หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ควบคุมปฏิบัติงานโดยคำนึงถึงความปลอดภัยของคนและสัตว์

สาขาวิชาชีพเกษตรกรรม


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ ARC-YZXW-620A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ควบคุมปฏิบัติงานโดยคำนึงถึงความปลอดภัยของคนและสัตว์

3. ทบทวนครั้งที่ N/A

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

6122     ผู้เลี้ยงสัตว์ปีก    
6122     คนงานฝีมือในการเลี้ยงสัตว์ปีก    
6122     เกษตรกรเลี้ยงพ่อพันธุ์-แม่พันธุ์เป็ด ไก่    
6122     เกษตรกรเลี้ยงไก่    


6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)

หน่วยสมรรถนะนี้ใช้ทักษะและความรู้ในการควบคุมปฏิบัติงานโดยคำนึงถึงความปลอดภัยของคนและสัตว์ ควบคุมการปฏิบัติงานตามหลักสวัสดิภาพสัตว์ ตรวจสอบการปฏิบัติงานการจัดการของเสียที่เกิดจากฟาร์มไก่ไข่ ควบคุมการบริหารความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องบุคลากรและสัตว์ภายในฟาร์ม


7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)

ปศุสัตว์


9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)

N/A


10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)

- พระราชบัญญัติ วิชาชีพการสัตวบาล พ.ศ. 2565
- มาตรฐานฟาร์มไก่ไข่ กรมปศุสัตว์
- พระราชบัญญัติป้องกันการทารุณกรรมและการจัดสวัสดิภาพสัตว์ พ.ศ. 2557
- พระราชบัญญัติโรคระบาดสัตว์ พ.ศ. 2558  
- พระราชบัญญัติควบคุมคุณภาพอาหารสัตว์ พ.ศ. 2558 
- พระราชบัญญัติสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2561


11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria)
E5010501

ควบคุมการปฏิบัติงานให้มีความปลอดภัยของบุคลากรในฟาร์มไก่ไข่

ควบคุมการปฏิบัติงานตามมาตรฐานความปลอดภัยของบุคลากร

ควบคุมความปลอดภัยของพนักงานในการปฏิบัติงาน 

กำหนดขั้นตอนการควบคุมเข้า-ออกของบุคคลภายในฟาร์มไก่ไข่

E5010502

ควบคุมการปฏิบัติงานให้ไก่ไข่มีความปลอดภัย

ควบคุมการปฏิบัติงานตามหลักสวัสดิภาพสัตว์

ตรวจสอบการป้องกันสัตว์พานะทั้งในและรอบโรงเรือนเลี้ยงไก่ไข่

E5010503

ตรวจสอบการจัดการของเสียที่เกิดจากฟาร์มไก่ไข่

ควบคุมและตรวจสอบการกำจัดของเสีย 

ควบคุมการใช้และการบำรุงระบบ Biogas

E5010504

ควบคุมการบริหารความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย

ควบคุมการบริหารความเสี่ยงของบุคลากร

ควบคุมการบริหารความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับสัตว์


12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

- ความรู้พื้นฐานและทักษะด้านการจัดการฟาร์มไก่ไข่
- ความรู้และทักษะการใช้เครื่องมือ อุปกรณ์ที่ใช้ในการเลี้ยงไก่ไข่
- ความรู้และทักษะการให้อาหารไก่ไข่ในแต่ละระยะ
- ความรู้และทักษะการปฏิบัติตามหลักสุขาภิบาลที่ดีและความปลอดภัยทางชีวภาพ
- ความรู้และทักษะการจัดการสภาพแวดล้อมภายในโรงเรือน
- ทักษะการประสานงาน
- ทักษะความเป็นผู้นำ สามารถบริหารจัดการคนได้
- มีความรู้เกี่ยวกับการใช้คอมพิวเตอร์เบื้องต้น


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

- ทักษะด้านความปลอดภัยทางการปฏิบัติงาน
- ทักษะด้านการควบคุมการปฏิบัติงานให้เป็นไปตามแผนงาน
- ทักษะด้านการตัดสินใจแก้ปัญหาในการคำนึงถึงความปลอดภัยของคนและสัตว์

