หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

วางแผนการผลิตให้เป็นไปตามมาตรฐานการผลิตโคเนื้อและตรงกับความต้องการของตลาด

สาขาวิชาชีพเกษตรกรรม


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ ARC-PRXC-592A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ วางแผนการผลิตให้เป็นไปตามมาตรฐานการผลิตโคเนื้อและตรงกับความต้องการของตลาด

3. ทบทวนครั้งที่ N/A

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

6121     เกษตรกรเลี้ยงพ่อพันธุ์-แม่พันธุ์สุกร โค กระบือ ม้า แพะ แกะ    
6121     เกษตรกรเลี้ยงวัว    
6121     คนงานฝีมือในการเลี้ยงปศุสัตว์    
6121     คนเลี้ยงวัว/ควาย    
 


6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)

หน่วยสมรรถนะนี้ใช้ทักษะและความรู้ในการวางแผนการผลิตให้เป็นไปตามมาตรฐานการผลิตโคเนื้อและตรงกับความต้องการของตลาด สามารถเขียนขั้นตอนและแผนการผลิตโคเนื้อให้เป็นไปตามมาตรฐานที่เกี่ยวข้อง ถ่ายทอดความรู้เกี่ยวกับกระบวนการฆ่า การตัดแต่ง และมาตรฐานที่เกี่ยวข้อง สามารถวิเคราะห์ห่วงโซ่อุปทานของตลาดโคเนื้อเพื่อนำมาวางแผนการผลิตโคเนื้อให้ตรงกับความต้องการของตลาดและควบคุมการปฏิบัติงานการผลิตโคเนื้อให้เป็นไปตามแผนการผลิตที่กำหนด


7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)

ปศุสัตว์


9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)

N/A


10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)

- พระราชบัญญัติ วิชาชีพการสัตวบาล พ.ศ. 2565
- การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับฟาร์มโคเนื้อ สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
- พระราชบัญญัติป้องกันการทารุณกรรมและการจัดสวัสดิภาพสัตว์ พ.ศ. 2557
- พระราชบัญญัติโรคระบาดสัตว์ พ.ศ. 2558
- ระเบียบกรมปศุสัตว์ ว่าด้วยการขอรับและออกใบรับรองฟาร์มที่มีระบบการป้องกันโรค และการเลี้ยงสัตว์ที่เหมาะสม พ.ศ. 2560
- พระราชบัญญัติสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2561
- พระราชบัญญัติควบคุมคุณภาพอาหารสัตว์ พ.ศ. 2558
- พระราชบัญญัติควบคุมการฆ่าสัตว์การจำหน่ายเนื้อสัตว์ พ.ศ. 2559


11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria)
B5010601

วางแผนการผลิตโคเนื้อให้เป็นไปตามมาตรฐาน

อธิบายมาตรฐานที่เกี่ยวข้องกับการผลิตโคเนื้อ และนำไปใช้ในการผลิตโคเนื้อภายในฟาร์ม

ขียนขั้นตอนและแผนการผลิตโคเนื้อให้เป็นไปตามมาตรฐานที่เกี่ยวข้อง

ถ่ายทอดแผนและขั้นตอนการผลิตโคเนื้อให้พนักงานในฟาร์มนำไปใช้ในการปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้อง

ควบคุมการปฏิบัติงานการผลิตโคเนื้อให้เป็นไปตามขั้นตอนและแผนที่กำหนด

B5010602

ถ่ายทอดความรู้เกี่ยวกับกระบวนการฆ่า การตัดแต่ง และมาตรฐานที่เกี่ยวข้องกับโคเนื้อ

อธิบายกระบวนการฆ่า การตัดแต่งซากโคเนื้อ และมาตรฐานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง

ถ่ายทอดความรู้เกี่ยวกับกระบวนฆ่า การตัดแต่งซากโคเนื้อ และมาตรฐานที่เกี่ยวข้องให้พนักงานในฟาร์มนำไปใช้ในการปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้อง

B5010603

วางแผนการผลิตโคเนื้อให้ตรงกับความต้องการของตลาด

เข้าใจลักษณะของตลาดและห่วงโซ่อุปทานของตลาดโคเนื้อ

จัดการห่วงโซ่อุปทานของฟาร์มโคเนื้อให้มีประสิทธิภาพ   

อธิบายแผนการผลิตโคเนื้อตามความต้องการของตลาด โคเนื้อประเภทต่าง ๆ

ถ่ายทอดแผนการผลิตโคเนื้อให้พนักงานในฟาร์มนำไปใช้ในการปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้อง

