หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

บำรุงรักษาระบบไฟฟ้าเรือยอร์ช

สาขาวิชาชีพการเดินเรือ


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ MRT-MUTQ-137A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ บำรุงรักษาระบบไฟฟ้าเรือยอร์ช

3. ทบทวนครั้งที่ N/A

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

รหัส ISCO-08 2144 นายช่างกลเรือปฎิบัติการ/ชำนาญการ/ชำนาญการพิเศษ        

ช่างซ่อมบำรุงเรือยอร์ช ระดับ 3


6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)

ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้สามารถบำรุง รักษาระบบไฟฟ้าเรือยอร์ชตามคู่มือกำหนด โดยมีความรู้พื้นฐานงานไฟฟ้าในเรือ อ่านแบบไฟฟ้า ข้อบังคับในการติดตั้งระบบไฟฟ้าในเรือ สามารถใช้เครื่องมือ อุปกรณ์ตรวจสอบ บำรุงรักษา แก้ไขข้อขัดข้องระบบเครื่องกลไฟฟ้า แผงควบคุมไฟฟ้า การประจุไฟฟ้าและระบบสายส่งกำลังไฟฟ้าในเรือยอร์ชและรายงานผลการปฏิบัติงานได้ตามมาตรฐานกำหนด


7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)

กลุ่มอาชีพช่างซ่อมบำรุงเรือยอร์ช


9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)

-N/A-


10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
  1. คู่มือซ่อม บำรุงรักษาเรือยอร์ช
  2. คู่มือที่เกี่ยวข้องกับมาตรฐานการติดตั้งระบบไฟฟ้า

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria)
YR.8.1.1

มีความรู้เกี่ยวกับหลักการบำรุงรักษาระบบไฟฟ้าเรือยอร์ช

อธิบายหลักการพื้นฐานงานไฟฟ้าในเรือ

อ่านแบบระบบไฟฟ้าในเรือ

ระบุข้อบังคับในการติดตั้งระบบไฟฟ้าในเรือ

อธิบายหลักการบำรุงรักษาระบบไฟฟ้าเรือยอร์ช

อธิบายหลักความปลอดภัยในการบำรุงรักษาระบบไฟฟ้าบนเรือยอร์ช

YR.8.1.2

บำรุงรักษาระบบไฟฟ้าเรือยอร์ช ตามคู่มือกำหนด

เลือกใช้เครื่องมือตรวจสอบระบบไฟฟ้า (แผงควบคุมไฟฟ้า การประจุไฟฟ้าและระบบสายส่งกำลังไฟฟ้า)

บำรุงรักษาอุปกรณ์ไฟฟ้าเรือในเรือยอร์ช (เครื่องกลไฟฟ้า แผงควบคุมไฟฟ้า การประจุไฟฟ้าและระบบสายส่งกำลังไฟฟ้า)

แก้ไขข้อขัดข้องอุปกรณ์ไฟฟ้าเรือในเรือยอร์ช (เครื่องกลไฟฟ้า แผงควบคุมไฟฟ้า การประจุไฟฟ้าและระบบสายส่งกำลังไฟฟ้า)

ตรวจสอบและรายงานผลการปฏิบัติงานบำรุงรักษาอุปกรณ์ไฟฟ้าเรือในเรือยอร์ช (เครื่องกลไฟฟ้า แผงควบคุมไฟฟ้า การประจุไฟฟ้าและระบบสายส่งกำลังไฟฟ้า)


12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

-N/A-


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. ทักษะการบำรุงรักษาอุปกรณ์ไฟฟ้าเรือในเรือยอร์ช เครื่องกลไฟฟ้า แผงควบคุมไฟฟ้า การประจุไฟฟ้าและระบบสายส่งกำลังไฟฟ้า

2. ทักษะการแก้ไขข้อขัดข้องอุปกรณ์ไฟฟ้าเรือในเรือยอร์ช เครื่องกลไฟฟ้า แผงควบคุมไฟฟ้า การประจุไฟฟ้าและระบบสายส่งกำลังไฟฟ้า

