หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ดำเนินการแก้ไขเมื่อเกิดอุบัติเหตุจากการขนส่งสินค้าทางถนน

สาขาวิชาชีพโลจิสติกส์


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ LOG-PUPX-819A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ดำเนินการแก้ไขเมื่อเกิดอุบัติเหตุจากการขนส่งสินค้าทางถนน

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2565

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ผู้บริหารงานขนส่งสินค้าทางถนน


6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)

บุคคลที่ทำหน้าที่บริหารงานขนส่งสินค้าทางถนน ซึ่งจะต้องปฏิบัติงานเกี่ยวกับการวางแผนวิเคราะห์ความเสี่ยงจากการขนส่งสินค้าทางถนน การวิเคราะห์ความเสียหายและสาเหตุจากการขนส่งสินค้าทางถนน การดำเนินการแก้ไขเมื่อเกิดอุบัติเหตุจากการขนส่งสินค้าทางถนน การเสนอรายงานความเสียหายและความรุนแรงจากการขนส่งสินค้าทางถนน และเสนอแนะแนวทางแก้ไขการเกิดอุบัติเหตุจากการขนส่งสินค้าทางถนน


7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)

กลุ่มวิชาชีพโลจิสติกส์
 


9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)

N/A


10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)

N/A


11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria)
210131 วางแผนวิเคราะห์ความเสี่ยงจากการขนส่งสินค้าทางถนน

1. กำหนดแผนการวิเคราะห์ความเสี่ยงจากการขนส่งสินค้าทางถนนอย่างครบถ้วน

2. รายงานแผนวิเคราะห์ความเสี่ยงการขนส่งสินค้าทางถนนเป็นไปตามข้อกำหนดการขนส่งสินค้าทางถนนอย่างถูกต้อง

210132 วิเคราะห์ความเสียหายและสาเหตุจากการขนส่งสินค้าทางถนน

1. วิเคราะห์ความเสียหายและสาเหตุขนส่งสินค้าทางถนนได้อย่างถูกต้อง

2. รายงานการวิเคราะห์ความเสียหายและสาเหตุจากการขนส่งสินค้าทางถนนมีความถูกต้อง ครบถ้วน

3. จัดทำแนวทางการแก้ไขปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ

210133
ดำเนินการแก้ไขเมื่อเกิดอุบัติเหตุจากการขนส่งสินค้าทางถนน

1. จัดเตรียมเครื่องมือ วัสดุ อุปกรณ์ ที่ใช้ดำเนินการระหว่างการเกิดอุบัติเหตุการขนส่งสินค้าทางถนนไว้อย่างครบถ้วน

2. จัดทำรายงานการดำเนินการแก้ไขเมื่อเกิดอุบัติเหตุการขนส่งสินค้าทางถนนได้ถูกต้องตามมาตรฐานการขนส่งสินค้าทางถนนอย่างถูกต้อง

210134 เสนอรายงานความเสียหายและความรุนแรงจากการขนส่งสินค้าทางถนน

1. ตรวจสอบความเสียหายและความรุนแรงการจากขนส่งอย่างครบถ้วน

2. จัดทำรายงานสรุปผลความเสียหายและความรุนแรงจากการขนส่งสินค้าทางถนนได้ถูกต้องตามมาตรฐานการขนส่งสินค้าทางถนนอย่างถูกต้อง

210135 เสนอแนะแนวทางแก้ไขการเกิดอุบัติเหตุจากการขนส่งสินค้าทางถนน

1. จัดทำข้อเสนอแนะแนวทางแก้ไขการเกิดอุบัติเหตุการขนส่งสินค้าทางถนนได้อย่างประสิทธิภาพ

2. เสนอแนะแนวทางแก้ไขการเกิดอุบัติเหตุขนส่ง นำไปใช้ในการปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ


