หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

วางแผนและกำหนดแผนงานด้านการดูแลสุขภาพโคเนื้อ

สาขาวิชาชีพเกษตรกรรม


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ ARC-ZXXH-591A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ วางแผนและกำหนดแผนงานด้านการดูแลสุขภาพโคเนื้อ

3. ทบทวนครั้งที่ N/A

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

6121     เกษตรกรเลี้ยงพ่อพันธุ์-แม่พันธุ์สุกร โค กระบือ ม้า แพะ แกะ    
6121     เกษตรกรเลี้ยงวัว    
6121     คนงานฝีมือในการเลี้ยงปศุสัตว์    
6121     คนเลี้ยงวัว/ควาย    
 


6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)

หน่วยสมรรถนะนี้ใช้ทักษะและความรู้ในการวางแผนและกำหนดแผนงานด้านการดูแลสุขภาพโคเนื้อ กำกับดูแลการปฏิบัติงานตามหลักการสุขาภิบาลสัตว์ กำหนดวิธีการป้องกันและรักษาโรคที่สำคัญในโคเนื้อ เขียนขั้นตอนปฏิบัติงานการให้ยา วัคซีน สารเสริมสุขภาพโคเนื้อได้ถูกต้อง


7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)

ปศุสัตว์


9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)

N/A


10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)

- พระราชบัญญัติ วิชาชีพการสัตวบาล พ.ศ. 2565
- การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับฟาร์มโคเนื้อ สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
- พระราชบัญญัติป้องกันการทารุณกรรมและการจัดสวัสดิภาพสัตว์ พ.ศ. 2557
- พระราชบัญญัติโรคระบาดสัตว์ พ.ศ. 2558
- ระเบียบกรมปศุสัตว์ ว่าด้วยการขอรับและออกใบรับรองฟาร์มที่มีระบบการป้องกันโรค และการเลี้ยงสัตว์ที่เหมาะสม พ.ศ. 2560
- พระราชบัญญัติสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2561
- พระราชบัญญัติควบคุมคุณภาพอาหารสัตว์ พ.ศ. 2558
- พระราชบัญญัติควบคุมการฆ่าสัตว์การจำหน่ายเนื้อสัตว์ พ.ศ. 2559
 


11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria)
B5010501

กำกับดูแลการปฏิบัติงานตามหลักการสุขาภิบาลสัตว์

อธิบายหลักการสุขาภิบาลสัตว์

ถ่ายทอดหลักการสุขาภิบาลสัตว์ให้พนักงานในฟาร์มโคเนื้อ นำไปใช้ในการปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้อง

กำกับการปฏิบัติงานให้เป็นตามหลักสุขาภิบาลสัตว์

B5010502

วิเคราะห์และกำหนดวิธีการป้องกันและรักษาโรคที่สำคัญในโคเนื้อ

ระบุโรคที่สำคัญในโคเนื้อและลักษณะอาการของโรค

กำหนดวิธีการป้องกันและรักษาโรคที่สำคัญในโคเนื้อตามคำแนะนำของสัตวแพทย์

B5010503

เขียนขั้นตอนปฏิบัติงานการให้ยา วัคซีน สารเสริมสุขภาพโคเนื้อได้ถูกต้อง

เขียนขั้นตอนการปฏิบัติงานปฏิบัติการให้ยา วัคซีน สารเสริมสุขภาพโคเนื้อได้ถูกต้อง

เขียนขั้นตอนการควบคุมและจับบังคับโคเนื้อ รวมทั้งการใช้ซองควบคุมโคเนื้อได้อย่างถูกต้อง


