หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ทำความสะอาด เก็บรักษา และจัดการอุปกรณ์ การรักษาพยาบาลชนิดต่าง ๆ

สาขาวิชาชีพบริการสุขภาพ


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ HLT-ALEE-542A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ทำความสะอาด เก็บรักษา และจัดการอุปกรณ์ การรักษาพยาบาลชนิดต่าง ๆ

3. ทบทวนครั้งที่ 3 / 2566

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

    5321 พนักงานให้การดูแล (Nurses’ aides/ Care givers)
    5321 ผู้ช่วยเหลือคนไข้
    5321 เจ้าหน้าที่ช่วยดูแลผู้ป่วย
    5321 เจ้าหน้าที่ผู้ช่วยพยาบาลในโรงพยาบาลคลินิก หรือบ้านพักคนชรา
    5321 ผู้ช่วยงานดูแลสุขภาพ


6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)

    จัดการอุปกรณ์การรักษาพยาบาลชนิดต่างๆภายใต้การควบคุมของผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลได้แก่ จัดทำทะเบียนข้อมูลอุปกรณ์การรักษาพยาบาลชนิดต่างๆ จัดลำดับการเบิกจ่ายอุปกรณ์การรักษาพยาบาลชนิดต่างๆ จัดลำดับการเก็บรักษาอุปกรณ์การรักษาพยาบาลชนิดต่างๆ ดูแลวัสดุอุปกรณ์การรักษาพยาบาลชนิดต่างๆให้พร้อมใช้ ภายใต้การควบคุมของผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล
    ทำความสะอาดเครื่องมือเครื่องใช้ชนิดต่างๆให้พร้อมใช้งานภายใต้การควบคุมของผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลหรือการพยาบาลและการผดุงครรภ์
    จัดเก็บอุปกรณ์และเตรียมคัดแยกอุปกรณ์ให้ถูกต้องภายใต้การควบคุมดูแลของผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลหรือการพยาบาลและการผดุงครรภ์


7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)

พนักงานให้การดูแล (Nurses’ aides/ Care givers)


9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria)
10401.01

จัดทำทะเบียนข้อมูลอุปกรณ์ภายใต้การควบคุมของผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล

1. มีความรู้เรื่องการจัดทำทะเบียนข้อมูลอุปกรณ์

2. จำแนกประเภทอุปกรณ์เป็นหมวดหมู่ 

3. บันทึกข้อมูลอุปกรณ์

4. บันทึกการเบิกจ่ายเพื่อทดแทนกรณีชำรุดจนไม่สามารถซ่อมบำรุง

5. บันทึกประวัติการซ่อมบำรุงอุปกรณ์ที่ชำรุด และค่าใช้จ่ายในการซ่อมบำรุง

10401.02

จัดลำดับการเบิกจ่ายวัสดุอุปกรณ์ภายใต้การควบคุมของผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล

1. มีความรู้เรื่องการจัดลำดับการเบิกจ่ายวัสดุอุปกรณ์

2. ตรวจสอบประเภทและจำนวนวัสดุอุปกรณ์ที่ต้องเบิกจ่าย

3. เบิกจ่ายวัสดุอุปกรณ์ถูกต้องตามประเภทและจำนวนให้ครบถ้วน

4. บันทึกการเบิกจ่ายลงในสมุดทะเบียนเบิกจ่ายได้ถูกต้อง

10401.03

จัดลำดับการเก็บรักษาวัสดุอุปกรณ์ภายใต้การควบคุมของผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล

1. มีความรู้เรื่องการจัดลำดับการเก็บรักษาวัสดุอุปกรณ์

2. จัดเรียงอุปกรณ์ตามประเภทเป็นหมวดหมู่ คำนึงถึงความสะดวก ความถี่ในการใช้งาน และวันหมดอายุ

