หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

จัดการยานพาหนะในการขนส่งสินค้าทางถนน

สาขาวิชาชีพโลจิสติกส์


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ LOG-XJBD-818A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ จัดการยานพาหนะในการขนส่งสินค้าทางถนน

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2565

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ผู้บริหารงานขนส่งสินค้าทางถนน


6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)

บุคคลที่ทำหน้าที่บริหารงานขนส่งสินค้าทางถนน ซึ่งจะต้องปฏิบัติงานเกี่ยวกับการประเมินความเสี่ยงในการขนส่งสินค้าทางถนน การติดตามยานพาหนะในการขนส่งสินค้าทางถนน (Track & Trace) การตรวจสภาพยานพาหนะและอุปกรณ์หลังจากขนส่งสินค้าทางถนน การป้องกันและบำรุงรักษายานพาหนะและอุปกรณ์จากขนส่งสินค้าทางถนน และการเสนอรายงานผลการขนส่งสินค้าทางถนน


7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)

กลุ่มวิชาชีพโลจิสติกส์


9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)

N/A


10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)

N/A


11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria)
210121 ประเมินความเสี่ยงในการขนส่งสินค้าทางถนน

1. จัดทำรายงานการประเมินความเสี่ยงในการขนส่งสินค้าทางถนนได้อย่างถูกต้องครบถ้วน

2. กำหนดนโยบายป้องกันความเสี่ยงการขนส่งสินค้าทางถนนอย่างถูกต้องชัดเจน

210122 ติดตามยานพาหนะในการขนส่งสินค้าทางถนน(Track & Trace)

1. ใช้ระบบสารสนเทศติดตามควบคุมยานพาหนะในการขนส่งสินค้าทางถนนอย่างถูกต้อง

2. รายงานการติดตามยานพาหนะในการขนส่งสินค้าทางถนนจัดทำได้อย่างถูกต้อง

210123 ตรวจสภาพยานพาหนะและอุปกรณ์หลังจากขนส่งสินค้าทางถนน

1. ตรวจสอบสภาพยานพาหนะหลังจากการขนส่งสินค้าทางถนน มีความเที่ยงตรง และอยู่ในสภาพพร้อมใช้งานอย่างถูกต้อง

2. จัดทำรายงานการตรวจสภาพยานพาหนะและอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องอย่างมีระบบและเป็นไปตามข้อกำหนดอย่างถูกต้องครบถ้วน

210124 ป้องกันและบำรุงรักษายานพาหนะและอุปกรณ์จากขนส่งสินค้าทางถนน

1. ดำเนินการป้องกัน และซ่อมบำรุงยานพาหนะมีการอย่างมีประสิทธิภาพ 

2. จัดทำรายงานการป้องกัน และบำรุงรักษายานพาหนะขนส่งได้อย่างถูกต้อง ครบถ้วน

210125 เสนอรายงานผลการขนส่งสินค้าทางถนน

1. รายงานการควบคุมการขนส่ง ได้อย่างชัดเจนและถูกต้อง

2. รายงานผลการขนส่งสินค้าทางถนนมีความถูกต้อง ครบถ้วน


12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

N/A


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. ปฏิบัติการประเมินความเสี่ยงในการขนส่งสินค้าทางถนน
    1.1 สามารถจัดทำรายงานการประเมินความเสี่ยงในการขนส่งสินค้าทางถนนได้ถูกต้องครบถ้วน
    1.2 สามารถกำหนดนโยบายป้องกันความเสี่ยงการขนส่งสินค้าทางถนนอย่างชัดเจน
2. ปฏิบัติการติดตามยานพาหนะในการขนส่งสินค้าทางถนน (Track & Trace)
    2.1 สามารถใช้ระบบสารสนเทศติดตามควบคุมยานพาหนะในการขนส่งสินค้าทางถนน
    2.2 สามารถรายงานการติดตามยานพาหนะในการขนส่งสินค้าทางถนนจัดทำได้อย่างถูกต้อง
3. ปฏิบัติการตรวจสภาพยานพาหนะและอุปกรณ์หลังจากขนส่งสินค้าทางถนน
    3.1 สามารถตรวจสอบสภาพยานพาหนะหลังจากการขนส่งสินค้าทางถนน มีความเที่ยงตรง และอยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน
    3.2 สามารถจัดทำรายงานการตรวจสภาพยานพาหนะและอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องอย่างมีระบบและเป็นไปตามข้อกำหนด
4. ปฏิบัติการป้องกันและบำรุงรักษายานพาหนะและอุปกรณ์จากขนส่งสินค้าทางถนน
    4.1 สามารถดำเนินการป้องกัน และซ่อมบำรุงยานพาหนะมีการอย่างมีประสิทธิภาพ
    4.2 สามารถจัดทำรายงานการป้องกัน และบำรุงรักษายานพาหนะขนส่งได้อย่างถูกต้อง ครบถ้วน
5. ปฏิบัติการเสนอรายงานผลการขนส่งสินค้าทางถนน
    5.1 สามารถรายงานการควบคุมการขนส่ง ได้อย่างชัดเจนและถูกต้อง
    5.2 สามารถรายงานผลการขนส่งสินค้าทางถนนมีความถูกต้อง ครบถ้วน
 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

