หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

เก็บรักษาอาหารเพื่อสุขภาพตามหลักสุขาภิบาลอาหาร (เก็บรักษาวัตถุดิบ อาหารระหว่างปรุง และ อาหารปรุงสำเร็จ)

สาขาวิชาชีพบริการสุขภาพ


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ HLT-TPCX-530A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ เก็บรักษาอาหารเพื่อสุขภาพตามหลักสุขาภิบาลอาหาร (เก็บรักษาวัตถุดิบ อาหารระหว่างปรุง และ อาหารปรุงสำเร็จ)

3. ทบทวนครั้งที่ - / 2565

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ผู้ปรุงประกอบอาหารเพื่อสุขภาพ (Healthy Food Producer)

1 5120 พ่อครัวแม่ครัว

6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)

          เป็นผู้มีความรู้และทักษะในการเก็บรักษาอาหารเพื่อสุขภาพ ได้แก่ การเลือกวิธีการเก็บรักษาวัตถุดิบและการเก็บรักษาอาหารปรุงสำเร็จเพื่อให้ปลอดภัยต่อการบริโภค ได้อย่างถูกต้องตามหลักสุขาภิบาลอาหาร


7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)

ผู้ปรุงประกอบอาหารเพื่อสุขภาพ (Healthy Food Producer)


9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)

N/A


10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)

N/A


11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria)
0320301

เก็บรักษาวัตถุดิบอาหารก่อนการปรุงประกอบอาหารเพื่อสุขภาพตามหลักอาหารปลอดภัย

1) ระบุวิธีการเก็บรักษาวัตถุดิบอาหารก่อนการปรุงประกอบอาหารได้ถูกต้องตามหลักอาหารปลอดภัย

2) เลือกวิธีการเก็บรักษาวัตถุดิบอาหารเพื่อให้ปลอดภัยต่อการบริโภคได้เหมาะสมกับประเภทวัตถุดิบ

0320302

เก็บรักษาอาหารปรุงสำเร็จเพื่อสุขภาพตามหลักอาหารปลอดภัย

1) ระบุวิธีการเก็บรักษาอาหารปรุงสำเร็จได้ถูกต้องตามหลักอาหารปลอดภัย

2) เลือกวิธีการเก็บรักษาอาหารเพื่อให้ปลอดภัยต่อการบริโภคได้เหมาะสมกับประเภทอาหาร


12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

ไม่มี


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1)    มีทักษะในการเก็บรักษาวัตถุดิบอาหารก่อนการปรุงประกอบอาหารเพื่อสุขภาพตามหลักอาหารปลอดภัย
2)    มีทักษะในการเก็บรักษาอาหารปรุงสำเร็จเพื่อสุขภาพตามหลักอาหารปลอดภัย
 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1)    มีความรู้เรื่องในการเก็บรักษาวัตถุดิบอาหารก่อนการปรุงประกอบอาหารเพื่อสุขภาพตามหลักอาหารปลอดภัย
2)    มีความรู้เรื่องการเก็บรักษาอาหารปรุงสำเร็จเพื่อสุขภาพตามหลักอาหารปลอดภัย
 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

          หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมินและควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance criteria) และความรู้ที่ต้องการ (Required skills and knowledge)
(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

  1. เอกสารรับรองการปฏิบัติงานหรือประวัติการทำงาน
  2. ผลการทดสอบความรู้ (ปรนัย 4 ทางเลือก)

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

  • ผลการทดสอบความรู้ (ปรนัย 4 ทางเลือก)

(ค) คำแนะนำในการประเมิน

  • ผู้เข้ารับการประเมินต้องผ่านการประเมินที่ครอบคลุมในทุกขอบเขตความรู้และทักษะที่กำหนดในทุกสมรรถนะย่อย 

(ง) วิธีการประเมิน    

  • ผู้ประเมินดำเนินการประเมินความรู้และทักษะของผู้เข้ารับการประเมินโดยใช้แบบทดสอบข้อเขียน(อัตนัย) โดยพิจารณาจากร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานด้านปฏิบัติงาน และหลักฐานด้านความรู้ 

15. ขอบเขต (Range Statement)

เก็บรักษาวัตถุดิบอาหารก่อนการปรุงประกอบและอาหารปรุงสำเร็จเพื่อสุขภาพตามหลักอาหารปลอดภัย
(ก) คำแนะนำ            

  • ผู้เข้ารับการประเมินต้องสามารถระบุและเลือกวิธีการเก็บรักษาวัตถุดิบอาหารและอาหารปรุงสำเร็จเพื่อสุขภาพเพื่อให้ปลอดภัยต่อการบริโภคได้เหมาะสมกับประเภทวัตถุดิบและประเภทของอาหาร

(ข) คำอธิบายรายละเอียด

  • การเก็บรักษาอาหารเพื่อสุขภาพตามหลักสุขาภิบาลอาหาร  หมายถึง การเก็บรักษาวัตถุดิบ อาหารระหว่างปรุง และ อาหารปรุงสำเร็จ

16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)

N/A


17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)

N/A


18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1 เครื่องมือประเมิน (เก็บรักษาวัตถุดิบอาหารก่อนการปรุงประกอบอาหารเพื่อสุขภาพตามหลักอาหารปลอดภัย)

  • แบบทดสอบข้อเขียน (ปรนัย 4 ทางเลือก) 

18.2 เครื่องมือประเมิน (เก็บรักษาอาหารปรุงสำเร็จเพื่อสุขภาพตามหลักอาหารปลอดภัย)

  • แบบทดสอบข้อเขียน (ปรนัย 4 ทางเลือก) 

            ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน


ยินดีต้อนรับ