3. ลงรหัส อุปกรณ์เพื่อความสะดวกในการจัดเก็บและเบิกจ่าย

4. บันทึกข้อมูลในทะเบียนให้เป็นปัจจุบัน

10401.04

ดูแลวัสดุอุปกรณ์ให้พร้อมใช้ภายใต้การควบคุมของผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล

1. มีความรู้เรื่องการดูแลวัสดุอุปกรณ์ให้พร้อมใช้

2. คัดแยกวัสดุอุปกรณ์ที่ชำรุดส่งซ่อมบำรุง

3. เบิกจ่ายวัสดุอุปกรณ์เพื่อทดแทนกรณีชำรุดจนไม่สามารถซ่อมบำรุง

4. ติดตามการซ่อมบำรุงและการเบิกจ่ายทดแทน

5. บันทึกข้อมูลในสมุดทะเบียนการส่งซ่อม และตรวจสอบวัสดุอุปกรณ์หลังซ่อม

10401.05

ทำความสะอาดอุปกรณ์การรักษาพยาบาลชนิดต่างๆ ที่ได้รับมอบหมายให้สะอาดเป็นไปตามมาตรฐานภายใต้การควบคุมของผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล

1. มีความรู้ที่ถูกต้องเรื่องการเช็ด, ล้างอุปกรณ์การรักษาพยาบาลชนิดต่างๆให้สะอาด

2. คัดแยกประเภทเครื่องมือ เครื่องใช้ และอุปกรณ์การรักษาพยาบาลชนิดต่างๆ ที่จะทำความสะอาด

3. เช็ด, ล้างเครื่องมือ เครื่องใช้ และอุปกรณ์การรักษาพยาบาลชนิดต่างๆ ให้สะอาดตามมาตรฐานของหน่วยงาน

4. คัดแยกเครื่องมือ เครื่องใช้ และอุปกรณ์การรักษาพยาบาลชนิดต่างๆ ที่ชำรุด

5. บันทึกข้อมูลและจำนวนเครื่องมือ เครื่องใช้ และอุปกรณ์การรักษาพยาบาลชนิดต่างๆ ที่ชำรุด 

6. รายงานหัวหน้าเวรทราบ

10401.06

เตรียมอุปกรณ์การรักษาพยาบาลชนิดต่างๆภายใต้การควบคุมของผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล

1. มีความรู้ที่ถูกต้องเรื่องการเตรียมอุปกรณ์การรักษาพยาบาลชนิดต่างๆและอุปกรณ์เครื่องมือเครื่องใช้ทั่วไปที่ใช้กับผู้ป่วย

2. จัดเตรียมอุปกรณ์และเครื่องมือเครื่องใช้การรักษาพยาบาลชนิดต่างๆ ให้ถูกต้อง ครบถ้วนตามประเภทของการทำหัตถการ

3. รวบรวมอุปกรณ์และเครื่องมือเครื่องใช้การรักษาพยาบาลชนิดต่างๆที่ใช้แล้วให้ ครบถ้วนตามจำนวนภายหลังการทำหัตถการ

4. จัดเตรียมอุปกรณ์และเครื่องมือเครื่องใช้ทั่วไปที่ใช้กับผู้ป่วยให้ถูกต้อง ครบถ้วน

5. รวบรวมอุปกรณ์และเครื่องมือเครื่องใช้ทั่วไปที่ใช้กับผู้ป่วยให้ถูกวิธี ครบถ้วนตามจำนวนภายหลังการทำกิจกรรม

10401.07

คัดแยกอุปกรณ์การรักษาพยาบาลชนิดต่างๆภายใต้การควบคุมของผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล

1. มีความรู้ที่ถูกต้องเรื่องคัดแยกอุปกรณ์การรักษาพยาบาลชนิดต่างๆ

2. คัดแยกประเภทเครื่องมือเครื่องใช้ ชนิดต่างๆ

3. จัดหมวดหมู่ของอุปกรณ์เครื่องมือเครื่องใช้ทั่วไปที่ใช้กับผู้ป่วย และอุปกรณ์ทางการพยาบาลและทางการแพทย์แยกบริเวณจัดเก็บเป็นสัดส่วน

