หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ควบคุมและจัดการสุขภาพแพะภายในฟาร์ม

สาขาวิชาชีพเกษตรกรรม


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ ARC-KTDL-649A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ควบคุมและจัดการสุขภาพแพะภายในฟาร์ม

3. ทบทวนครั้งที่ N/A

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

6121     เกษตรกรเลี้ยงพ่อพันธุ์-แม่พันธุ์สุกร โค กระบือ ม้า แพะ แกะ    
6121     เกษตรกรเลี้ยงแพะ    
6121     คนงานรีดนมแพะ    
6121     คนเลี้ยงแพะ/แกะ    
6121     เกษตรกรผลิตนมแพะดิบ  
6121     หัวหน้าคนงานเลี้ยงปศุสัตว์     


6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)

หน่วยสมรรถนะนี้ใช้ทักษะและความรู้ในการควบคุมและจัดการสุขภาพแพะภายในฟาร์ม กำหนดวิธีควบคุมและป้องกันโรคติดต่อที่สำคัญของแพะ เขียนขั้นตอนการควบคุมและป้องกันโรคติดต่อที่สำคัญของแพะ ควบคุมการให้ยา/วัคซีนสำหรับป้องกันโรคที่สำคัญในแพะและถ่ายทอดในพนักงานในฟาร์มนำไปปฏิบัติ


7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)

ปศุสัตว์


9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)

N/A


10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)

- พระราชบัญญัติ วิชาชีพการสัตวบาล พ.ศ. 2565
- ประกาศระเบียบกรมปศุสัตว์ว่าด้วยการขอรับและออกใบรับรองฟาร์มที่มีระบบการป้องกันโรคและ การเลี้ยงสัตว์ที่เหมาะสม Good Farming Management (GFM) พ.ศ. 2561
- ประกาศระเบียบกรมปศุสัตว์ว่าด้วยการขอรับและออกใบรับรองสถานภาพฟาร์มปลอดโรค พ.ศ. 2563
- พระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2554
 


11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria)
F5010201

ควบคุมและป้องกันโรคติดต่อที่สำคัญของแพะ

ระบุประเภทและชนิดของโรคที่สำคัญในแพะ

ประเมินผลกระทบและความรุนแรงของโรคที่สำคัญในแพะ

กำหนดวิธีควบคุมและป้องกันโรคติดต่อที่สำคัญของแพะ

เขียนขั้นตอนการควบคุมและป้องกันโรคติดต่อที่สำคัญของแพะและถ่ายทอดในพนักงานในฟาร์มนำไปปฏิบัติ

F5010202

ควบคุมการให้ยา/วัคซีน สำหรับป้องกันโรคที่สำคัญในแพะ

กำหนดวิธีการให้ยา/วัคซีน สำหรับป้องกันโรคที่สำคัญในแพะ

เขียนโปรแกรมการทำวัคซีน

ควบคุมการให้ยา/วัคซีน ตามโปรแกรมที่กำหนด


12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

- ความรู้และทักษะเกี่ยวกับหลักเกณฑ์วิธีการที่ดีในในฟาร์มที่มีระบบการป้องกันโรคและ การเลี้ยงสัตว์ที่เหมาะสม (GFM) เบื้องต้น
- ความรู้และทักษะเกี่ยวกับความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน เบื้องต้น
- ทักษะการใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์
 


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

 - ทักษะการเขียนขั้นตอนปฏิบัติงาน (Work Instruction)
 - ทักษะในการให้ยา/วัคซีน
 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

- ความรู้เกี่ยวการควบคุมและป้องกันโรคติดต่อของแพะ
- ความรู้เกี่ยวการใช้วัคซีน
 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)
(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)
- สามารถเขียนขั้นตอนการควบคุมและป้องกันโรคติดต่อที่สำคัญของแพะ
- สามารถเขียนโปรแกรมการทำวัคซีน
- ผลคะแนนการสัมภาษณ์
(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)
- ความรู้เรื่องการให้ยา/วัคซีน สำหรับป้องกันโรคที่สำคัญในแพะ
- ความรู้เรื่องควบคุมและป้องกันโรคติดต่อที่สำคัญของแพะ
- ผลคะแนนทดสอบความรู้
(ค) คำแนะนำในการประเมิน
 เจ้าหน้าที่สอบตรวจประเมินหลักฐานโดยพิจารณาจากหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานด้านการปฏิบัติงานหลักฐานความรู้ ที่คลอบคลุมเกณฑ์การปฏิบัติงาน ทักษะและความรู้ที่ต้องการของหน่วยสมรรถนะนี้
(ง) วิธีการประเมิน
สอบข้อเขียน
สอบสัมภาษณ์


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก) คำแนะนำ
หากผู้เข้ารับการประเมินปฏิบัติตามเกณฑ์บางข้อไม่สมบูรณ์ ให้ผู้ทดสอบใช้ดุลยพินิจในการพิจารณาผลการประเมิน และผู้ทดสอบต้องให้คำแนะนำในการพัฒนาการปฏิบัติงาน ในเกณฑ์ที่ไม่สมบูรณ์นั้น โดยชี้แจงรายละเอียดในหัวข้อนั้น ๆ เพื่อให้ผู้เข้ารับการประเมินมีความเข้าใจ
(ข) คำอธิบายรายละเอียด
- โรคในแพะ หมายถึง โรคที่เกิดขึ้นกับแพะโดยทั่วไป สามารถจำแนกได้ในแบบที่เป็นโรคติดเชื้อตาม
ภาวะการติดเชื้อโรคต่างๆ เช่น โรคติดเชื้อแบคทีเรีย โรคติดเชื้อไวรัส โรคติดเชื้อปรสิตชนิดต่างๆทั้งภายนอกและภายใน ซึ่งโรคที่สำคัญในแพะ ได้แก่ โรคแอนแทรกซ์ (Antrax) โรคแท้งติดต่อ (Brucellosis) โรคมงคล่อพิษเทียม (Melioidosis) โรคคอบวม (Hemorrhagic septicemia) เป็นต้น
 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)

N/A


17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)

N/A


18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

สอบข้อเขียน
สอบสัมภาษณ์
 


ยินดีต้อนรับ