หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

จัดการความปลอดภัยด้านขนส่งสินค้าทางถนน

สาขาวิชาชีพโลจิสติกส์


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ LOG-IAPF-820A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ จัดการความปลอดภัยด้านขนส่งสินค้าทางถนน

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2565

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ผู้บริหารงานขนส่งสินค้าทางถนน


6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)

บุคคลที่ทำหน้าที่บริหารงานขนส่งสินค้าทางถนน ซึ่งจะต้องปฏิบัติงานเกี่ยวกับการเตรียมความพร้อมด้านยานพาหนะ การเตรียมความพร้อมด้านบุคคล การกำหนดเส้นทางและชั่วโมงการทำงาน และตรวจสอบข้อมูลในการบรรทุกสินค้าสำหรับการขนส่งสินค้าทางถนน


7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)

กลุ่มวิชาชีพโลจิสติกส์


9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)

N/A


10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)

N/A


11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria)
210141 เตรียมความพร้อมด้านยานพาหนะ

1. ตรวจสอบความพร้อมของยานพาหนะสำหรับการขนส่งสินค้าทางถนนอย่างครบถ้วน

2. รายงานผลการตรวจสอบความพร้อมของยานพาหนะได้ถูกต้องตามใบรายการตรวจสอบอย่างถูกต้องครบถ้วน

210142 เตรียมความพร้อมด้านบุคคล

1. ตรวจสอบความพร้อมของพนักงานขับรถสำหรับการขนส่งสินค้าทางถนนอย่างครบถ้วน

2. รายงานผลการตรวจสอบความพร้อมของพนักงานขับรถได้ถูกต้องตามใบรายการตรวจสอบอย่างถูกต้องครบถ้วน

210143 กำหนดเส้นทางและชั่วโมงการทำงาน

1. จัดทำแผนเส้นทางการขนส่งสินค้าทางถนนอย่างถูกต้อง

2. กำหนดจุดจอดพักรถระหว่างการขนส่งสินค้าทางถนนอย่างถูกต้อง

3. ประเมินระยะเวลาในการขนส่งสินค้าตามระยะทางที่กำหนดอย่างถูกต้อง

210144 ตรวจสอบข้อมูลในการบรรทุกสินค้าสำหรับการขนส่งสินค้าทางถนน

1. ตรวจสอบขนาดและน้ำหนักสินค้าอย่างถูกต้องตามข้อกำหนด

2. ตรวจสอบการจัดเรียงสินค้าและการคลุมผ้าใบอย่างถูกต้อง

3. ตรวจสอบอุปกรณ์ด้านความปลอดภัยอย่างครบถ้วน


12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

N/A


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. ปฏิบัติการเตรียมความพร้อมด้านยานพาหนะ
   1.1 สามารถตรวจสอบความพร้อมของยานพาหนะสำหรับการขนส่งสินค้าทางถนนอย่างครบถ้วน
   1.2 สามารถรายงานผลการตรวจสอบความพร้อมของยานพาหนะได้ถูกต้องตามใบรายการตรวจสอบ
2. ปฏิบัติการเตรียมความพร้อมด้านบุคคล
   2.1 สามารถตรวจสอบความพร้อมของพนักงานขับรถสำหรับการขนส่งสินค้าทางถนนอย่างครบถ้วน
   2.2 สามารถรายงานผลการตรวจสอบความพร้อมของพนักงานขับรถได้ถูกต้องตามใบรายการตรวจสอบ
3. ปฏิบัติการกำหนดเส้นทางและชั่วโมงการทำงาน
   3.1 สามารถจัดทำแผนเส้นทางการขนส่งสินค้าทางถนนอย่างถูกต้อง
   3.2 สามารถกำหนดจุดจอดพักรถระหว่างการขนส่งสินค้าทางถนนอย่างถูกต้อง
   3.3 สามารถประเมินระยะเวลาในการขนส่งสินค้าตามระยะทางที่กำหนด
4. ปฏิบัติการตรวจสอบข้อมูลในการบรรทุกสินค้าสำหรับการขนส่งสินค้าทางถนน
   4.1 สามารถตรวจสอบขนาดและน้ำหนักสินค้าอย่างถูกต้องตามข้อกำหนด
   4.2 สามารถตรวจสอบการจัดเรียงสินค้าและการคลุมผ้าใบอย่างถูกต้อง
   4.3 สามารถตรวจสอบอุปกรณ์ด้านความปลอดภัยอย่างครบถ้วน
 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. ความปลอดภัยด้านขนส่งสินค้าทางถนน
2. การเตรียมความพร้อมก่อนการขับขี่
3. การวางแผนเส้นทางในการขนส่งสินค้า
4. การจัดการยานพาหนะ
 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และ ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)
(ก)  หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)
      1. เอกสารรับรองการปฏิบัติงานหรือผลการประเมินการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ
      2. เอกสารการประเมินตามหน่วยสมรรถนะครอบคลุมคุณวุฒิวิชาชีพ
(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)
      1. เอกสารรับรองการผ่านการอบรมที่เกี่ยวข้องกับการจัดการความปลอดภัยด้านขนส่งสินค้าทางถนน
      2. เอกสารรับรองการผ่านการสอบข้อเขียนหรือผลการทดสอบความรู้
(ค) คำแนะนำในการประเมิน
      ประเมินเกี่ยวกับการจัดการความปลอดภัยด้านขนส่งสินค้าทางถนน โดยพิจารณาจากหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานการปฏิบัติงานและหลักฐานด้านความรู้
(ง) วิธีการประเมิน
      1. พิจารณาหลักฐานความรู้
      2. พิจารณาหลักฐานการปฏิบัติงาน
 