10401.08

จัดเก็บอุปกรณ์การรักษาพยาบาลชนิดต่างๆ ภายใต้การควบคุมของผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล

1. มีความรู้ที่ถูกต้องเรื่องจัดเก็บอุปกรณ์การรักษาพยาบาลชนิดต่างๆ 

2. จัดเก็บอุปกรณ์ตามประเภทเป็นระเบียบและหมวดหมู่

3. แยกเขตจัดเก็บอุปกรณ์อย่างชัดเจน ในเขตสะอาดและในเขตสะอาดปราศจากเชื้อ

4. จัดเก็บอุปกรณ์การรักษาพยาบาลชนิดต่างๆที่ปราศจากเชื้อในตู้มีฝาปิดมิดชิด ไม่ให้เปียกชื้น ใช้ระบบ First-in first-out

5. จัดเก็บอุปกรณ์เครื่องมือเครื่องใช้ทั่วไปสำหรับผู้ป่วยในเขตสะอาด

6. ตรวจสอบวันหมดอายุของอุปกรณ์การรักษาพยาบาลชนิดต่างๆที่ปราศจากเชื้อ หากหมดอายุบันทึกจำนวนส่งหน่วยจ่ายกลางเพื่อทำให้ปราศจากเชื้ออีกครั้ง (Re-sterile)


12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

     1. ขั้นตอนในการจัดทำทะเบียนข้อมูลอุปกรณ์
     2. การจัดลำดับการเบิกจ่ายวัสดุอุปกรณ์
     3. การจำแนกประเภทวัสดุอุปกรณ์ทางการพยาบาลและการแพทย์
     4. การตรวจสอบวัสดุอุปกรณ์ประเภทต่างๆ
     5. การคัดแยกวัสดุอุปกรณ์ติดเชื้อตามมาตรฐานการป้องกันและการแพร่กระจายเชื้อที่หน่วยงานกำหนด
     6. การลงรหัส บันทึกข้อมูลวัสดุอุปกรณ์ประเภทต่างๆ
     7. การประสานงานหน่วยงานที่ส่งซ่อมบำรุงและเบิกจ่ายทดแทนวัสดุอุปกรณ์ประเภทต่างๆ
     8. การจัดเก็บวัสดุอุปกรณ์ตามหลักความสะดวก ความถี่ในการใช้งาน และวันหมดอายุ
     9. การจำแนกประเภทเครื่องมือเครื่องใช้ทั่วไปที่ใช้กับผู้ป่วย อุปกรณ์ทางการพยาบาลและทางการแพทย์
     10. การคัดแยกวัสดุอุปกรณ์ติดเชื้อตามมาตรฐานการป้องกันและการแพร่กระจายเชื้อที่หน่วยงานกำหนด
     11. การทำความสะอาดเครื่องมือเครื่องใช้ทั่วไปที่ใช้กับผู้ป่วย อุปกรณ์ทางการพยาบาลและทางการแพทย์
     12. การจัดเก็บเครื่องมือเครื่องใช้ทั่วไปที่ใช้กับผู้ป่วย และอุปกรณ์ทางการพยาบาลและทางการแพทย์ที่ปราศจากเชื้อ