12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

N/A


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. ปฏิบัติการวางแผนวิเคราะห์ความเสี่ยงจากการขนส่งสินค้าทางถนน
   1.1 สามารถกำหนดแผนการวิเคราะห์ความเสี่ยงจากการขนส่งสินค้าทางถนนอย่างครบถ้วน
   1.2 สามารถรายงานแผนวิเคราะห์ความเสี่ยงการขนส่งสินค้าทางถนนเป็นไปตามมาตรฐานการขนส่งสินค้าทางถนน
2. ปฏิบัติการวิเคราะห์ความเสียหายและสาเหตุจากการขนส่งสินค้าทางถนน
   2.1 สามารถวิเคราะห์ความเสียหายและสาเหตุขนส่งสินค้าทางถนนได้อย่างถูกต้อง
   2.2 สามารถรายงานการวิเคราะห์ความเสียหายและสาเหตุจากการขนส่งสินค้าทางถนนมีความถูกต้อง ครบถ้วน
   2.3 สามารถจัดทำแนวทางการแก้ไขปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ
3. ปฏิบัติการดำเนินการแก้ไขเมื่อเกิดอุบัติเหตุจากการขนส่งสินค้าทางถนน
   3.1 สามารถจัดเตรียมเครื่องมือ วัสดุ อุปกรณ์ ที่ใช้ดำเนินการระหว่างการเกิดอุบัติเหตุการขนส่งสินค้าทางถนนไว้อย่างครบถ้วน
   3.2 สามารถจัดทำรายงานการดำเนินการแก้ไขเมื่อเกิดอุบัติเหตุการขนส่งสินค้าทางถนนได้ถูกต้องตามมาตรฐานการขนส่งสินค้าทางถนน
4. ปฏิบัติการเสนอรายงานความเสียหายและความรุนแรงจากการขนส่งสินค้าทางถนน
   4.1 สามารถตรวจสอบความเสียหายและความรุนแรงการจากขนส่งอย่างครบถ้วน
   4.2 สามารถจัดทำรายงานสรุปผลความเสียหายและความรุนแรงจากการขนส่งสินค้าทางถนนได้ถูกต้องตามมาตรฐานการขนส่งสินค้าทางถนน
5. ปฏิบัติการเสนอแนะแนวทางแก้ไขการเกิดอุบัติเหตุจากการขนส่งสินค้าทางถนน
   5.1 สามารถจัดทำข้อเสนอแนะแนวทางแก้ไขการเกิดอุบัติเหตุการขนส่งสินค้าทางถนนได้อย่างประสิทธิภาพ
   5.2 สามารถเสนอแนะแนวทางแก้ไขการเกิดอุบัติเหตุขนส่ง นำไปใช้ในการปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. การวางแผนวิเคราะห์ความเสี่ยง
2. การวิเคราะห์ความเสียหาย
3. การวิเคราะห์สาเหตุและการดำเนินการแก้ไขเมื่อเกิดอุบัติเหตุ
4. เทคนิคการรายงานความเสียหายและความรุนแรง
 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และ ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)
(ก)  หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)
     1. เอกสารรับรองการปฏิบัติงานหรือผลการประเมินการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ
     2. เอกสารการประเมินตามหน่วยสมรรถนะครอบคลุมคุณวุฒิวิชาชีพ
(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)
     1. เอกสารรับรองการผ่านการอบรมที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินการแก้ไขเมื่อเกิดอุบัติเหตุจากการขนส่งสินค้าทางถนน
     2. เอกสารรับรองการผ่านการสอบข้อเขียนหรือผลการทดสอบความรู้
(ค)  คำแนะนำในการประเมิน
      ประเมินเกี่ยวกับการดำเนินการแก้ไขเมื่อเกิดอุบัติเหตุจากการขนส่งสินค้าทางถนน โดยพิจารณาจากหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานการปฏิบัติงานและหลักฐานด้านความรู้
(ง)  วิธีการประเมิน
     1. พิจารณาหลักฐานความรู้
     2. พิจารณาหลักฐานการปฏิบัติงาน
 


15. ขอบเขต (Range Statement)