15. ขอบเขต (Range Statement)

ขอบเขตอธิบายถึงขอบเขตของการปฏิบัติงาน และสภาพแวดล้อมอื่น ๆ หรือสถานการณ์อื่น ๆ ที่มีผลกระทบต่อการทำงาน รวมถึงเครื่องมือ อุปกรณ์ เทคโนโลยี ทรัพยากรที่ใช้ หรือข้อกำหนดอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
(ก)  คำแนะนำ
      การปฏิบัติจัดการความปลอดภัยด้านขนส่งสินค้าทางถนน ผู้เข้ารับการประเมินจะต้องแสดงเกี่ยวกับการเตรียมความพร้อมด้านยานพาหนะ การเตรียมความพร้อมด้านบุคคล การกำหนดเส้นทางและชั่วโมงการทำงาน และตรวจสอบข้อมูลในการบรรทุกสินค้าสำหรับการขนส่งสินค้าทางถนน
(ข)  คำอธิบายรายละเอียด
      1. การเตรียมความพร้อมด้านยานพาหนะ จะต้องตรวจสอบความพร้อมของยานพาหนะสำหรับการขนส่งสินค้าทางถนน เช่นการบำรุงรักษาตามกำหนดระยะเวลาหรือระยะทาง ตรวจสอบความพร้อมก่อนการเดินทางเป็นต้น และจัดทำรายงานผลการตรวจสอบความพร้อมของยานพาหนะตามใบรายการตรวจสอบ
      2. การเตรียมความพร้อมด้านบุคคล จะต้องตรวจสอบความพร้อมของพนักงานขับรถสำหรับการขนส่งสินค้าทางถนน เช่น ทักษะการขับขี่ ชั่วโมงการทำงาน การพักผ่อนก่อนการขับขี่ การตรวจสารเสพติด และตรวจระดับแอลกอฮอล์ เป็นต้น และจัดทำรายงานผลการตรวจสอบความพร้อมของพนักงานขับรถตามใบรายการตรวจสอบ
      3. การกำหนดเส้นทางและชั่วโมงการทำงาน จะต้องจัดทำแผนเส้นทางการขนส่งสินค้าทางถนน โดยการวางแผนเส้นทาง กำหนดจุดเสี่ยง กำหนดจุดจอดพักรถระหว่างการขนส่งสินค้าทางถนน ประเมินระยะเวลาในการขนส่งสินค้าตามระยะทางที่กำหนด ควบคุมการจำกัดความเร็ว และติดตามด้วยระบบ GPS
      4. การตรวจสอบข้อมูลในการบรรทุกสินค้าสำหรับการขนส่งสินค้าทางถนน จะต้องตรวจสอบขนาดและน้ำหนักสินค้าอย่างถูกต้องตามข้อกำหนด ตรวจสอบการจัดเรียงสินค้า การคลุมผ้าใบ และตรวจสอบอุปกรณ์ด้านความปลอดภัยอย่างครบถ้วน
 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)

N/A


17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)

N/A


18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1 เครื่องมือการประเมิน
       1. แบบประเมินความรู้ ใช้แบบทดสอบปรนัย ชนิด 4 ตัวเลือก
       2. แบบประเมินผลจากการจำลองสถานการณ์โดยกรณีศึกษา
       3. แบบประเมินสัมภาษณ์จากกรณีศึกษา
       ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน
18.2 เครื่องมือการประเมิน
       1. แบบประเมินความรู้ ใช้แบบทดสอบปรนัย ชนิด 4 ตัวเลือก
       2. แบบประเมินผลจากการจำลองสถานการณ์โดยกรณีศึกษา
       3. แบบประเมินสัมภาษณ์จากกรณีศึกษา
       ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน
18.3 เครื่องมือการประเมิน
       1. แบบประเมินความรู้ ใช้แบบทดสอบปรนัย ชนิด 4 ตัวเลือก
       2. แบบประเมินผลจากการจำลองสถานการณ์โดยกรณีศึกษา
       3. แบบประเมินสัมภาษณ์จากกรณีศึกษา
       ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน
18.4 เครื่องมือการประเมิน
       1. แบบประเมินความรู้ ใช้แบบทดสอบปรนัย ชนิด 4 ตัวเลือก
       2. แบบประเมินผลจากการจำลองสถานการณ์โดยกรณีศึกษา
       3. แบบประเมินสัมภาษณ์จากกรณีศึกษา
       ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน
 


ยินดีต้อนรับ