หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

วางแผนการดูแลสุขภาพโคนมภายในฟาร์ม

สาขาวิชาชีพเกษตรกรรม


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ ARC-KPPA-638A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ วางแผนการดูแลสุขภาพโคนมภายในฟาร์ม

3. ทบทวนครั้งที่ N/A

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

6121     เกษตรกรเลี้ยงพ่อพันธุ์-แม่พันธุ์สุกร โค กระบือ ม้า แพะ แกะ    
6121     เกษตรกรเลี้ยงวัว    
6121     คนงานฝีมือในการเลี้ยงปศุสัตว์    
6121     คนเลี้ยงวัว/ควาย    
6121     เกษตรกรผลิตนมโคดิบ


6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)

หน่วยสมรรถนะนี้ใช้ทักษะและความรู้ในการวางแผนการดูแลสุขภาพโคนมภายในฟาร์ม วางแผนโปรแกรมการทำวัคซีนป้องกันโรคในฟาร์มโคนม กำหนดโปรแกรมดูแลสุขภาพโคนมภายในฟาร์ม ควบคุมดูแลสุขาภิบาลในฟาร์มโคนม


7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)

ปศุสัตว์


9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)

N/A


10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)

- พระราชบัญญัติ วิชาชีพการสัตวบาล พ.ศ. 2565
- มาตรฐานฟาร์มโคนม กรมปศุสัตว์
- พระราชบัญญัติป้องกันการทารุณกรรมและการจัดสวัสดิภาพสัตว์ พ.ศ. 2557
- พระราชบัญญัติโรคระบาดสัตว์ พ.ศ. 2558
- ระเบียบกรมปศุสัตว์ ว่าด้วยการขอรับและออกใบรับรองฟาร์มที่มีระบบการป้องกันโรค และการเลี้ยงสัตว์ที่เหมาะสม พ.ศ. 2560
- พระราชบัญญัติสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2561
- พระราชบัญญัติควบคุมคุณภาพอาหารสัตว์ พ.ศ. 2558


11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria)
C5010301

วางแผนโปรแกรมดูแลสุขภาพโคนมภายในฟาร์ม

อธิบายหลักการควบคุมดูแลสุขภาพโคนมภายในฟาร์ม

เขียนขั้นตอนการควบคุมดูแลสุขภาพโคนมภายในฟาร์ม 

วางแผนโปรแกรมการทำวัคซีนป้องกันโรคในฟาร์มโคนม

วางแผนโปรแกรมการถ่ายพยาธิในฟาร์มโคนม

วางแผนโปรแกรมการให้วิตามินและแร่ธาตุในโคนมแต่ละสถานะ

C5010302

กำกับดูแลสุขาภิบาลในฟาร์มโคนม

กำหนดและวางแผนวิธีควบคุมและป้องกันโรคในโคนม

ระบุลักษณะโรคและการติดต่อของโรคติดต่อสำคัญในโคนม

วางแผนการใช้สารฆ่าเชื้อที่ใช้ในฟาร์มโคนม

คํานวณปริมาณสารฆ่าเชื้อตามความเข็มข้นต่อปริมาตรที่กำหนด

กำหนดลักษณะโรงเรือนที่เหมาะสมในการเลี้ยงโคนม

กำหนดวิธีการแยกชนิดของของเสีย รวมถึงการจัดการของเสียแต่ละประเภทภายในฟาร์ม


12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

    
- พื้นฐานความรู้ทางด้านสัตวบาล ชีววิทยา กายวิภาค พันธุกรรม การจัดการเลี้ยงโคนม ความรู้เกี่ยวกับมาตรฐานฟาร์มโคนมตามข้อกำหนด ความรู้ด้านกฎระเบียบข้อบังคับโดยกฎหมายเกี่ยวกับการดำเนินกิจการฟาร์มโคนม
- ทักษะความเป็นผู้นำ การบริหารจัดการคน การตัดสินใจ วิเคราะห์แก้ไขปัญหา วางแผนงานกลยุทธ์ รู้กลไกการตลาด บริหารต้นทุนให้เป็นไปตามเป้าหมาย
- ระบบการดำเนินงานตามความปลอดภัยทางชีวภาพ
- ความรู้การบัญชีเบื้องต้น
- การสรรหา คัดสรรและพัฒนาบุคลากรตามโครงงานที่วางแผนไว้
- ทักษะการเจรจาต่อรอง
- ความรู้และทักษะด้านคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยี


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

- ทักษะในการเขียนขั้นตอนการควบคุมดูแลสุขภาพโคนมภายในฟาร์ม 
- ทักษะในการวางแผนโปรแกรมการทำวัคซีนป้องกันโรค
- ทักษะในการวางแผนโปรแกรมการถ่ายพยาธิ
- ทักษะในการวางแผนโปรแกรมการให้วิตามินและแร่ธาตุ
- ทักษะในการควบคุมดูแลสุขาภิบาลภายในฟาร์ม
- ทักษะในการถ่ายทอดความรู้

(ข) ความต้องการด้านความรู้

- ความรู้เกี่ยวกับหลักการการควบคุมดูแลสุขภาพโคนม
- ความรู้เกี่ยวกับสุขาภิบาลในฟาร์มโคนม


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)
(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)
- สามารถเขียนขั้นตอนการควบคุมดูแลสุขภาพโคนมภายในฟาร์ม
- สามารถวางแผนโปรแกรมการทำวัคซีนป้องกันโรค การถ่ายพยาธิ การให้วิตามินและแร่ธาตุให้กับโคนม
- สามารถกำหนดวิธีการแยกชนิดของของเสีย
- แฟ้มสะสมผลงาน
- ผลคะแนนการสัมภาษณ์
(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)
- ความรู้เรื่องการคุมดูแลสุขภาพโคนม
- การป้องกันโรคในโคนม
- ความรู้เรื่องการใช้สารฆ่าเชื้อในฟาร์มโคนม
- การกำจัดของเสีย
- ผลคะแนนทดสอบความรู้และการสัมภาษณ์
(ค) คำแนะนำในการประเมิน
 เจ้าหน้าที่สอบตรวจประเมินหลักฐานโดยพิจารณาจากหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานด้านการปฏิบัติงานหลักฐานความรู้ ที่คลอบคลุมเกณฑ์การปฏิบัติงาน ทักษะและความรู้ที่ต้องการของหน่วยสมรรถนะนี้
(ง) วิธีการประเมิน
สอบข้อเขียน 
สอบสัมภาษณ์ 
แฟ้มสะสมผลงาน


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก) คำแนะนำ
 หากผู้เข้ารับการประเมินปฏิบัติตามเกณฑ์บางข้อไม่สมบูรณ์ ให้ผู้ทดสอบใช้ดุลยพินิจในการพิจารณาผลการประเมิน และผู้ทดสอบต้องให้คำแนะนำในการพัฒนาการปฏิบัติงาน ในเกณฑ์ที่ไม่สมบูรณ์นั้น โดยชี้แจงรายละเอียดในหัวข้อนั้น ๆ เพื่อให้ผู้เข้ารับการประเมินมีความเข้าใจ
(ข) คำอธิบายรายละเอียด
- การสุขาภิบาลในฟาร์มโคนม หมายถึง การจัดการที่เกี่ยวข้องกับสภาพแวดล้อม รอบ ๆ ตัวสัตว์ให้เหมาะสมกับความต้องการของโคนม พันธุ์ เพศ และอายุ เพื่อให้ดำรงชีวิตได้อย่างสุขสบาย มีการเจริญเติบโตเป็นปกติ ให้ผลผลิตสูง และไม่เกิดโรค เช่น 1) การจัดการด้านโรงเรือน 2) การจัดการด้านอาหารและน้ำสำหรับโคนม 3) การกำจัดของเสียในฟาร์ม 4) ระบบจัดเก็บประวัติและการบันทึกข้อมูลสัตว์ 5) ระบบการป้องกันโรค
- โรคติดต่อสำคัญในโคนม หมายถึง โรคที่เมื่อเกิดในฝูงโคแล้วจะทำให้เกิดความเสียหายต่อสุขภาพสัตว์ ชีวิตสัตว์และผลผลิตภายในฟาร์มได้ อาจเป็นโรคที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรียหรือไวรัส ซึ่งโรคที่สำคัญที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อฝูงโค ได้แก่ 1) โรคแอนแทรกซ์ (anthrax) 2) โรคปากและเท้าเปื่อย (foot and mouth disease) 3) โรคบรูเซลโลซิส (brucellosis) หรือโรคแท้งติดติดต่อ 4) โรควัณโรค (Tuberculosis)    5) โรคเฮโมรายิกเซฟติซีเมีย (haemorrhagic septicemia) หรือโรคคอบวม 6) โรคเต้านมอักเสบ (mastitis) 7) โรคมงคล่อเทียม (melioidosis) 8) โรคเซอร่า (surra) 9) โรครินเดอร์เปสต์ (rinderpest) 10) โรคเลปโตสไปโรซิส (leptospirosis) 11) โรคพยาธิภายนอก (ectoparasite) เป็นต้น


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)

N/A


17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)

N/A


18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

สอบข้อเขียน 
สอบสัมภาษณ์ 
แฟ้มสะสมผลงาน


ยินดีต้อนรับ