หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

สื่อสารข้อมูลที่ถูกต้องตามหลักกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับอาหารและโภชนาการ

สาขาวิชาชีพบริการสุขภาพ


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ HLT-HWRW-524A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ สื่อสารข้อมูลที่ถูกต้องตามหลักกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับอาหารและโภชนาการ

3. ทบทวนครั้งที่ - / 2565

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ผู้ให้คำแนะนำด้านอาหารและโภชนาการ (Food and Nutrition Coach/Advisor)

1 2265 ผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับอาหารเพื่อสุขภาพและนักโภชนาการ

6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)

          เป็นผู้มีความรู้และทักษะในการสื่อสารข้อมูลที่ต้องตามหลักกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับอาหารและโภชนาการ ได้แก่ การเลือกใช้สื่อดั้งเดิมและสื่อสังคมออนไลน์ (Social medias) ได้อย่างถูกต้องตามหลักกฎหมายที่เกี่ยวข้อง และเหมาะสมตามลักษณะกลุ่มเป้าหมาย


7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)

ผู้ให้คำแนะนำด้านอาหารและโภชนาการ (Food and Nutrition Coach/Advisor)


9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)

N/A


10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)

ข้อกำหนดและกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับอาหารและโภชนาการ รวมถึงกฎหมาย พระราชบัญญัติคอมพิวเตอร์ การโฆษณา 


11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria)
0220301

ใช้สื่อดั้งเดิมในการสื่อสาร 

1) เลือกใช้สื่อดั้งเดิมได้ถูกต้องตามวัยและภาวะสุขภาพของกลุ่มเป้าหมาย 

2) เลือกใช้สื่อดั้งเดิมได้ถูกต้องตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการโฆษณาอาหารและโภชนาการ

0220302

ใช้สื่อสังคมออนไลน์ (Social medias) ในการสื่อสาร

1) เลือกใช้สื่อ social mediaได้ถูกต้องตามวัยและภาวะสุขภาพของกลุ่มเป้าหมาย 

2) เลือกใช้สื่อ social media ได้ถูกต้องตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการโฆษณาอาหารและโภชนาการ


12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

ไม่มี


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1) มีทักษะการสื่อสารและการนำเสนอ (การพูด การเขียน และการฟัง)
2) มีทักษะการจัดทำสื่อ
 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1) ความรู้ด้านกฎหมายอาหารและยา ในด้านการโฆษณาและประชาสัมพันธ์
2) ความรู้เกี่ยวกับพระราชบัญญัติคอมพิวเตอร์เบื้องต้น
 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

          หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมินและควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance criteria) และความรู้ที่ต้องการ (Required skills and knowledge)
(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน ( Performance Evidence )

  1. เอกสารรับรองการปฏิบัติงานหรือประวัติการทำงาน
  2. แฟ้มสะสมผลงาน (portfolio) 

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

  • ผลการทดสอบความรู้จากการสอบสัมภาษณ์ (วิเคราะห์กรณีศึกษา)

(ค) คำแนะนำในการประเมิน

  • ผู้เข้ารับการประเมินต้องผ่านการประเมินที่ครอบคลุมในทุกขอบเขตความรู้และทักษะที่กำหนดในทุกสมรรถนะย่อย 

(ง) วิธีการประเมิน    

  • ผู้ประเมินดำเนินการประเมินความรู้และทักษะของผู้เข้ารับการประเมินโดยใช้การสอบสัมภาษณ์ (วิเคราะห์กรณีศึกษา) และแฟ้มสะสมผลงาน โดยพิจารณาจากร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานด้านปฏิบัติงาน และหลักฐานด้านความรู้ 

15. ขอบเขต (Range Statement)

สื่อสารข้อมูลอาหารและโภชนาการ ด้วยสื่อดั้งเดิมและสื่อสังคมออนไลน์ (Social medias) ตามหลักกฎหมายที่เกี่ยวข้อง และตามลักษณะกลุ่มเป้าหมาย
(ก) คำแนะนำ    
1) ผู้เข้ารับการประเมินต้องสามารถ        

  • เผยแพร่ข้อมูลที่ถูกต้องภายใต้ข้อกำหนดและกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับอาหารและโภชนาการ รวมถึงกฎหมาย พระราชบัญญัติคอมพิวเตอร์ การโฆษณา และอื่น
  • สื่อสารข้อมูลทางด้านโภชนาการเพื่อการส่งเสริมสุขภาพหรือป้องกันโรค เช่น ข้อแนะนำการบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพที่ดี หรือ ธงโภชนาการ เป็นต้น 

2) ข้อมูลอาหารและโภชนาการของหน่วยสมรรถนะนี้ ผู้เข้ารับการประเมินยังไม่สามารถให้คำแนะนำเชิงลึกด้านโภชนบำบัดหรือให้คำแนะสำหรับผู้ป่วยได้ 
(ข) คำอธิบายรายละเอียด

  • สื่อดั้งเดิม อาทิ วิทยุ โทรทัศน์ ป้ายโฆษณา แผ่นพับ ใบปลิว นิทรรศการ อบรม สัมมนา เป็นต้น
  • สื่อ social medias อาทิ facebook, Instragram, TikTok, Youtube เป็นต้น

16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)

N/A


17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)

N/A


18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1 เครื่องมือประเมิน (ใช้สื่อดั้งเดิมในการสื่อสาร)

  • แบบประเมินการสัมภาษณ์ (การวิเคราะห์กรณีศึกษา)

18.2 เครื่องมือประเมิน (ใช้สื่อสังคมออนไลน์ในการสื่อสาร)

  • แบบประเมินการสัมภาษณ์ (การวิเคราะห์กรณีศึกษา)

            ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน
 


ยินดีต้อนรับ