หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

จัดการผลผลิตในฟาร์มไก่ไข่

สาขาวิชาชีพเกษตรกรรม


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ ARC-WRGJ-603A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ จัดการผลผลิตในฟาร์มไก่ไข่

3. ทบทวนครั้งที่ N/A

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

6122     ผู้เลี้ยงสัตว์ปีก    
6122     คนงานฝีมือในการเลี้ยงสัตว์ปีก    
6122     เกษตรกรเลี้ยงพ่อพันธุ์-แม่พันธุ์เป็ด ไก่    
6122     เกษตรกรเลี้ยงไก่    


6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)

หน่วยสมรรถนะนี้ใช้ทักษะและความรู้ในการจัดการผลผลิตในฟาร์มไก่ไข่ สามารถประเมินความสม่ำเสมอของฝูงไก่ไข่ ความสมบูรณ์พันธุ์และสุขภาพของไก่ไข่ จำนวนไก่รุ่นที่ส่งมอบ สามารถประเมินคุณภาพและผลผลิตไข่เปรียบเทียบกับมาตรฐาน ประเมินน้ำหนักและจำนวนไก่ปลดเปรียบเทียบกับมาตรฐาน และคำนวณประสิทธิภาพในการเลี้ยงในแต่ละช่วงอายุของไก่


7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)

ปศุสัตว์


9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)

N/A


10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)

- พระราชบัญญัติ วิชาชีพการสัตวบาล พ.ศ. 2565
- มาตรฐานฟาร์มไก่ไข่ กรมปศุสัตว์
- พระราชบัญญัติป้องกันการทารุณกรรมและการจัดสวัสดิภาพสัตว์ พ.ศ. 2557
- พระราชบัญญัติโรคระบาดสัตว์ พ.ศ. 2558
- ระเบียบกรมปศุสัตว์ ว่าด้วยการขอรับและออกใบรับรองฟาร์มที่มีระบบการป้องกันโรค และการเลี้ยงสัตว์ที่เหมาะสม พ.ศ. 2560
- พระราชบัญญัติสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2561
- พระราชบัญญัติควบคุมคุณภาพอาหารสัตว์ พ.ศ. 2558


11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria)
E4010401

จัดการผลผลิตระยะไก่รุ่น

ประเมินความสม่ำเสมอของฝูงไก่รุ่น

ประเมินความสมบูรณ์พันธุ์และสุขภาพของไก่รุ่น

ประเมินจำนวนไก่รุ่นที่ส่งมอบ

E4010402

จัดการผลผลิตระยะไก่ไข่

ประเมินคุณภาพและผลผลิตไข่เปรียบเทียบกับมาตรฐาน

ประเมินน้ำหนักและจำนวนไก่ปลดเปรียบเทียบกับมาตรฐาน

คำนวณประสิทธิภาพในการเลี้ยงในแต่ละช่วงอายุของไก่


12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

- ความรู้พื้นฐานและทักษะด้านการจัดการฟาร์มไก่ไข่
- ความรู้และทักษะการใช้เครื่องมือ อุปกรณ์ที่ใช้ในการเลี้ยงไก่ไข่
- ความรู้และทักษะการให้อาหารไก่ไข่ในแต่ละระยะ
- ความรู้และทักษะการปฏิบัติตามหลักสุขาภิบาลที่ดีและความปลอดภัยทางชีวภาพ
- ความรู้และทักษะการจัดการสภาพแวดล้อมภายในโรงเรือน


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

- มีทักษะการสื่อสาร การคิดวิเคราะห์ การแก้ปัญหาพื้นฐานที่พบเป็นประจำได้ 
- มีทักษะสามารถทำงานประจำตามลักษณะวิชาชีพ ดัดแปลงและเลือกใช้วิธีการทำงานที่เหมาะสม
- มีทักษะในการใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้ในการจัดการฟาร์มไก่ไข่

(ข) ความต้องการด้านความรู้

- มีความรู้ด้านชีววิทยาและสรีรวิทยาในไก่ไข่
- มีความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับสุขศาสตร์สัตว์
- มีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับอุปกรณ์ และการบำรุงรักษาอุปกรณ์เพื่อให้ในการเลี้ยงไก่รุ่น/ไก่ไข่
- มีความรู้และความสามารถในการตรวจสอบคุณภาพ และปริมาณของอาหาร


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)
(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)
- สามารถประเมินความสม่ำเสมอของฝูงไก่รุ่น
- สามารถประเมินความสมบูรณ์พันธุ์และสุขภาพของไก่รุ่น
- สามารถคำนวณประสิทธิภาพในการเลี้ยงในแต่ละช่วงอายุของไก่
- ผลคะแนนการสอบข้อเชียน
(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)
- ความรู้เรื่องความสมบูรณ์พันธุ์และสุขภาพของไก่รุ่น
- ความรู้เรื่องการประเมินคุณภาพของผลผลิตไก่ไข่
- ผลคะแนนการสอบข้อเชียน
(ค) คำแนะนำในการประเมิน
 เจ้าหน้าที่สอบตรวจประเมินหลักฐานโดยพิจารณาจากหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานด้านการปฏิบัติงานหลักฐานความรู้ ที่คลอบคลุมเกณฑ์การปฏิบัติงาน ทักษะและความรู้ที่ต้องการของหน่วยสมรรถนะนี้
(ง) วิธีการประเมิน
สอบข้อเขียน


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก) คำแนะนำ
 หากผู้เข้ารับการประเมินปฏิบัติตามเกณฑ์บางข้อไม่สมบูรณ์ ให้ผู้ทดสอบใช้ดุลยพินิจในการพิจารณาผลการประเมิน และผู้ทดสอบต้องให้คำแนะนำในการพัฒนาการปฏิบัติงาน ในเกณฑ์ที่ไม่สมบูรณ์นั้น โดยชี้แจงรายละเอียดในหัวข้อนั้น ๆ เพื่อให้ผู้เข้ารับการประเมินมีความเข้าใจ
(ข) คำอธิบายรายละเอียด
- ไก่รุ่น หมายถึง ไก่ที่ยังไม่สามารถให้ผลผลิตเป็นไข่ไก่ได้
- ไก่ไข่ หมายถึง ไก่ที่อยู่ในช่วงให้ผลผลิตไข่
- ความสมบูรณ์พันธุ์ หมายถึง ความสมบูรณ์ของน้ำหนักไก่และกระดูกอุ้งเชิงกรานของไก่ไข่มีขนาดตรงตามมาตรฐาน
- ประสิทธิภาพการเลี้ยง หมายถึง การเปรียบเทียบต้นทุนในการผลิต เช่น การให้อาหาร น้ำ ยาและเวชวัณฑ์ต่างๆกับไก่ไข่ กับผลผลิตไก่ไข่ที่ได้รับเช่น น้ำหนักไก่ เปอร์เซ็นต์ไข่ทั้งหมด จำนวนไข่เข้าคัด


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)

N/A


17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)

N/A


18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

สอบข้อเขียน


ยินดีต้อนรับ