(ข) ความต้องการด้านความรู้

     1. ความรู้เรื่องการจัดทำทะเบียนข้อมูลอุปกรณ์การรักษาพยาบาลชนิดต่างๆ    
     2. การจำแนกประเภทอุปกรณ์การรักษาพยาบาลชนิดต่างๆเป็นหมวดหมู่
     3. การบันทึกข้อมูลอุปกรณ์การรักษาพยาบาลชนิดต่างๆ
     4. การบันทึกการเบิกจ่ายเพื่อทดแทนกรณีชำรุดจนไม่สามารถซ่อมบำรุง
     5. การบันทึกประวัติการซ่อมบำรุงอุปกรณ์ที่ชำรุด และค่าใช้จ่ายในการซ่อมบำรุง
     6. ความรู้เรื่องการจัดลำดับการเบิกจ่ายอุปกรณ์การรักษาพยาบาลชนิดต่างๆ
     7. วิธีการตรวจสอบประเภทและจำนวนอุปกรณ์การรักษาพยาบาลชนิดต่างๆที่ต้องเบิกจ่าย
     8. วิธีการเบิกจ่ายอุปกรณ์การรักษา พยาบาลชนิดต่างๆถูกต้องตามประเภทและจำนวนให้ครบถ้วน
     9. วิธีการบันทึกการเบิกจ่ายลงในสมุดทะเบียนเบิกจ่ายได้ถูกต้อง
     10. ความรู้เรื่องการเก็บรักษาอุปกรณ์การรักษาพยาบาลชนิดต่างๆ
     11. ความรู้เรื่องการดูแลอุปกรณ์การรักษา พยาบาลชนิดต่างๆให้พร้อมใช้
     12. วิธีการตรวจสอบอุปกรณ์การรักษาพยาบาลชนิดต่างๆให้พร้อมใช้งาน
     13. วิธีการคัดแยกวัสดุอุปกรณ์ที่ชำรุดส่งซ่อมบำรุง
     14. วิธีการเบิกจ่ายวัสดุอุปกรณ์เพื่อทดแทนกรณีชำรุดจนไม่สามารถซ่อมบำรุง
     15. การติดตามการซ่อมบำรุงและการเบิกจ่ายทดแทน
     16. การบันทึกข้อมูลในสมุดทะเบียนการส่งซ่อม
     17. ความรู้ที่ถูกต้องเรื่องการเช็ด, ล้างอุปกรณ์การรักษาพยาบาลชนิดต่างๆให้สะอาด
     18. วิธีการคัดแยกประเภทเครื่องมือ เครื่องใช้ และอุปกรณ์การรักษาพยาบาลชนิดต่างๆ ที่จะทำความสะอาด
     19. วิธีการเช็ด, ล้างเครื่องมือ เครื่องใช้ และอุปกรณ์การรักษาพยาบาลชนิดต่างๆ ให้สะอาดตามมาตรฐานของหน่วยงาน
     20. วิธีคัดแยกเครื่องมือ เครื่องใช้ และอุปกรณ์การรักษาพยาบาลชนิดต่างๆ ที่ชำรุด
     21. การบันทึกข้อมูลและจำนวนเครื่องมือ เครื่องใช้ และอุปกรณ์การรักษาพยาบาลชนิดต่างๆ ที่ชำรุด
     22. การรายงานหัวหน้าเวรทราบ
     23. ความรู้ที่ถูกต้องเรื่องการเตรียมอุปกรณ์การรักษา พยาบาลชนิดต่างๆ
     24. ความรู้ที่ถูกต้องเรื่องการเตรียมอุปกรณ์เครื่องมือเครื่องใช้ทั่วไปที่ใช้กับผู้ป่วย
     25. วิธีการจัดเตรียมอุปกรณ์และเครื่องมือเครื่องใช้การรักษาพยาบาลชนิดต่างๆ ให้ถูกต้อง ครบถ้วนตามประเภทของการทำหัตถการ
     26. การรวบรวมอุปกรณ์และเครื่องมือเครื่องใช้การรักษาพยาบาลชนิดต่างๆที่ใช้แล้วให้ ครบถ้วนตามจำนวนภายหลังการทำหัตถการ
     27. การจัดเตรียมอุปกรณ์และเครื่องมือเครื่องใช้ทั่วไปที่ใช้กับผู้ป่วยให้ถูกต้อง ครบถ้วน
     28. การรวบรวมอุปกรณ์และเครื่องมือเครื่องใช้ทั่วไปที่ใช้กับผู้ป่วยให้ถูกวิธี ครบถ้วนตามจำนวนภายหลังการทำกิจกรรม
     29. ความรู้ที่ถูกต้องเรื่องคัดแยกอุปกรณ์การรักษาพยาบาลชนิดต่างๆ
     30. วิธีการคัดแยกประเภทเครื่องมือเครื่องใช้ ชนิดต่างๆ
     31. วิธีการจัดหมวดหมู่ของอุปกรณ์เครื่องมือเครื่องใช้ทั่วไปที่ใช้กับผู้ป่วย และอุปกรณ์ทางการพยาบาลและทางการแพทย์แยกบริเวณจัดเก็บเป็นสัดส่วน
     32. ความรู้ที่ถูกต้องเรื่องจัดเก็บอุปกรณ์การรักษาพยาบาล ชนิดต่างๆ
     33. วิธีการจัดเก็บอุปกรณ์ตามประเภทเป็นระเบียบและหมวดหมู่
     34. การแยกเขตจัดเก็บอุปกรณ์อย่างชัดเจน ในเขตสะอาดและในเขตสะอาดปราศจากเชื้อ
     35. การจัดเก็บอุปกรณ์การรักษาพยาบาลชนิดต่างๆที่ปราศจากเชื้อในตู้มีฝาปิดมิดชิด ไม่ให้เปียกชื้นใช้ระบบ first-in first-out
     36. การจัดเก็บอุปกรณ์เครื่องมือเครื่องใช้ทั่วไปสำหรับผู้ป่วยในเขตสะอาด
     37. วิธีการตรวจสอบวันหมดอายุของอุปกรณ์การรักษาพยาบาลชนิดต่างๆ ที่ปราศจากเชื้อหากหมดอายุบันทึกจำนวนส่งหน่วยจ่ายกลางเพื่อทำให้ปราศจากเชื้ออีกครั้ง (Re-sterile)


