หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ช่วยปฏิบัติงานธุรการ และติดต่อสื่อสารภายในหน่วยงาน

สาขาวิชาชีพบริการสุขภาพ


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ HLT-AHTV-543A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ช่วยปฏิบัติงานธุรการ และติดต่อสื่อสารภายในหน่วยงาน

3. ทบทวนครั้งที่ 3 / 2566

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

    5321 พนักงานให้การดูแล (Nurses’ aides/ Care givers)
    5321 ผู้ช่วยเหลือคนไข้
    5321 เจ้าหน้าที่ช่วยดูแลผู้ป่วย
    5321 เจ้าหน้าที่ผู้ช่วยพยาบาลในโรงพยาบาลคลินิก หรือบ้านพักคนชรา
    5321 ผู้ช่วยงานดูแลสุขภาพ


6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)

    ช่วยปฏิบัติงานธุรการของหน่วยงาน โดยจัดการเอกสารของผู้ป่วย รับ-ส่งเอกสาร รับ-ส่งสิ่งตรวจห้องปฏิบัติการ และบันทึกข้อมูลเกี่ยวกับงานธุรการ ภายใต้การควบคุมของผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล
    สื่อสารกับผู้ป่วยในหน่วยงาน ร่วมกับประสานงานกิจกรรมที่ได้รับมอบหมายระหว่างหน่วยงานภายใต้การควบคุมของผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล


7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)

พนักงานให้การดูแล (Nurses’ aides/ Care givers)


9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria)
10501.01

จัดการเอกสารของผู้ป่วย ภายใต้การควบคุมของผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล

1. มีความรู้ที่ถูกต้องเรื่องจัดเตรียมและจัดเก็บเอกสารของผู้ป่วย

2. จัดเตรียมชุดเอกสารรับผู้ป่วยใหม่ได้ถูกต้อง ครบถ้วน

3. บันทึกข้อมูลพื้นฐานในแบบฟอร์มเอกสารของผู้ป่วยใหม่พร้อมติดสติ๊กเกอร์ชื่อให้ครบทุกใบ

4. จัดเตรียมเอกสารแนะนำหอผู้ป่วย ระเบียบปฏิบัติของหอผู้ป่วย การใช้อุปกรณ์และเครื่องใช้ในหอผู้ป่วยให้แก่ผู้ป่วยใหม่

5. จัดเก็บเอกสารต่างๆที่ใช้ประจำวันในหอผู้ป่วยให้ถูกต้องและพร้อมใช้งาน

6. จัดเก็บเอกสารแฟ้มประวัติของผู้ป่วยหลังจำหน่ายได้อย่างถูกต้องครบถ้วน

10501.02

รับ-ส่งเอกสาร ภายใต้การควบคุมของผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล

1. มีความรู้ที่ถูกต้องเรื่องการรับ-ส่งเอกสาร

2. รับ-ส่งเอกสารการรับใหม่จากหน่วยรับผู้ป่วยในได้ถูกต้องตามที่ได้รับมอบหมายภายในเวลาที่กำหนด

3. รับ-ส่งเอกสารการรับย้ายผู้ป่วยจากหน่วยงานที่ส่งต่อได้ถูกต้องตามที่ได้รับมอบหมายภายในเวลาที่กำหนด

4. รับ-ส่งเอกสารการจำหน่ายของผู้ป่วยไปยังหน่วยงานจำหน่ายผู้ป่วย หรือตามที่โรงพยาบาลกำหนดได้ถูกต้องตามที่ได้รับมอบหมายภายในเวลาที่กำหนด

5. รับ-ส่งเอกสารการตรวจพิเศษไปยังหน่วยงานอื่นๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย

6. รับ-ส่งเอกสารงานธุรการของหน่วยงานตามที่ได้รับมอบหมาย

10501.03

รับ-ส่ง สิ่งส่งตรวจห้องปฏิบัติการ ภายใต้การควบคุมของผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล

1. มีความรู้ที่ถูกต้องเรื่องรับ-ส่งสิ่งส่งตรวจห้องปฏิบัติการ

2. ตรวจสอบสิ่งส่งตรวจห้องปฏิบัติ การให้ถูกต้องตามใบส่งตรวจ

3. นำส่งสิ่งส่งตรวจห้องปฏิบัติการพร้อมใบส่งตรวจ ไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องตรงตามเวลาที่กำหนด

