หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ควบคุมกระบวนการรีดนมโคให้เป็นไปตามหลักปฎิบัติของการรีดนมโค

สาขาวิชาชีพเกษตรกรรม


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ ARC-QVOJ-639A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ควบคุมกระบวนการรีดนมโคให้เป็นไปตามหลักปฎิบัติของการรีดนมโค

3. ทบทวนครั้งที่ N/A

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

6121     เกษตรกรเลี้ยงพ่อพันธุ์-แม่พันธุ์สุกร โค กระบือ ม้า แพะ แกะ    
6121     เกษตรกรเลี้ยงวัว    
6121     คนงานฝีมือในการเลี้ยงปศุสัตว์    
6121     คนเลี้ยงวัว/ควาย    
6121     เกษตรกรผลิตนมโคดิบ


6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)

หน่วยสมรรถนะนี้ใช้ทักษะและความรู้ในการควบคุมกระบวนการรีดนมโคให้เป็นไปตามหลักปฎิบัติของการรีดนมโค ตรวจสอบกระบวนการทำความสะอาดและการบำรุงรักษาเครื่องมือและอุปกรณ์รีดนม กำหนดวิธีการจัดการน้ำนมและโคที่เป็นโรคเต้านมอักเสบและแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นได้


7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)

ปศุสัตว์


9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)

N/A


10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)

- พระราชบัญญัติ วิชาชีพการสัตวบาล พ.ศ. 2565
- มาตรฐานฟาร์มโคนม กรมปศุสัตว์
- พระราชบัญญัติป้องกันการทารุณกรรมและการจัดสวัสดิภาพสัตว์ พ.ศ. 2557
- พระราชบัญญัติโรคระบาดสัตว์ พ.ศ. 2558
- ระเบียบกรมปศุสัตว์ ว่าด้วยการขอรับและออกใบรับรองฟาร์มที่มีระบบการป้องกันโรค และการเลี้ยงสัตว์ที่เหมาะสม พ.ศ. 2560
- พระราชบัญญัติสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2561
- พระราชบัญญัติควบคุมคุณภาพอาหารสัตว์ พ.ศ. 2558


11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria)
C5010401

วางแผนการรีดนมโคให้เป็นไปตามมาตรฐาน

อธิบายหลักการการรีดนมโคตามมาตรฐาน

กำหนดจุดควบคุมวิกฤต (Critical Control Point) ในกระบวนการรีดนมโค

กำหนดวิธีการป้องกันการปนเปื้อนเชื้อในน้ำนม

C5010402

ตรวจสอบกระบวนการทำความสะอาดและวางแผนการบำรุงรักษาเครื่องมือและอุปกรณ์รีดนม

กำหนดขั้นตอนและวิธีการล้างทำความสะอาดอุปกรณ์รีดนม

กำหนดจุดควบคุมวิกฤต (Critical Control Point) ในกระบวนการทำความสะอาดอุปกรณ์รีดนม

แก้ไขปัญหาที่อาจเกิดขึ้นในกระบวนการทำความสะอาดอุปกรณ์รีดนม 

กำหนดวิธีการบำรุงรักษา วงรอบการทำความสะอาดและอายุการใช้งานของอุปกรณ์รีดนมและถ่ายทอดให้พนักงานนำไปปฏิบัติ

C5010403

วางแผนการจัดการน้ำนมและโคที่เป็นโรคเต้านมอักเสบ

กำหนดวิธีการจัดการน้ำนมจากโคที่เป็นเต้านมอักเสบและถ่ายทอดให้พนักงานนำไปปฏิบัติ

กำหนดแนวทางปฏิบัติต่อโคนมที่เป็นโรคเต้านมอักเสบและถ่ายทอดให้พนักงานนำไปปฏิบัติ


12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

- พื้นฐานความรู้ทางด้านสัตวบาล ชีววิทยา กายวิภาค พันธุกรรม การจัดการเลี้ยงโคนม ความรู้เกี่ยวกับมาตรฐานฟาร์มโคนมตามข้อกำหนด ความรู้ด้านกฎระเบียบข้อบังคับโดยกฎหมายเกี่ยวกับการดำเนินกิจการฟาร์มโคนม
- ทักษะความเป็นผู้นำ การบริหารจัดการคน การตัดสินใจ วิเคราะห์แก้ไขปัญหา วางแผนงานกลยุทธ์ รู้กลไกการตลาด บริหารต้นทุนให้เป็นไปตามเป้าหมาย
- ระบบการดำเนินงานตามความปลอดภัยทางชีวภาพ
- ความรู้การบัญชีเบื้องต้น
- การสรรหา คัดสรรและพัฒนาบุคลากรตามโครงงานที่วางแผนไว้
- ทักษะการเจรจาต่อรอง
- ความรู้และทักษะด้านคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยี


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

- ทักษะการรีดนมโคตามมาตรฐาน
- ทักษะบำรุงรักษาอุปกรณ์รีดนม
- ทักษะการใช้งานอุปกรณ์รีดนม
- ทักษะการถ่ายทอดความรู้