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

    หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมินและควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)
    (ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)
        1. เอกสาร/หลักฐานรับรองการทำงาน
        2. เอกสาร/หลักฐานการอบรมเชิงปฏิบัติการ
        3. แฟ้มสะสมผลงาน และ/หรือ
        4. เอกสาร/หลักฐานที่เกี่ยวข้อง
    (ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)
        ผลการทดสอบความรู้
    (ค) คำแนะนำในการประเมิน    
        ผู้เข้ารับการประเมินต้องผ่านการประเมินที่ครอบคลุมในทุกสมรรถนะย่อยขอบเขตความรู้และทักษะที่กำหนดในกรณีที่ผู้รับการประเมินผ่านไม่ครบตามเกณฑ์กำหนดผู้ประเมินต้องแจ้งหน่วยสมรรถนะและสมรรถนะย่อยที่ไม่ผ่านให้ผู้รับการประเมินไปทบทวนสมรรถนะที่ยังไม่ผ่านและสามารถกลับมาทดสอบสมรรถนะใหม่อีกครั้ง
    (ง) วิธีการประเมิน
        1. ผู้ประเมินทำการประเมินการปฏิบัติงานจริงที่ต้องการของผู้เข้าทดสอบโดยใช้แบบบันทึกรายการจากการสังเกตและเอกสารหลักฐานที่จำเป็นในการปฏิบัติงานต่างๆ
        2. ผู้ประเมินทำการประเมินความรู้ผู้เข้าทดสอบโดยใช้แบบทดสอบความรู้ข้อเขียน


15. ขอบเขต (Range Statement)