 1. การประเมินความเสี่ยงขนส่งสินค้าทางถนน
 2. การใช้ระบบสารสนเทศติดตามยานพาหนะในการขนส่ง
 3. วิธีการป้องกันและบำรุงรักษายานพาหนะและอุปกรณ์
 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และ ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)
(ก)  หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)
      1. เอกสารรับรองการปฏิบัติงานหรือผลการประเมินการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ
      2. เอกสารการประเมินตามหน่วยสมรรถนะครอบคลุมคุณวุฒิวิชาชีพ
 (ข)  หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)
      1. เอกสารรับรองการผ่านการอบรมที่เกี่ยวข้องกับการจัดการยานพาหนะในการขนส่งสินค้าทางถนน
      2. เอกสารรับรองการผ่านการสอบข้อเขียนหรือผลการทดสอบความรู้
(ค)  คำแนะนำในการประเมิน
      ประเมินเกี่ยวกับการจัดการยานพาหนะในการขนส่งสินค้าทางถนน โดยพิจารณาจากหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานการปฏิบัติงานและหลักฐานด้านความรู้
(ง)  วิธีการประเมิน
      1. พิจารณาหลักฐานความรู้
      2. พิจารณาหลักฐานการปฏิบัติงาน
 


15. ขอบเขต (Range Statement)