4. ลงบันทึกการส่งสิ่งส่งตรวจห้องปฏิบัติการและรายงานให้พยาบาลวิชาชีพทราบตามระเบียบของหน่วยงาน

10501.04

บันทึกข้อมูลเกี่ยวกับงานธุรการ  ภายใต้การควบคุมของผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล

1. มีความรู้ที่ถูกต้องเรื่องบันทึกข้อมูลผู้ป่วย

2. บันทึกข้อมูลพื้นฐานของผู้ป่วยใหม่ที่แพทย์ให้นอนโรงพยาบาลลงในทะเบียนผู้ป่วยในของหอผู้ป่วย/หน่วยบริการได้ถูกต้อง

3. บันทึกข้อมูลพื้นฐานของผู้ป่วยที่แพทย์จำหน่ายออกจากโรงพยาบาลลงในทะเบียนของผู้ป่วยจำหน่ายได้ถูกต้อง

4. บันทึกข้อมูลการรับ-ส่งเอกสารต่างๆของหอผู้ป่วย/หน่วยบริการทุกครั้ง ได้ถูกต้อง

5. บันทึกข้อมูลเอกสารต่างๆของหอผู้ป่วย/หน่วยบริการได้ตามข้อกำหนดของหน่วยงาน

10501.05

สื่อสารกับผู้ป่วยในหน่วยงาน  ภายใต้การควบคุมของผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล

1. มีความรู้ที่ถูกต้องเกี่ยวกับการสื่อสารเพื่อการบริการผู้ป่วย

2. สร้างสัมพันธภาพที่ดี และใช้วาจาที่สุภาพกับผู้ป่วย

3. ต้อนรับผู้ป่วยด้วยกิริยา วาจาสุภาพ อ่อนโยน และเป็นมิตร

4. แนะนำสถานที่ และให้ข้อมูลระเบียบปฏิบัติในหน่วยบริการสุขภาพได้ถูกต้อง

5. สื่อสารทางโทรศัพท์ด้วยวาจาที่เป็นมิตร

6. รับและให้ข้อมูลทางโทรศัพท์ได้ถูกต้อง ครบถ้วน

7. ตอบสนองความต้องการของผู้ป่วยด้วยความเต็มใจ รวดเร็ว และภายในขอบเขตที่สามารถทำได้

10501.06

ประสานงาน ในงานธุรการ เอกสาร ในกิจกรรมที่ได้รับมอบหมาย ระหว่างหน่วยงาน  ภายใต้การควบคุมของผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล

1. มีความรู้ที่ถูกต้องเกี่ยวกับการประสานงานระหว่างหน่วยงาน

2. สร้างสัมพันธภาพที่ดีระหว่างหน่วยงาน

3. ประสานงานระหว่างหน่วยงานได้ตรงตามกิจกรรมที่ได้รับมอบหมาย

4. รับฟังความคิดเห็นของผู้ใช้บริการระหว่างหน่วยงาน


12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

    1. การจัดเตรียม/จัดเก็บเอกสารของผู้ใช้บริการ
    2. การจัดเตรียมเอกสารแนะนำการใช้อุปกรณ์ เครื่องใช้ในหอผู้ป่วย
    3. การรับ-ส่งเอกสาร
    4. การบันทึกข้อมูลเอกสารตามข้อกำหนดของหน่วยงาน
    5. วิธีการดำเนินการรับ-ส่ง สิ่งส่งตรวจห้องปฏิบัติการได้
    6. การสื่อสารให้คำแนะนำระเบียบปฏิบัติสำหรับผู้ป่วยใหม่ได้ด้วยกิริยามารยาท และท่าทางที่เหมาะสม
    7. การสื่อสารและประสานงานภายในหน่วยงาน
    8. การสื่อสารและประสานงานระหว่างหน่วยงาน
    9. การรับฟังปัญหาของผู้ป่วยด้วยความสนใจ
    10. เตรียมเอกสารแนะนำการปฏิบัติตัวตามระเบียบของโรงพยาบาลได้ถูกต้อง ครบถ้วน
    11. ปฏิบัติขั้นตอนการแนะนำระเบียบปฏิบัติสำหรับผู้ป่วยใหม่ ได้ถูกต้อง