(ข) ความต้องการด้านความรู้

- ความรู้เกี่ยวกับสุขาภิบาลฟาร์มเบื้องต้น
- ความรู้เกี่ยวกับความปลอดภัยทางชีวภาพ
- ความรู้ด้านสวัสดิภาพสัตว์
- ความรู้ด้านการกำจัดของเสีย และรักษาสิ่งแวดล้อม
- ความรู้ด้านการใช้โปรแกรมการเลี้ยงไก่ไข่พื้นฐาน


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)
(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)
- สามารถควบคุมการปฏิบัติงานให้มีความปลอดภัยของบุคลากรในฟาร์มไก่ไข่
- สามารถจัดการของเสียที่เกิดจากฟาร์มไก่ไข่
- สามารถบริหารความเสี่ยงที่ด้านกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับฟาร์มไก่ไข่
- ผลคะแนนการสอบสัมภาษณ์
(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)
- ความรู้เรื่องการปฏิบัติงานตามมาตรฐานความปลอดภัยสำหรับฟาร์มไก่ไข่
- ความรู้เรื่องการกำจัดของเสียและระบบ Biogas
- ความรู้เรื่องกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับฟาร์มไก่ไข่
- การจัดการความเสี่ยง
- ผลคะแนนการสอบข้อเชียนและสัมภาษณ์
 (ค) คำแนะนำในการประเมิน
 เจ้าหน้าที่สอบตรวจประเมินหลักฐานโดยพิจารณาจากหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานด้านการปฏิบัติงานหลักฐานความรู้ ที่คลอบคลุมเกณฑ์การปฏิบัติงาน ทักษะและความรู้ที่ต้องการของหน่วยสมรรถนะนี้
(ง) วิธีการประเมิน
สอบข้อเขียน
สอบสัมภาษณ์


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก) คำแนะนำ
 หากผู้เข้ารับการประเมินปฏิบัติตามเกณฑ์บางข้อไม่สมบูรณ์ ให้ผู้ทดสอบใช้ดุลยพินิจในการพิจารณาผลการประเมิน และผู้ทดสอบต้องให้คำแนะนำในการพัฒนาการปฏิบัติงาน ในเกณฑ์ที่ไม่สมบูรณ์นั้น โดยชี้แจงรายละเอียดในหัวข้อนั้น ๆ เพื่อให้ผู้เข้ารับการประเมินมีความเข้าใจ
(ข) คำอธิบายรายละเอียด
- ความเสี่ยงของบุคคลากร หมายถึง ความเสี่ยงที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติงาน ในแต่ละขั้นตอน
- ความปลอดภัยทางชีวภาพ หมายถึง ระบบการจัดการและมาตรการทางกายภาพ ที่ดำเนินการเพื่อป้องกันและควบคุมโรค โดยลดความเสี่ยงจากการนำโรคเข้า หรือ ออกจากฟาร์ม
- ของเสียภายในฟาร์ม หมายถึง ขยะเปียก ขยะแห้ง ซากสัตว์ มูลสัตว์ วัสดุรองพื้น เปลือกไข่ ขยะติดเชื้อ ขยะอันตราย เช่น เข็มฉีดยา ขวดวัคซีน เป็นต้น
- ระบบ Biogas หมายถึง การนำมูลสัตว์มาใช้เป็นส่วนหนึ่งในการเปลี่ยนแก๊สป็นพลังงานไฟฟ้า
- หลักสวัสดิภาพสัตว์ หมายถึง การที่สัตว์ได้รับการเลี้ยงและดูแลให้สัตว์มีความเป็นอยู่ในสภาวะที่เหมาะสม มีสุขอนามัยที่ดี มีที่อยู่สะดวกสบาย ได้รับอาหารและน้ำอย่างเพียงพอ ทำให้สัตว์มีความสุขกายและ สบายใจ โดยยึดหลักการ 5 ประการ (Five Freedoms) ในการเลี้ยงและปฏิบัติต่อสัตว์ ได้แก่ 1) สัตว์ที่เลี้ยงมีอิสระจากความหิว กระหาย และการให้อาหารที่ไม่ถูกต้อง 2) มีอิสระจากความไม่สะดวกสบายอันเนื่องมาจากสภาวะแวดล้อม 3) มีอิสระจากความเจ็บปวด การบาดเจ็บ หรือเป็นโรค 4) มีอิสระจากความกลัวและความทุกข์ทรมาน และ 5) มีอิสระในการแสดงพฤติกรรมตามปกติของสัตว์


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)

N/A


17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)

N/A


18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

สอบข้อเขียน
สอบสัมภาษณ์


ยินดีต้อนรับ