3. ทักษะการตรวจสอบและรายงานผลการปฏิบัติงานบำรุงรักษาอุปกรณ์ไฟฟ้าเรือในเรือยอร์ช เครื่องกลไฟฟ้า แผงควบคุมไฟฟ้า การประจุไฟฟ้าและระบบสายส่งกำลังไฟฟ้า

4. ทักษะการใช้อุปกรณ์ป้องกันภัยส่วนบุคคลในการปฎิบัติงาน

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. ความรู้พื้นฐานในงานไฟฟ้าในเรือ อ่านแบบไฟฟ้า ข้อบังคับในการติดตั้งระบบไฟฟ้าในเรือ

2. ความรู้เกี่ยวกับเครื่องมือตรวจสอบเครื่องกลไฟฟ้า แผงควบคุมไฟฟ้า การประจุไฟฟ้าและระบบสายส่งกำลังไฟฟ้า

3. ความรู้เกี่ยวกับความปลอดภัยในการปฎิบัติงานและการเลือกใช้อุปกรณ์ป้องกันภัยส่วนบุคคลในการปฎิบัติงาน


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการจะใช้ในการพิจารณาประกอบร่วมกันกับการประเมินตามเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รวมทั้งทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

1. หลักฐาน/หนังสือรับรองการทำงาน หรือการผ่านงาน

2. หนังสือรับรองคุณวุฒิที่เป็นที่ยอมรับ (ถ้ามี)

3. แฟ้มสะสมงาน ได้แก่ เอกสารผ่านการฝึกอบรมในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงาน เอกสารตัวอย่างโครงการ หรือผลงานของผู้ปฏิบัติงานที่เคยดำเนินงานมาแล้ว รวมถึง รางวัลหรือผลงานในการปฏิบัติงานด้านที่เกี่ยวข้อง เป็นต้น (ถ้ามี)

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

1. หลักฐานคุณวุฒิการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) สาขาวิชาซ่อมบำรุงเรือ สาขางานซ่อมบำรุงเรือยอร์ช

2. หลักฐานการผ่านการอบรม หรือการประชุมเชิงปฏิบัติการในด้านที่เกี่ยวข้องกับหน่วยสมรรถนะ (ถ้ามี)

3. ผลการสอบข้อเขียน (ถ้ามี)

4. ผลการทดสอบสัมภาษณ์/ปฏิบัติ (ถ้ามี)

 

(ค) คำแนะนำในการประเมิน

หลักฐานที่ต้องการเพื่อแสดงถึงหน่วยสมรรถนะนี้ ต้องมีความสัมพันธ์และตอบโจทย์ตามข้อกำหนดของหน่วยสมรรถนะย่อย และเกณฑ์การปฏิบัติงานในหน่วยสมรรถนะนี้ โดยหลักฐานในที่นี้ ต้องแสดงถึง

  • ความรู้และทักษะที่เกี่ยวข้อง
  • วิธีการปฏิบัติงานในสถานที่ทำงาน และกฎหมายหรือเกณฑ์ ระเบียบต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง
  • ขอบเขตด้านอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

(ง) วิธีการประเมิน

1.สอบปรนัย

2. สอบสัมภาษณ์

3. สอบสถานการณ์จำลอง

4. สอบข้อเขียน


15. ขอบเขต (Range Statement)

อุปกรณ์ในระบบไฟฟ้าที่ต้องบำรุงรักษา เช่น เครื่องกลไฟฟ้า แผงควบคุมไฟฟ้า การประจุไฟฟ้าและระบบสายส่งกำลังไฟฟ้า


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)

-N/A-


17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)

-N/A-


18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)
  1. ประเมินจากแบบสอบข้อเขียน
  2. ประเมินโดยการสัมภาษณ์ตามแบบทดสอบที่กำหนดไว้
  3. การประเมินจากหลักฐานอื่น ๆ เช่น หนังสือรับรอง เอกสารรับรองการผ่านการอบรม หนังสือรับรองการทำงาน/ผ่านงาน จะต้องดำเนินการควบคู่กับการสัมภาษณ์ร่วมด้วย

ยินดีต้อนรับ