(ข) ความต้องการด้านความรู้

    1. ความหมายและชนิดของเอกสาร
    2. เตรียมชุดเอกสารรับผู้ป่วยใหม่ได้
    3. การบันทึกข้อมูลพื้นฐานในแบบฟอร์มเอกสารผู้ป่วยรับใหม่พร้อมติดสติกเกอร์ตามที่หน่วยงานกำหนดให้ได้
    4. เตรียมเอกสารแนะนำระเบียบปฏิบัติการใช้อุปกรณ์ เครื่องใช้ต่างๆในหอผู้ป่วยให้แก่ผู้ป่วยใหม่ได้
    5. การจัดเก็บเอกสารต่างๆที่ใช้ในประจำวันในหอผู้ป่วยและแยกประเภทได้
    6. จัดเก็บแฟ้มประวัติของผู้ป่วยหลังจำหน่ายได้
    7. ขั้นตอนการรับ-ส่งเอกสารการรับใหม่จากหน่วยรับผู้ป่วยใน
    8. ขั้นตอนการรับ-ส่งเอกสารการจำหน่ายของผู้ป่วยไปยังหน่วยงานจำหน่ายผู้ป่วย หรือตามที่โรงพยาบาลกำหนด
    9. ขั้นตอนการรับ-ส่งเอกสารการตรวจพิเศษไปยังหน่วยงานอื่นๆ
    10. ขั้นตอนการรับ-ส่งเอกสารงานธุรการของหน่วยงานตามที่ได้รับมอบหมาย
    11.ขั้นตอนของการรับ-ส่งสิ่งส่งตรวจห้องปฏิบัติการ
    12.วิธีการตรวจเช็คสิ่งส่งตรวจห้องปฏิบัติการตามที่หน่วยงานกำหนด
    13.นำส่งสิ่งส่งตรวจห้องปฏิบัติการพร้อมใบส่งตรวจ ไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องตรงตามเวลาที่ กำหนด
    14. การลงบันทึกการส่งสิ่งส่งตรวจห้องปฏิบัติการได้ พร้อมรายงานพยาบาลวิชาชีพตามระเบียบ ของหน่วยงาน
    15. วิธีการบันทึกข้อมูลผู้ป่วย
    16. การบันทึกข้อมูลพื้นฐานของผู้ป่วยใหม่ที่แพทย์ให้นอนโรงพยาบาล
    17. การบันทึกข้อมูลพื้นฐานของผู้ป่วยที่แพทย์จำหน่ายออกจากโรงพยาบาล
    18. การบันทึกข้อมูลการรับ-ส่งเอกสารต่างๆของหอผู้ป่วย/หน่วยบริการ
    19. วัตถุประสงค์ของการสื่อสารเพื่อการบริการหรืออำนวยความสะดวกแก่ผู้ป่วย
    20. วิธีการสร้างสัมพันธภาพที่ดี และการใช้วาจาในการบริการหรืออำนวยความสะดวกแก่ผู้ป่วย
    21. วิธีการต้อนรับผู้ป่วยด้วยกิริยาวาจาสุภาพอ่อนโยน และเป็นมิตร
    22. วิธีการแนะนำสถานที่และให้ข้อมูลระเบียบปฏิบัติในหน่วยบริการสุขภาพ
    23. วิธีการสื่อสารทางโทรศัพท์
    24. วิธีการตอบสนองความต้องการของผู้ป่วยภายในขอบเขตที่สามารถทำได้
    25. วัตถุประสงค์ของการประสานงานระหว่างหน่วยงาน


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

    หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมินและควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน(Performance Criteria) และความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)
    (ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)
        1. เอกสาร/หลักฐานรับรองการทำงาน
        2. เอกสาร/หลักฐานการอบรมเชิงปฏิบัติการ
        3. แฟ้มสะสมผลงาน และ/หรือ
        4. เอกสาร/หลักฐานที่เกี่ยวข้อง
    (ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)
        ผลการทดสอบความรู้
    (ค) คำแนะนำในการประเมิน    
        ผู้เข้ารับการประเมินต้องผ่านการประเมินที่ครอบคลุมในทุกสมรรถนะย่อยขอบเขตความรู้และทักษะที่กำหนดในกรณีที่ผู้รับการประเมินผ่านไม่ครบตามเกณฑ์กำหนดผู้ประเมินต้องแจ้งหน่วยสมรรถนะและสมรรถนะย่อยที่ไม่ผ่านให้ผู้รับการประเมินไปทบทวนสมรรถนะที่ยังไม่ผ่านและสามารถกลับมาทดสอบสมรรถนะใหม่อีกครั้ง
    (ง) วิธีการประเมิน
        1. ผู้ประเมินทำการประเมินการปฏิบัติงานจริงที่ต้องการของผู้เข้าทดสอบโดยใช้แบบบันทึกรายการจากการสังเกตและเอกสารหลักฐานที่จำเป็นในการปฏิบัติงานต่างๆ
        2. ผู้ประเมินทำการประเมินความรู้ผู้เข้าทดสอบโดยใช้แบบทดสอบความรู้ข้อเขียน