    การปฏิบัติงานภายในขอบเขตดังนี้
    จัดทำทะเบียนข้อมูลอุปกรณ์ภายใต้การควบคุมของผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล โดยบันทึกข้อมูลอุปกรณ์ได้แก่ คุณสมบัติ จำนวน วันจัดซื้อ ราคา, วันจำหน่าย ฯลฯ
    การจัดอุปกรณ์การรักษาพยาบาลชนิดต่างๆ ภายใต้การควบคุมของผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล ได้แก่ ชุดเจาะหลัง ชุดผ่าตัดเส้นเลือด ฯลฯ
    อุปกรณ์และเครื่องมือเครื่องใช้ทั่วไปที่ใช้กับผู้ป่วย ได้แก่ แก้วน้ำ เหยือกน้ำ ถาดใส่แก้วน้ำและเหยือกน้ำ กะละมังอาบน้ำ หม้อนอน เสาน้ำเกลือ เป็นต้น
    คัดแยกประเภทเครื่องมือเครื่องใช้ ชนิดต่างๆได้แก่ เครื่องมือเครื่องใช้ทั่วไปที่ใช้กับผู้ป่วย,อุปกรณ์ทางการพยาบาลและทางการแพทย์ ซึ่งประเภทอุปกรณ์การรักษาพยาบาลชนิดต่างๆ แบ่งตามแนวคิดของ 
Dr. Sparulding ได้ 3 ประเภท ดังนี้
          1. Critical items เป็นอุปกรณ์การรักษาพยาบาล หรือเครื่องมือทางการแพทย์ที่ต้องสอดใส่เข้าสู่เนื้อเยื่อที่ปราศจากเชื้อของร่างกายหรือเข้าสู่กระแสโลหิต อุปกรณ์ประเภทนี้ได้แก่ เครื่องมือผ่าตัด เข็ม อวัยวะเทียม สายสวนหัวใจ สายสวนปัสสาวะ อุปกรณ์เหล่านี้ต้องได้รับการทำให้ปราศจากเชื้อด้วยความร้อนสูง และความร้อนต่ำในอุปกรณ์ที่ทนความร้อนสูงไม่ได้ เช่น การอบแก๊ส
           2. Semi Critical items เป็นอุปกรณ์การรักษาพยาบาลที่ต้องสัมผัสกับเนื้อเยื่อบุของร่ายกาย (mucous membrane) หรือผิวหนังที่มีบาดแผล มีรอยถลอก อุปกรณ์ประเภทนี้ต้องไม่มีเชื้อจุลชีพ อุปกรณ์ในกลุ่มนี้ได้แก่ อุปกรณ์เครื่องช่วยหายใจ อุปกรณ์ endoscope และอุปกรณ์ดมยาสลบ ปรอทวัดไข้การทำลายเชื้อในอุปกรณ์ประเภทนี้ ควรทำลายเชื้อโดยวิธี การทำลายเชื้อระดับสูง (high level disinfection) โดยใช้น้ำยาทำลายเชื้อระดับสูง ได้แก่ 2% glutaraldehyde หรือการทำให้ปราศจากเชื้อด้วยการอบแก๊สอุณหภูมิต่ำ เช่น การอบแก๊สแอทธีลีนออกไชด์ และแก๊สไฮโดรเจนเพอร์ออกไซด์
          3. Non Critical items เป็นอุปกรณ์การรักษาพยาบาล ที่ต้องสัมผัสผิวหนังตามปกติ ผิวหนังไม่มีบาดแผลถลอก ไม่ได้สัมผัสเยื่อบุร่างกาย อุปกรณ์ประเภทนี้ได้แก่ หม้อนอน เครื่องวัดความดันโลหิต ไม้ค้ำยัน ภาชนะใส่อาหาร โต๊ะข้างเตียง แว่นตา การทำลายเชื้อสามารถทำได้ในหอผู้ป่วยโดยใช้วิธี Low level disinfection แยกเขตจัดเก็บอุปกรณ์อย่างชัดเจน ในเขตสะอาด และในเขตสะอาดปราศจากเชื้อ ซึ่งเขตสะอาด หมายถึง เขตที่เก็บอุปกรณ์การรักษาพยาบาลต่างๆประเภทที่ 3 เขตสะอาดปราศจากเชื้อ หมายถึง เขตที่เก็บอุปกรณ์การรักษาพยาบาลต่างๆประเภทที่ 1 และ 2  