ควบคุมการปฏิบัติงานการผลิตโคเนื้อให้เป็นไปตามแผนการผลิต


12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

- พื้นฐานความรู้ทางด้านสัตวบาล ชีววิทยา กายวิภาค พันธุกรรม การจัดการเลี้ยงโคเนื้อ ความรู้เกี่ยวกับมาตรฐานฟาร์มโคเนื้อตามข้อกำหนด ความรู้ด้านกฎระเบียบข้อบังคับโดยกฎหมายเกี่ยวกับการดำเนินกิจการฟาร์มโคเนื้อ
- ทักษะความเป็นผู้นำ การบริหารจัดการคน การตัดสินใจ วิเคราะห์แก้ไขปัญหา วางแผนงานกลยุทธ์ รู้กลไกการตลาด บริหารต้นทุนให้เป็นไปตามเป้าหมาย
- ระบบการดำเนินงานตามความปลอดภัยทางชีวภาพ
- ความรู้การบัญชีเบื้องต้น
- การสรรหา คัดสรรและพัฒนาบุคลากรตามโครงงานที่วางแผนไว้
- ทักษะการเจรจาต่อรอง
- ความรู้และทักษะด้านคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยี
 


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

- ทักษะในการเขียนขั้นตอนการปฏิบัติงาน (Work Instruction) ด้านการผลิตโคเนื้อให้เป็นไปตามมาตรฐาน
- ทักษะในการถ่ายทอดและควบคุมการปฏิบัติงานให้เป็นไปตามมาตรฐานการผลิตโคเนื้อ
- ทักษะในการถ่ายทอดลักษณะของห่วงโซ่อุปทานโคเนื้อให้กับพนักงาน หรือผู้ปฏิบัติงานใด้เข้าใจเพื่อนำไปปรับใช้ในการผลิตโคเนื้อให้ตรงกับความต้องการของตลาด

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

- ความรู้เกี่ยวกับมาตรฐานการผลิตโคเนื้อ
- ความรู้เกี่ยวกับมาตรฐานโรงฆ่าสัตว์
- ความรู้เกี่ยวกับกระบวนการฆ่า และการตัดแต่งซาก
- ความรู้เกี่ยวกับห่วงโซ่อุปทานโคเนื้อ


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)
(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)
- สามารถเขียนขั้นตอนและแผนการผลิตโคเนื้อให้เป็นไปตามมาตรฐาน
- แฟ้มสะสมผลงาน
(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)
- ความรู้เกี่ยวกับมาตรฐานฟาร์มโคเนื้อ
- ความรู้เกี่ยวกับกระบวนฆ่า การตัดแต่งซากโคเนื้อ และมาตรฐานที่เกี่ยวข้อง
- ความรู้เรื่องการตลาดและห่วงโซ่อุปทานของฟาร์มโคเนื้อ
- ผลคะแนนทดสอบความรู้
(ค) คำแนะนำในการประเมิน
เจ้าหน้าที่สอบตรวจประเมินหลักฐานโดยพิจารณาจากหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานด้านการปฏิบัติงานหลักฐานความรู้ ที่คลอบคลุมเกณฑ์การปฏิบัติงาน ทักษะและความรู้ที่ต้องการของหน่วยสมรรถนะนี้
(ง) วิธีการประเมิน
สอบข้อเขียน
สัมภาษณ์ 
แฟ้มสะสมผลงาน


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก) คำแนะนำ
หากผู้เข้ารับการประเมินปฏิบัติตามเกณฑ์บางข้อไม่สมบูรณ์ ให้ผู้ทดสอบใช้ดุลยพินิจในการพิจารณาผลการประเมิน และผู้ทดสอบต้องให้คำแนะนำในการพัฒนาการปฏิบัติงาน ในเกณฑ์ที่ไม่สมบูรณ์นั้น โดยชี้แจงรายละเอียดในหัวข้อนั้น ๆ เพื่อให้ผู้เข้ารับการประเมินมีความเข้าใจ
(ข) คำอธิบายรายละเอียด
- มาตรฐานการผลิตโคเนื้อ หมายถึง ข้อกำหนดหรือหลักเกณฑ์ต่าง ๆ ในการผลิตโคเนื้อ ที่บัญญัติขึ้นเป็นมาตรฐานที่ได้รับการยอมรับ
- มาตรฐานโรงฆ่า หมายถึง หมายถึง ข้อกำหนด กฎหมาย หรือหลักเกณฑ์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับโรงฆ่าสัตว์
- การฆ่าและการตัดแต่งซาก หมายถึง ขั้นตอนการฆ่าสัตว์ และการตัดแต่งซากที่ได้รับการยอมรับตามหลักมาตรฐานสากล


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)

N/A


17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)

N/A


18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

สอบข้อเขียน
สัมภาษณ์ 
แฟ้มสะสมผลงาน
 


ยินดีต้อนรับ