ขอบเขตอธิบายถึงขอบเขตของการปฏิบัติงาน และสภาพแวดล้อมอื่น ๆ หรือสถานการณ์อื่น ๆ ที่มีผลกระทบต่อการทำงาน รวมถึงเครื่องมือ อุปกรณ์ เทคโนโลยี ทรัพยากรที่ใช้ หรือข้อกำหนดอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
(ก)  คำแนะนำ
      การปฏิบัติจัดการยานพาหนะในการขนส่งสินค้าทางถนน ผู้เข้ารับการประเมินจะต้องแสดงเกี่ยวกับการประเมินความเสี่ยงในการขนส่งสินค้าทางถนน การติดตามยานพาหนะในการขนส่งสินค้าทางถนน (Track & Trace) การตรวจสภาพยานพาหนะและอุปกรณ์หลังจากขนส่งสินค้าทางถนน การป้องกันและบำรุงรักษายานพาหนะและอุปกรณ์จากขนส่งสินค้าทางถนน และการเสนอรายงานผลการขนส่งสินค้าทางถนน
(ข)  คำอธิบายรายละเอียด
      1. การประเมินความเสี่ยงในการขนส่งสินค้าทางถนน หมายถึง กระบวนการวิเคราะห์ถึงปัจจัย หรือสถานการณ์ต่าง ๆ ที่เป็นสาเหตุทำให้เกิดอันตรายจากการขนส่งสินค้าทางถนน เช่น การเกิดอุบัติเหตุ ความล่าช้าในการขนส่งสินค้า สภาพจราจร การเกิดเพลิงไหม้ เป็นต้น โดยพิจารณาถึงโอกาสและความรุนแรงของเหตุการณ์แหล่านั้น ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดอันตราย หรือความเสียหายแก่ชีวิต ทรัพย์สิน และสิ่งแวดล้อม โดยจะต้อง จัดทำรายงานการประเมินความเสี่ยงในการขนส่งสินค้าทางถนน และกำหนดนโยบายป้องกันความเสี่ยงการขนส่งสินค้าทางถนนอย่างชัดเจน
      2. การติดตามยานพาหนะในการขนส่งสินค้าทางถนน (Track & Trace) โดยกรมขนส่งทางบกประกาศให้รถขนส่งสินค้าจะต้องติดตั้ง GPS เพื่อใช้ควบคุมติดตามควบคุมยานพาหนะในการขนส่งสินค้าทางถนน และจัดทำรายงานการติดตามยานพาหนะในการขนส่งสินค้าทางถนนจัดทำได้อย่างถูกต้อง
      3. การตรวจสภาพยานพาหนะและอุปกรณ์หลังจากขนส่งสินค้าทางถนน จะต้องตรวจสอบสภาพยานพาหนะหลังจากการขนส่งสินค้าทางถนน มีความเที่ยงตรง และอยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน โดยใช้หลักการตรวจสภาพก่อนการขับขี่ด้วยหลัก BEWAGON เป็นการตรวจเช็คสภาพรถทุกประเภท สรุปได้ 7 หมวดตามอักษรย่อ คือ B,E,W,A,G,O,N และจัดทำรายงานการตรวจสภาพยานพาหนะและอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องอย่างมีระบบและเป็นไปตามข้อกำหนด
     4. การป้องกันและบำรุงรักษายานพาหนะและอุปกรณ์จากขนส่งสินค้าทางถนน เป็นกิจกรรมหรืองานทั้งหมดที่กระทำต่อเครื่องจักรและอุปกรณ์ต่าง ๆเพื่อรักษาสภาพหรือป้องกันไม่ให้เกิดการชำรุดเสียหาย โดยให้อยู่ในสภาพพร้อมที่จะใช้งานได้ตลอดเวลารวมทั้งช่วยยืดอายุการใช้งานให้ยาวนานขึ้นและเสียค่าใช้จ่ายน้อยที่สุด โดยจะต้องดำเนินการป้องกัน และซ่อมบำรุงยานพาหนะ และจัดทำรายงานการป้องกันและบำรุงรักษายานพาหนะขนส่ง
     5. คำว่า “ถูกต้องตามขั้นตอนที่กำหนด” หมายถึง ความถูกต้องตามขั้นตอนการปฏิบัติงานตามที่ระบุไว้ในแบบประเมินทักษะในการปฏิบัติงาน
 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)

N/A  


17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)

N/A  


18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1 เครื่องมือการประเมิน
       1. แบบประเมินความรู้ ใช้แบบทดสอบปรนัย ชนิด 4 ตัวเลือก
       2. แบบประเมินผลจากการจำลองสถานการณ์โดยกรณีศึกษา
       3. แบบประเมินสัมภาษณ์จากกรณีศึกษา
       ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน
18.2 เครื่องมือการประเมิน
       1. แบบประเมินความรู้ ใช้แบบทดสอบปรนัย ชนิด 4 ตัวเลือก
       2. แบบประเมินผลจากการจำลองสถานการณ์โดยกรณีศึกษา
       3. แบบประเมินสัมภาษณ์จากกรณีศึกษา
       ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน
18.3 เครื่องมือการประเมิน
      1. แบบประเมินความรู้ ใช้แบบทดสอบปรนัย ชนิด 4 ตัวเลือก
      2. แบบประเมินผลจากการจำลองสถานการณ์โดยกรณีศึกษา
      3. แบบประเมินสัมภาษณ์จากกรณีศึกษา
      ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน
18.4 เครื่องมือการประเมิน
     1. แบบประเมินความรู้ ใช้แบบทดสอบปรนัย ชนิด 4 ตัวเลือก
     2. แบบประเมินผลจากการจำลองสถานการณ์โดยกรณีศึกษา
     3. แบบประเมินสัมภาษณ์จากกรณีศึกษา
     ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน
18.5 เครื่องมือการประเมิน
     1. แบบประเมินความรู้ ใช้แบบทดสอบปรนัย ชนิด 4 ตัวเลือก
     2. แบบประเมินผลจากการจำลองสถานการณ์โดยกรณีศึกษา
     3. แบบประเมินสัมภาษณ์จากกรณีศึกษา
     ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน
 


ยินดีต้อนรับ