             จัดเก็บอุปกรณ์การรักษาพยาบาลชนิดต่างๆที่ปราศจากเชื้อในตู้มีฝาปิดมิดชิด ไม่ให้เปียกชื้น ใช้ระบบ
First-in first-out (FIFO) หมายถึง อุปกรณ์ที่ผ่านการทำให้ปราศจากเชื้อก่อน ควรถูกนำไปใช้ก่อน ซึ่งเป้นการจัดเก็บอุปกรณ์เพื่อสะดวกในการหยิบใช้อาจจัดเป็นระบบซ้ายไปขวา หรือหน้าไปหลัง คือ อุปกรณ์ที่ผ่านการทำให้ปราศจากเชื้อมาใหม่จัดเรียงไว้ด้านซ้าย หรือด้านหลังของชั้นวางของ เมื่อหยิบอุปกรณ์ไปใช้ให้หยิบด้านขวาก่อน หรือหยิบด้านหน้าก่อน ขึ้นอยู่กับระบบที่จัดวางตามนโยบายของหน่วยงาน
             จัดเก็บอุปกรณ์เครื่องมือเครื่องใช้ทั่วไปสำหรับผู้ป่วยในเขตสะอาดตามนโยบายของหน่วยงานซึ่งระบบการเก็บอุปกรณ์ที่ผ่านการทำให้ปราศจากเชื้อ แบ่งออกได้เป็น 2 ระบบคือ
        1. Open shelving เป็นวิธีที่นิยมใช้โดยทั่วไป เพราะประหยัด ทำความสะอาดง่าย สะดวกในการหยิบจับอุปกรณ์ และไม่เปลืองพื้นที่ ชั้นวางของควรออกแบบให้สูงจากพื้นอย่างน้อย 8 นิ้วฟุต และวางให้ห่างจากผนังอย่างน้อย 2 นิ้วฟุต ห่างจากเพดานอย่างน้อย 18 นิ้วฟุต ชั้นวางของควรอยู่ห่างจากอ่างล้างมือ หน้าต่าง ประตู และช่องระบายอากาศ
        2. Closed shelving ระบบปิดหรือตู้ สามารถเก็บอุปกรณ์จะช่วยป้องกันการปนเปื้อนได้ดีกว่าชั้นวางของ แต่มีราคาแพงกว่าชั้นวางของ ส่วนใหญ่จึงใช้สำหรับเก็บอุปกรณ์ที่ไม่ค่อยได้ใช้บ่อย บริเวณที่เก็บห่ออุปกรณ์ที่ปราศจากเชื้อควรทำความสะอาดให้ดีที่สุดเพราะฝุ่นละออง แมลง และสัตว์กัดแทะอาจนำเชื้อจุลชีพสู่ห่ออุปกรณ์ได้  ควรทำความสะอาดพื้นทุกวัน  บริเวณที่ปฏิบัติงานควรเช็ดด้วยน้ำยาทำลายเชื้อ ชั้นและภาชนะบรรจุห่ออุปกรณ์ที่ปราศจากเชื้อ ควรเช็ดให้สะอาดเป็นประจำ  ขณะทำความสะอาดชั้นวางของควรหยิบจับห่ออุปกรณ์ให้น้อยที่สุด และเมื่อทำความสะอาดชั้นวางของควรรอให้พื้นแห้งก่อนที่จะนำห่ออุปกรณ์ไปวาง ควรตรวจดูและทำความสะอาดเพดาน ช่องระบายอากาศ หลอดไฟ พัดลมดูดอากาศ เป็นระยะๆ รถที่นำส่งอุปกรณ์ควรล้างทำความสะอาดเป็นประจำ
บริเวณที่เหมาะสมในการเก็บห่ออุปกรณ์ที่ผ่านกระบวนการทำให้ปราศจากเชื้อแล้วมีลักษณะ ดังนี้
