หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

วางแผนระบบงบประมาณในฟาร์มสุกร

สาขาวิชาชีพเกษตรกรรม


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ ARC-QOXV-613A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ วางแผนระบบงบประมาณในฟาร์มสุกร

3. ทบทวนครั้งที่ N/A

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

6121     เกษตรกรเลี้ยงสุกร    


6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)

หน่วยสมรรถนะนี้ใช้ทักษะและความรู้เกี่ยวกับการกำหนดมาตรการการใช้ทรัพยากรในฟาร์มให้สอดรับกับนโยบายด้านงบประมาณของฟาร์ม วางแผนการบริหารจัดการต้นทุนการผลิตสุกร และกำกับดูแลการใช้ทรัพยากรในฟาร์มอย่างมีประสิทธิภาพ


7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)

ปศุสัตว์


9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)

N/A


10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)

- พระราชบัญญัติ วิชาชีพการสัตวบาล พ.ศ. 2565
- ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง มาตรฐานฟาร์มเลี้ยงสุกรของประเทศไทย พ.ศ.2542
- พระราชบัญญัติป้องกันการทารุณกรรมและการจัดสวัสดิภาพสัตว์ พ.ศ. 2557 
- พระราชบัญญัติโรคระบาดสัตว์ พ.ศ. 2558  
- ระเบียบกรมปศุสัตว์ว่าด้วยการขอรับและออกใบรับรองการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีด้านปศุสัตว์ พ.ศ. 2558 (การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับฟาร์มสุกร)  
- ระเบียบกรมปศุสัตว์ ว่าด้วยการขอรับและออกใบรับรองฟาร์มที่มีระบบการป้องกันโรค และการเลี้ยงสัตว์ที่เหมาะสม พ.ศ. 2560 
- พระราชบัญญัติสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2561
- พระราชบัญญัติควบคุมคุณภาพอาหารสัตว์ พ.ศ. 2558 
- พระราชบัญญัติควบคุมการฆ่าสัตว์การจำหน่ายเนื้อสัตว์ พ.ศ. 2559 


11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria)
A6010201

วางมาตรการให้สอดรับกับนโยบายด้านงบประมาณ

กำหนดมาตรการการใช้ทรัพยากรในฟาร์มสุกรให้แก่พนักงานทุกคนปฏิบัติตาม

กำหนดหน้าที่ในการดูแลทรัพย์สิน เครื่องมือ อุปกรณ์ต่าง ๆ ภายในฟาร์มสุกร

ตรวจสอบความถูกต้องของเอกสารเบิกจ่ายในฟาร์มสุกร

A6010202

วางแผนการบริหารจัดการต้นทุน

วางแผนและกำกับดูแลต้นทุนการผลิตสุกร

ตรวจสอบการใช้น้ำยาฆ่าเชื้อภายในฟาร์มสุกรให้เป็นไปตามมาตรการป้องกันโรคระบาดสัตว์ 

กำกับดูแลการใช้ทรัพยากรในฟาร์มอย่างคุ้มค่า 


12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

- พื้นฐานความรู้ทางด้านสัตวบาล ชีววิทยา กายวิภาค พันธุกรรม การจัดการเลี้ยงสุกร ความรู้เกี่ยวกับมาตรฐานฟาร์มสุกรตามข้อกำหนด ความรู้ด้านกฎระเบียบข้อบังคับโดยกฎหมายเกี่ยวกับการดำเนินกิจการฟาร์มสุกร
- ทักษะความเป็นผู้นำ การบริหารจัดการคน การตัดสินใจ วิเคราะห์แก้ไขปัญหา วางแผนงานกลยุทธ์ รู้กลไกการตลาด บริหารต้นทุนให้เป็นไปตามเป้าหมาย
- ระบบการดำเนินงานตามความปลอดภัยทางชีวภาพ
- ความรู้การบัญชีเบื้องต้น
- การสรรหา คัดสรรและพัฒนาบุคลากรตามโครงงานที่วางแผนไว้
- ทักษะการเจรจาต่อรอง
- ความรู้และทักษะด้านคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยี
 


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

- ทักษะในการประเมินอายุการใช้งาน โรงเรือน เครื่องมือและอุปกรณ์
- ทักษะในการบำรุงรักษาโรงเรือน เครื่องมือและอุปกรณ์
- ทักษะในการบริหารทรัพยากรที่ใช้ภายในฟาร์มให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด
 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

- ความรู้ทางด้านบัญชีเบื้องต้น
- ความรู้ทางด้านต้นทุนการผลิต
- ความรู้ทางด้านการใช้งานเครื่องมือและอุปกรณ์ช่าง
 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)
(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)
- สามารถกำหนดมาตรการการใช้ทรัพยากรในฟาร์มสุกร
- สามารถวางแผนและกำกับดูแลต้นทุนการผลิตสุกร
- แฟ้มสะสมผลงาน
- ผลคะแนนสัมภาษณ์
(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)
- ความรู้เรื่องการวางแผนและต้นทุนในการผลิตสุกร
- ความรู้เรื่องการป้องกันและควบคุมโรคระบาดในสัตว์
- ผลคะแนนสัมภาษณ์
(ค) คำแนะนำในการประเมิน
เจ้าหน้าที่สอบตรวจประเมินหลักฐานโดยพิจารณาจากหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานด้านการปฏิบัติงานหลักฐานความรู้ ที่คลอบคลุมเกณฑ์การปฏิบัติงาน ทักษะและความรู้ที่ต้องการของหน่วยสมรรถนะนี้     
(ง) วิธีการประเมิน
สอบสัมภาษณ์
แฟ้มสะสมผลงาน


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก) คำแนะนำ
หากผู้เข้ารับการประเมินปฏิบัติตามเกณฑ์บางข้อไม่สมบูรณ์ ให้ผู้ทดสอบใช้ดุลยพินิจในการพิจารณาผลการประเมิน และผู้ทดสอบต้องให้คำแนะนำในการพัฒนาการปฏิบัติงาน ในเกณฑ์ที่ไม่สมบูรณ์นั้น โดยชี้แจงรายละเอียดในหัวข้อนั้น ๆ เพื่อให้ผู้เข้ารับการประเมินมีความเข้าใจ
(ข) คำอธิบายรายละเอียด
- ทรัพยากรในฟาร์มสุกร หมายถึง สิ่งที่ต้องจัดหามาเพื่อใช้ในการผลิตสุกร เช่น ไฟฟ้า น้ำ อาหารสัตว์ เวชภัณฑ์ต่างๆ แรงงาน
- ต้นทุนในการผลิตสุกร หมายถึง ต้นทุนที่ใช้ในการผลิตสุกรของฟาร์ม ได้แก่ 1) ต้นทุนคงที่ เช่นค่าพ่อพันธุ์ แม่พันธุ์ ค่าโรงเรือน ค่าแรงงาน เป็นต้น 2) ต้นทุนผันแปร เช่น ค่าอาหาร ค่าเวชภัณฑ์ค่าใช้จ่ายสำหรับน้ำและไฟฟ้าที่ใช้ในการผลิตสุกร เป็นต้น
 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)

N/A


17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)

N/A


18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

สอบสัมภาษณ์
แฟ้มสะสมผลงาน
 


ยินดีต้อนรับ