนเตรียมอาหาร    
        10. ดูแลเอาใจใส่สุขภาพของเด็กเบื้องต้น หมายถึง การตรวจเช็คร่างกายเบื้องต้น และการเอาใจใส่เช่น การเช็ดตัวเด็กและวัดอุณหภูมิเมื่อเด็กเป็นไข้ เมื่อเด็กมีอาการผิดปกติ อาเจียน พร้อมทั้งส่งต่อไปยังผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพตามความเหมาะสม


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

1 ทดสอบความรู้ โดยใช้แบบสัมภาษณ์ และ/หรือแบบทดสอบความรู้
2. ประเมินทักษะการปฏิบัติงานโดยใช้ใบบันทึกจากการสังเกตการปฏิบัติงาน
3. ใช้เอกสาร/หลักฐาน


ยินดีต้อนรับ