        1. เป็นบริเวณที่ไม่มีคนพลุกพล่าน ไม่มีลมพัดผ่าน
        2. ควรอยู่ใกล้กับบริเวณที่ทำให้ปราศจากเชื้อ และควรมีการควบคุมอุณหภูมิให้อยู่ระหว่าง 18-22 องศาเซลเซียส และความชื้นสัมพันธ์ 35-70%
        3. อยู่ห่างจากอ่างล้างมือ อ่างล้างเครื่องมือ หรือท่อประปา
        4. สามารถทำความสะอาดได้ง่าย การทำความสะอาดควรใช้วิธีเช็ดถู
    ตรวจสอบวันหมดอายุของอุปกรณ์การรักษาพยาบาลชนิดต่างๆที่ปราศจากเชื้อ หากหมดอายุบันทึกจำนวนส่งหน่วยจ่ายกลางเพื่อทำให้ปราศจากเชื้ออีกครั้ง (Re-sterile) วันหมดอายุนี้กำหนดโดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของโรงพยาบาล ซึ่งตามหลักการกำหนดระยะการเก็บวันหมดอายุของอุปกรณ์/เครื่องมือ (เมื่อเก็บที่อุณหภูมิ 18-22 °C ความชื้นสัมพัทธ์ 35-70% และไม่มีลมพัดผ่าน) โดยกำหนดมาตรฐาน ดังนี้
        1. วิธีนึ่งด้วยไอน้ำห่อผ้า 2 ชั้น มีกำหนดวันหมดอายุ 14 วัน 
        2. วิธีนึ่งด้วยไอน้ำห่อผ้า 2 ชั้น ใส่ถุงพลาสติก มีกำหนดวันหมดอายุ 45 วัน
        3. วิธีนึ่งด้วยไอน้ำใส่ซองพลาสติกอีกด้านหนึ่งเป็นกระดาษ มีกำหนดวันหมดอายุ 45 วัน
        4. วิธีนึ่งอบแก๊ส EO และ Plasma ใส่ซองพลาสติกอีกด้านหนึ่งเป็นกระดาษ มีกำหนดวันหมดอายุ 1 ปี
    (ก) คำแนะนำ
ไม่มี
    (ข) คำอธิบายรายละเอียด
        1. วัสดุอุปกรณ์ทางการพยาบาลและการแพทย์ หมายถึง ครุภัณฑ์การแพทย์, วัสดุการแพทย์, เวชภัณฑ์มิใช่ยา วัสดุที่เกี่ยวข้องกับการดูแลผู้ป่วย ได้แก่ เสื้อผ้า ผ้าปูที่นอน ปลอกหมอน ผ้ายางผ้าขวางเตียง ฯลฯ
        2. การทําความสะอาด หมายถึง วิธีการขจัดอินทรียสารและสิ่งสกปรกต่างๆ ออกจากอุปกรณ์ เครื่องมือเครื่องใช้ การทําความสะอาดเครื่องมือจะต้องทําก่อนการทําลายเชื้อและการทําให้ปราศจากเชื้อ    
        3. เขตเก็บของปราศจากเชื้อ (Sterile storage zone) หมายถึง เขตที่จัดเก็บเครื่องมือเครื่องใช้ทางการพยาบาลและการแพทย์ที่ผ่านการทำให้ปราศจากเชื้อ
        4. เขตสะอาด (Clean Zone) หมายถึง สำนักงาน ห้องพักบุคลากร ห้องประชุม และบริเวณจัดเก็บอุปกรณ์เครื่องมือเครื่องใช้ทั่วไปสำหรับผู้ป่วย


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

กระบวนการและวิธีการประเมินให้ดูในคู่มือการประเมินโดยประเมินด้วยการทดสอบความรู้และทักษะการปฏิบัติงาน


ยินดีต้อนรับ