(ข) ความต้องการด้านความรู้

- ความรู้เกี่ยวกับมาตรฐานการรีดนมโค
- ความรู้เกี่ยวกับการทำงานของอุปกรณ์รีดนม
- ความรู้เกี่ยวกับลักษณะและการป้องกันโรคเต้านมอักเสบ


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)
(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)
- สามารถกำหนดจุดควบคุมวิกฤต (Critical Control Point) ในกระบวนการรีดนมโค กระบวนการ
ทำความสะอาดอุปกรณ์
- สามารถกำหนดวิธีการจัดการน้ำนมจากโคที่เป็นเต้านมอักเสบ
- แฟ้มสะสมผลงาน
- ผลคะแนนการสัมภาษณ์
 (ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)
- ความรู้เรื่องหลักการการรีดนมโคตามมาตรฐาน
- ความรู้เรื่องจุดควบคุมวิกฤต (Critical Control Point) ในกระบวนการรีดนมโค 
- ความรู้เรื่องโรคที่เกี่ยวกับเต้านมในโค
- ผลคะแนนทดสอบความรู้และการสัมภาษณ์
(ค) คำแนะนำในการประเมิน
 เจ้าหน้าที่สอบตรวจประเมินหลักฐานโดยพิจารณาจากหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานด้านการปฏิบัติงานหลักฐานความรู้ ที่คลอบคลุมเกณฑ์การปฏิบัติงาน ทักษะและความรู้ที่ต้องการของหน่วยสมรรถนะนี้
(ง) วิธีการประเมิน
สอบข้อเขียน 
สอบสัมภาษณ์ 
แฟ้มสะสมผลงาน


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก) คำแนะนำ
หากผู้เข้ารับการประเมินปฏิบัติตามเกณฑ์บางข้อไม่สมบูรณ์ ให้ผู้ทดสอบใช้ดุลยพินิจในการพิจารณาผลการประเมิน และผู้ทดสอบต้องให้คำแนะนำในการพัฒนาการปฏิบัติงาน ในเกณฑ์ที่ไม่สมบูรณ์นั้น โดยชี้แจงรายละเอียดในหัวข้อนั้น ๆ เพื่อให้ผู้เข้ารับการประเมินมีความเข้าใจ
(ข) คำอธิบายรายละเอียด
- จุดควบคุมวิกฤต (Critical Control Point) หมายถึง กระบวนการหรือเหตุการณ์ที่ต้องระมัดระวังในการปฏิบัติงานเพื่อทำให้สามารถควบคุมเหตุการณ์ที่ไม่พึงประสงค์ที่อาจเกิดขึ้นได้ เช่น จุดเสี่ยงต่างๆ ที่อาจก่อให้โรคเต้านมอักเสบในแม่โค เป็นต้น
- โรคเต้านมอักเสบ หมายถึง การอักเสบของส่วนต่าง ๆ ของเต้านม เช่น กระเปาะสร้างนม ท่อน้ำนม ท่อรวมน้ำนมหรือโพรงหัวนม ทำให้เกิดการ เปลี่ยนแปลงลักษณะของเต้านม น้ำนมและส่วนประกอบของน้ำนม มีผลให้คุณภาพน้ำนมด้อยลงไป สาเหตุเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย แต่อาจพบว่าเกิดจากเชื้อราหรือยีสส์ได้ โคสามารถติดเชื้อแบคทีเรียได้จาก 2 กรณี คือ 1) จากแม่โคที่เป็นโรคเต้านมอักเสบ 2) จากสิ่งแวดล้อมรอบ ๆ ตัว

อาการของโรคเต้านมอักเสบมี 2 ลักษณะสำคัญคือ
    เต้านมอักเสบแบบแสดงอาการ จะมีการเปลี่ยนแปลงลักษณะของเต้านมและน้ำนมจะเกิดความผิดปกติมากน้อยขึ้นอยู่กับชนิดของเชื้อ ปริมาณเชื้อ และตัวแม่โค เต้านมอาจมีลักษณะบวม แข็ง เท่านั้น หรือในโคที่เป็นรุนแรงมากอาจถึงกับเต้านมแตกก็มีส่วนลักษณะน้ำนมอาจพบตั้งแต่น้ำนมเป็นสีเหลืองเข้มข้นจนถึงเป็นน้ำใสมีหนองปนเลือด
    เต้านมอักเสบแบบไม่แสดงอาการ จะไม่มีการเปลี่ยนแปลงลักษณะของเต้านมและน้ำนมให้เห็น การอักเสบแบบนี้พบได้มากกว่าเต้านมอักเสบแบบแสดงอาการ 8 – 10 เท่า และมีสาเหตุสำคัญที่ทำให้คุณภาพน้ำนมเสื่อม เนื่องจากปริมาณเชื้อแบคทีเรียและเม็ดเลือดขาวในน้ำนมสูง สามารถตรวจได้โดยใช้น้ำยา CMT หาปริมาณเม็ดเลือดขาวในน้ำนม
 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)

N/A


17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)

N/A


18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

สอบข้อเขียน 
สอบสัมภาษณ์ 
แฟ้มสะสมผลงาน
 


ยินดีต้อนรับ