ขอบเขตอธิบายถึงขอบเขตของการปฏิบัติงาน และสภาพแวดล้อมอื่น ๆ หรือสถานการณ์อื่น ๆ ที่มีผลกระทบต่อการทำงาน รวมถึงเครื่องมือ อุปกรณ์ เทคโนโลยี ทรัพยากรที่ใช้ หรือข้อกำหนดอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
(ก)  คำแนะนำ
       การปฏิบัติดำเนินการแก้ไขเมื่อเกิดอุบัติเหตุจากการขนส่งสินค้าทางถนน ผู้เข้ารับการประเมินจะต้องแสดงเกี่ยวกับการวางแผนวิเคราะห์ความเสี่ยงจากการขนส่งสินค้าทางถนน การวิเคราะห์ความเสียหายและสาเหตุจากการขนส่งสินค้าทางถนน การดำเนินการแก้ไขเมื่อเกิดอุบัติเหตุจากการขนส่งสินค้าทางถนน การเสนอรายงานความเสียหายและความรุนแรงจากการขนส่งสินค้าทางถนน และเสนอแนะแนวทางแก้ไขการเกิดอุบัติเหตุจากการขนส่งสินค้าทางถนน
(ข)  คำอธิบายรายละเอียด
      1. การวางแผนวิเคราะห์ความเสี่ยงจากการขนส่งสินค้าทางถนน ความเสี่ยงที่จะก่อให้เกิดอุบัติเหตุก็จะลดน้อยลงจนแทบไม่มีโอกาสเกิดขึ้นหากหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงที่อาจจะเกิดอุบัติเหตุ และการเตรียมความพร้อมของผู้ขับขี่ รถยนต์ พฤติกรรมในการขับขี่ การปฏิบัติตามกฎจราจรอย่างเคร่งครัด ซึ่งทั้งหมดกระทำอยู่บนความไม่ประมาทก็ อัตราความเสี่ยงที่จะก่อให้เกิดอุบัติเหตุก็จะลดน้อยลงจนแทบไม่มีโอกาสเกิดขึ้น โดยจะต้องกำหนดแผนการวิเคราะห์ความเสี่ยงจากการขนส่งสินค้าทางถนนอย่างครบถ้วน และรายงานแผนวิเคราะห์ความเสี่ยงการขนส่งสินค้าทางถนนเป็นไปตามข้อกำหนดในการขนส่งสินค้าทางถนน
      2. การวิเคราะห์ความเสียหายและสาเหตุจากการขนส่งสินค้าทางถนน ซึ่งอุบัติเหตุและเหตุฉุกเฉิน สามารถเกิดขึ้นกับผู้ขับขี่รถบรรทุกได้ตลอดเวลา เช่น รถเฉี่ยวชน รถไฟไหม้ รถตกน้ำ รถจมน้ำ รถเสียขณะเดินทาง และรถถูกปล้น โดยจะต้องวิเคราะห์ความเสียหายและสาเหตุขนส่งสินค้าทางถนนและรายงานการวิเคราะห์ความเสียหายและสาเหตุจากการขนส่งสินค้าทางถนน รวมถึงจัดทำแนวทางการแก้ไขปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ
      3. การดำเนินการแก้ไขเมื่อเกิดอุบัติเหตุจากการขนส่งสินค้าทางถนน จะต้องจัดเตรียมเครื่องมือ วัสดุ อุปกรณ์ ที่ใช้ดำเนินการระหว่างการเกิดอุบัติเหตุการขนส่งสินค้าทางถนน และจัดทำรายงานการดำเนินการแก้ไขเมื่อเกิดอุบัติเหตุการขนส่งสินค้าทางถนนได้ถูกต้องตามมาตรฐานการขนส่งสินค้าทางถนน
      4. การเสนอรายงานความเสียหายและความรุนแรงจากการขนส่งสินค้าทางถนน จะต้องตรวจสอบความเสียหายและความรุนแรงการจากขนส่ง และจัดทำรายงานสรุปผลความเสียหายและความรุนแรงจากการขนส่งสินค้าทางถนนได้ถูกต้องตามมาตรฐานการขนส่งสินค้าทางถนน พร้อมทั้งเสนอแนะแนวทางแก้ไขการเกิดอุบัติเหตุจากการขนส่งสินค้าทางถนน โดยจะต้องจัดทำข้อเสนอแนะแนวทางแก้ไขการเกิดอุบัติเหตุการขนส่งสินค้าทางถนนและเสนอแนะแนวทางแก้ไขการเกิดอุบัติเหตุขนส่ง นำไปใช้ในการปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)

N/A  


17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)

N/A  


18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1 เครื่องมือการประเมิน
       1. แบบประเมินความรู้ ใช้แบบทดสอบปรนัย ชนิด 4 ตัวเลือก
       2. แบบประเมินผลจากการจำลองสถานการณ์โดยกรณีศึกษา
       3. แบบประเมินสัมภาษณ์จากกรณีศึกษา
       ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน
18.2 เครื่องมือการประเมิน
      1. แบบประเมินความรู้ ใช้แบบทดสอบปรนัย ชนิด 4 ตัวเลือก
      2. แบบประเมินผลจากการจำลองสถานการณ์โดยกรณีศึกษา
      3. แบบประเมินสัมภาษณ์จากกรณีศึกษา
      ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน
18.3 เครื่องมือการประเมิน
       1. แบบประเมินความรู้ ใช้แบบทดสอบปรนัย ชนิด 4 ตัวเลือก
       2. แบบประเมินผลจากการจำลองสถานการณ์โดยกรณีศึกษา
       3. แบบประเมินสัมภาษณ์จากกรณีศึกษา
       ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน
18.4 เครื่องมือการประเมิน
      1. แบบประเมินความรู้ ใช้แบบทดสอบปรนัย ชนิด 4 ตัวเลือก
      2. แบบประเมินผลจากการจำลองสถานการณ์โดยกรณีศึกษา
      3. แบบประเมินสัมภาษณ์จากกรณีศึกษา
      ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน
18.5 เครื่องมือการประเมิน
      1. แบบประเมินความรู้ ใช้แบบทดสอบปรนัย ชนิด 4 ตัวเลือก
      2. แบบประเมินผลจากการจำลองสถานการณ์โดยกรณีศึกษา
      3. แบบประเมินสัมภาษณ์จากกรณีศึกษา
      ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน
 


ยินดีต้อนรับ