15. ขอบเขต (Range Statement)

    การปฏิบัติงานภายในขอบเขตดังนี้
    บันทึกข้อมูลพื้นฐาน เช่น ชื่อ-นามสกุล อายุ เพศ เป็นต้น ในแบบฟอร์มเอกสารของผู้ป่วยใหม่พร้อมติดสติ๊กเกอร์ชื่อให้ครบทุกใบ
    รับ-ส่ง เอกสารการรับใหม่ เอกสารรับย้าย เอกสารจำหน่าย และเอกสารตรวจพิเศษ ตามที่โรงพยาบาลแต่ละแห่งกำหนด เช่น เอกสารการรับใหม่ ได้แก่ แบบฟอร์มต่างๆที่ต้องจัดเป็นชุดเพื่อใส่ในแฟ้มผู้ป่วย ได้แก่ ใบบันทึกทางการพยาบาล ใบบันทึกการรักษาของแพทย์   ใบบันทึก ปรอท ความดันโลหิต ชีพจร หายใจ น้ำหนัก ส่วนสูง อาหาร ฯลฯ ใบบันทึกการให้ยา  ใบบันทึกประวัติผู้ป่วย  ใบบันทึกการตรวจร่างกายผู้ป่วย ใบบันทึกการตรวจของแพทย์แต่ละวัน ใบบันทึกผลการตรวจทางห้องทดลอง ใบบันทึกการเข้ามาอยู่ในโรงพยาบาล  และใบบันทึกอื่นๆที่โรงพยาบาลกำหนด เอกสารรับย้าย ได้แก่ ใบส่งต่อผู้ป่วย เวชระเบียนผู้ป่วยที่ประกอบด้วยใบบันทึกต่างๆที่กล่าวในเอกสารการรับใหม่ เพื่อรับย้ายผู้ป่วยมาจากหอผู้ป่วยอื่นๆภายในโรงพยาบาล เอกสารจำหน่าย ได้แก่ ใบจำหน่ายผู้ป่วยออกจากโรงพยาบาล เวชระเบียนผู้ป่วยที่แพทย์ทำการสรุปการรักษาผู้ป่วย เป็นต้น และเอกสารตรวจพิเศษ ประกอบด้วย การตรวจทางห้องปฏิบัติการที่ไม่มีตรวจในโรงพยาบาล การตรวจทางรังสีวิทยาและคลื่นเสียงความถี่สูง การตรวจระบบประสาท การส่องกล้องตรวจระบบทางเดินอาหารหรือทางเดินปัสสาวะ การตรวจสมรรถภาพปอด การสวนหัวใจ เป็นต้น
    บันทึกข้อมูลผู้ป่วยลงในทะเบียนผู้ป่วย กระทำโดยการคีย์ข้อมูลเอกสารรับผู้ป่วยใหม่ในเครื่องคอมพิวเตอร์ หรือบันทึกลงในสมุดทะเบียนผู้ป่วยในของหอผู้ป่วย/หน่วยบริการ
    บันทึกข้อมูลการรับ-ส่งเอกสารต่างๆของหอผู้ป่วย/หน่วยบริการ หมายถึง การเขียนลงในสมุดรับ-ส่งเอกสารของในแต่ละวันว่า มีเอกสาร จดหมาย และอื่นๆรับเข้าและส่งออกจากหอผู้ป่วย/หน่วยบริการอะไรบ้าง จำนวนเท่าไร เพื่อเป็นหลักฐานในการติดตาม
    บันทึกข้อมูลเอกสารต่างๆของหอผู้ป่วย/หน่วยบริการได้ตามข้อกำหนดของหน่วยงาน หมายถึงการกรอกข้อมูลในเอกสารที่ไม่ซับซ้อนในแต่ละวันภายในหอผู้ป่วย/หน่วยบริการ เช่น ช่วยพยาบาลหัวหน้าหอผู้ป่วยเขียนใบส่งซ่อมอุปกรณ์ เครื่องใช้ที่ชำรุด เป็นต้น
    สื่อสารกับผู้ป่วยในหน่วยงานที่ปฏิบัติหน้าที่อยู่ และประสานกิจกรรมที่ได้รับมอบหมายระหว่างหน่วยงานได้อย่างเหมาะสม ภายใต้การควบคุมของผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล
    (ก) คำแนะนำ
        ไม่มี
    (ข) คำอธิบายรายละเอียด
        ช่วยปฏิบัติงานธุรการ หมายถึง การจัดเตรียม/จัดเก็บเอกสารของผู้ป่วย บันทึกข้อมูลพ้นฐาน ได้แก่ ชื่อ-นามสกุล อายุ เพศ เป็นต้น ในแบบฟอร์มเอกสารของผู้ป่วยใหม่พร้อมติดสติกเกอร์ให้เรียบร้อยรับ-ส่งเอกสารบันทึกข้อมูลผู้ป่วย ภายใต้การควบคุมของผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลหรือการพยาบาลและ การผดุงครรภ์/ข้อกำหนดโรงพยาบาล
    เอกสารการรับใหม่ คือ แบบฟอร์มต่างๆที่ต้องจัดเป็นชุดเพื่อใส่ในแฟ้มผู้ป่วย ได้แก่ ใบบันทึกทางการพยาบาล ใบบันทึกการรักษาของแพทย์   ใบบันทึก ปรอท ความดันโลหิต ชีพจร หายใจ น้ำหนัก ส่วนสูง อาหาร ฯลฯ ใบบันทึกการให้ยา  ใบบันทึกประวัติผู้ป่วย  ใบบันทึกการตรวจร่างกายผู้ป่วย ใบบันทึกการตรวจของแพทย์แต่ละวัน ใบบันทึกผลการตรวจทางห้องทดลอง ใบบันทึกการเข้ามาอยู่ในโรงพยาบาลและใบบันทึกอื่นๆ ที่โรงพยาบาลกำหนด 
    เอกสารรับย้าย คือ ใบส่งต่อผู้ป่วย เวชระเบียนผู้ป่วยที่ประกอบด้วยใบบันทึกต่างๆที่กล่าวในเอกสารการรับใหม่ เพื่อรับย้ายผู้ป่วยมาจากหอผู้ป่วยอื่นๆภายในโรงพยาบาล 
    เอกสารจำหน่าย คือ ใบจำหน่ายผู้ป่วยออกจากโรงพยาบาล เวชระเบียนผู้ป่วยที่แพทย์ทำการสรุปการรักษาผู้ป่วย เป็นต้น
    เอกสารตรวจพิเศษ คือ เอกสารการตรวจเพื่อประกอบการตรวจวินิจฉัยของแพทย์ ประกอบด้วย การตรวจทางห้องปฏิบัติการที่ไม่มีตรวจในโรงพยาบาล การตรวจทางรังสีวิทยาและคลื่นเสียงความถี่สูง การตรวจระบบประสาท การส่องกล้องตรวจระบบทางเดินอาหารหรือทางเดินปัสสาวะ การตรวจสมรรถภาพปอดการสวนหัวใจ เป็นต้น
    สมุดลงทะเบียน คือ สมุดที่บันทึกข้อมูลของผู้ป่วยทุกคนที่มานอนพักรักษาตัวในหอผู้ป่วย หรือมารับบริการในหน่วยให้บริการ เพื่อให้สามารถค้นหาข้อมูลเพื่อประโยชน์ในการรักษาได้
    สื่อสารและประสานงานภายในองค์กร หมายถึงการติดต่อสื่อสารและประสานงานให้เกิดสัมพันธภาพที่ดีภายในองค์กร สอดคล้องตามเป้าหมาย เกิดความเข้าใจและมีการร่วมมือในการปฏิบัติงาน


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

กระบวนการและวิธีการประเมินให้ดูในคู่มือการประเมินโดยประเมินด้วยการทดสอบความรู้และทักษะการปฏิบัติงาน


ยินดีต้อนรับ