หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ร่วมวางแผนการสร้างความรอบรู้ด้านอาหารและโภชนาการเพื่อการมีสุขภาพที่ดีของประชาชนและชุมชน

สาขาวิชาชีพบริการสุขภาพ


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ HLT-LXQU-515A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ร่วมวางแผนการสร้างความรอบรู้ด้านอาหารและโภชนาการเพื่อการมีสุขภาพที่ดีของประชาชนและชุมชน

3. ทบทวนครั้งที่ - / 2565

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ผู้ส่งเสริมโภชนาการชุมชน (Community Nutrition Technician)

1 3253 เจ้าหน้าที่ด้านสุขภาพของชุมชน

6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)

          เป็นผู้มีความรู้และทักษะในการร่วมวางแผนสร้างความรอบรู้ด้านอาหารและโภชนาการเพื่อการมีสุขภาพที่ดีของประชาชน ได้แก่ การกำหนดกลุ่มเป้าหมายและขอบเขตเนื้อหาด้านอาหารและโภชนาการ การจัดเตรียมข้อมูลพื้นฐานด้านอาหารและโภชนาการ การจัดทำแผนดำเนินงานสร้างความรอบรู้ การสรุปและนำเสนอข้อมูล ได้อย่างถูกต้องตามหลักวิชาการและเหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย


7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)

ผู้ส่งเสริมโภชนาการชุมชน (Community Nutrition Technician)


9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)

N/A


10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)

N/A


11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria)
0110101

กำหนดกลุ่มเป้าหมายและขอบเขตเนื้อหาด้านอาหารและโภชนาการ

1) กำหนดกลุ่มเป้าหมายสำหรับการสร้างความรอบรู้ด้านอาหารและโภชนาการได้ถูกต้องตามหลักวิชาการ

2) กำหนดขอบเขตเนื้อหาด้านอาหารและโภชนาการสำหรับการสร้างความรอบรู้ด้านอาหารและโภชนาการได้ถูกต้องตามหลักวิชาการและเหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย

0110102

ร่วมจัดเตรียมข้อมูลพื้นฐานด้านอาหารและโภชนาการตามหลักวิชาการ

1) ศึกษาและรวบรวมข้อมูลด้านอาหารและโภชนาการได้ถูกต้องตามหลักวิชาการ

2) กลั่นกรองข้อมูลด้านอาหารและโภชนาการเบื้องต้นได้ถูกต้องตามหลักวิชาการ

3) ปรับเปลี่ยนภาษาวิชาการให้เป็นภาษาของผู้รับสารได้เหมาะสมตามกลุ่มเป้าหมาย

0110103

ร่วมจัดทำแผนการดำเนินงานสร้างความรอบรู้ด้านอาหารและโภชนาการ

1) กำหนดกิจกรรม วิธีการดำเนินงาน และวิธีการติดตามประเมินผลแผนงานสร้างความรอบรู้ด้านอาหารและโภชนาการได้อย่างถูกต้องตามหลักวิชาการ และเหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย

2) สรุปและนำเสนอแผนการดำเนินงานสร้างความรอบรู้ต่อนักโภชนาการหรือหน่วยงานได้อย่างถูกต้องตามหลักวิชาการ


12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

-


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1) มีทักษะในการกำหนดกลุ่มเป้าหมาย
2) มีทักษะในการกำหนดขอบเขตเนื้อหาด้านอาหารและโภชนาการ
3) มีทักษะในการจัดเตรียมข้อมูล
4) มีทักษะในการจัดทำแผนการสร้างความรอบรู้
5) มีทักษะในการสรุปและนำเสนอแผนงาน
6) มีทักษะในการทำงานเป็นทีม
 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1) ความรู้เกี่ยวกับนิยามความรอบรู้ด้านอาหารและโภชนาการ (Food and nutrition literacy)
2) ความรู้เกี่ยวกับแนวทางการสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพ 
 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

          หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมินและควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance criteria) และความรู้ที่ต้องการ (Required skills and knowledge)
(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

  1. หลักฐานการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานสร้างความรอบรู้สุขภาพ เช่น หลักฐานการเป็นคณะทำงานโครงการเกี่ยวกับการสร้างความรอบรู้สุขภาพเป็นต้น
  2. เอกสารรับรองการปฏิบัติงานหรือประวัติการทำงาน

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

  1. ผลการทดสอบความรู้ด้วยข้อสอบอัตนัย
  2. หลักฐานการเข้าร่วมอบรมความรู้ด้านอาหารและโภชนาการ อย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง

(ค) คำแนะนำในการประเมิน

  • ผู้เข้ารับการประเมินต้องผ่านการประเมินที่ครอบคลุมในทุกขอบเขตความรู้และทักษะที่กำหนดในทุกสมรรถนะย่อย 

(ง) วิธีการประเมิน    

  • ผู้ประเมินดำเนินการประเมินความรู้ผู้เข้ารับการประเมินโดยใช้แบบทดสอบอัตนัย โดยพิจารณาจากร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานด้านปฏิบัติงาน และหลักฐานด้านความรู้ 

15. ขอบเขต (Range Statement)

          ร่วมวางแผนสร้างความรอบรู้ด้านอาหารและโภชนาการเพื่อการมีสุขภาพที่ดีของประชาชน โดยกำหนดกลุ่มเป้าหมายและขอบเขตเนื้อหาด้านอาหารและโภชนาการ การจัดเตรียมข้อมูลพื้นฐานด้านอาหารและโภชนาการ จัดทำแผนดำเนินงานสร้างความรอบรู้โดยปรับเปลี่ยนภาษาวิชาการให้เป็นภาษาของผู้รับสารได้เหมาะสมตามกลุ่มเป้าหมาย กำหนดกิจกรรม วิธีการดำเนินงาน และวิธีการติดตามประเมินผลแผนงานสร้างความรอบรู้ด้านอาหารและโภชนาการ สรุปและนำเสนอข้อมูลตามหลักวิชาการและเหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย

(ก) คำแนะนำ            
          ผู้เข้ารับการประเมินต้องสามารถกำหนดกลุ่มเป้าหมายและขอบเขตเนื้อหาด้านอาหารและโภชนาการ ศึกษา รวบรวม และกลั่นกรองข้อมูลด้านอาหารและโภชนาการตามหลักวิชาการ และปรับเปลี่ยนภาษาวิชาการให้เป็นภาษาของผู้รับสารได้เหมาะสมตามกลุ่มเป้าหมาย ร่วมจัดทำแผนการดำเนินงานสร้างความรอบรู้ด้านอาหารและโภชนาการ รวมทั้งสรุปและนำเสนอแผนการดำเนินงานสร้างความรอบรู้ต่อนักโภชนาการหรือหน่วยงานได้อย่างถูกต้องตามหลักวิชาการ
(ข)    คำอธิบายรายละเอียด N/A


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)

N/A


17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)

N/A


18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1 เครื่องมือประเมิน (กำหนดกลุ่มเป้าหมายและขอบเขตเนื้อหาด้านอาหารและโภชนาการ)

  • แบบทดสอบอัตนัย

    18.2 เครื่องมือประเมิน (ร่วมจัดเตรียมข้อมูลพื้นฐานด้านอาหารและโภชนาการตามหลักวิชาการ)

  • แบบทดสอบอัตนัย

    18.3 เครื่องมือประเมิน (ร่วมจัดทำแผนการดำเนินงานสร้างความรอบรู้ด้านอาหารและโภชนาการ)

  • แบบทดสอบอัตนัย

            ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน
 


ยินดีต้อนรับ