12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

- พื้นฐานความรู้ทางด้านสัตวบาล ชีววิทยา กายวิภาค พันธุกรรม การจัดการเลี้ยงโคเนื้อ ความรู้เกี่ยวกับมาตรฐานฟาร์มโคเนื้อตามข้อกำหนด ความรู้ด้านกฎระเบียบข้อบังคับโดยกฎหมายเกี่ยวกับการดำเนินกิจการฟาร์มโคเนื้อ
- ทักษะความเป็นผู้นำ การบริหารจัดการคน การตัดสินใจ วิเคราะห์แก้ไขปัญหา วางแผนงานกลยุทธ์ รู้กลไกการตลาด บริหารต้นทุนให้เป็นไปตามเป้าหมาย
- ระบบการดำเนินงานตามความปลอดภัยทางชีวภาพ
- ความรู้การบัญชีเบื้องต้น
- การสรรหา คัดสรรและพัฒนาบุคลากรตามโครงงานที่วางแผนไว้
- ทักษะการเจรจาต่อรอง
- ความรู้และทักษะด้านคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยี


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

- ทักษะในการเขียนขั้นตอนการปฏิบัติงาน (Work Instruction) ด้านการดูแลสุขภาพสัตว์ให้แข็งแรงสมบูรณ์ตลอดระยะเวลาการเลี้ยง
- ทักษะในการถ่ายทอดและควบคุมการปฏิบัติงานการจัดการสุขาภิบาลสัตว์

(ข) ความต้องการด้านความรู้

- ความรู้เกี่ยวกับการจัดการสุขาภิบาลเพื่อให้โคเนื้อมีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง
- ความรู้เกี่ยวกับโรคของโคเนื้อที่สำคัญ
- ความรู้เกี่ยวกับการใช้ยาและวัคซีน
- ความรู้เกี่ยวกับการควบคุมบังคับสัตว์


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)
(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)
- สามารถเขียนขั้นตอนการปฏิบัติงานปฏิบัติการให้ยา วัคซีน สารเสริมสุขภาพโคเนื้อ
- สามารถเขียนขั้นตอนการควบคุมและจับบังคับโคเนื้อ
- แฟ้มสะสมผลงาน
(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)
- ความรู้เรื่องหลักการสุขาภิบาลสัตว์
- โรคที่สำคัญในโคเนื้อและลักษณะอาการของโรค
- ความรู้เรื่องการให้ยา วัคซีน สารเสริมสุขภาพโคเนื้อ
- ผลคะแนนทดสอบความรู้
(ค) คำแนะนำในการประเมิน
เจ้าหน้าที่สอบตรวจประเมินหลักฐานโดยพิจารณาจากหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานด้านการปฏิบัติงานหลักฐานความรู้ ที่คลอบคลุมเกณฑ์การปฏิบัติงาน ทักษะและความรู้ที่ต้องการของหน่วยสมรรถนะนี้
(ง) วิธีการประเมิน
สอบข้อเขียน
แฟ้มสะสมผลงาน


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก) คำแนะนำ
หากผู้เข้ารับการประเมินปฏิบัติตามเกณฑ์บางข้อไม่สมบูรณ์ ให้ผู้ทดสอบใช้ดุลยพินิจในการพิจารณาผลการประเมิน และผู้ทดสอบต้องให้คำแนะนำในการพัฒนาการปฏิบัติงาน ในเกณฑ์ที่ไม่สมบูรณ์นั้น โดยชี้แจงรายละเอียดในหัวข้อนั้น ๆ เพื่อให้ผู้เข้ารับการประเมินมีความเข้าใจ
(ข) คำอธิบายรายละเอียด
- สุขาภิบาลสัตว์ หมายถึง หมายถึงการปฏิบัติที่ช่วยรักษาสุขภาพและป้องกันโรค การระมัดระวังให้สัตว์ปราศจากโรค
- การควบคุมบังคับโคเนื้อ หมายถึง การจัดการให้โคเนื้ออยู่นิ่ง หรือเคลื่อนที่ไปในทิศทางที่ต้องการ เพื่อความสะดวกในการจัดการกับโคเนื้อ เช่น การผสม การทำวัคซีน การตีเบอร์ การให้ยา หรือให้สารเสริม ต่าง ๆ ที่จำเป็นต้องบังคับให้สัตว์อยู่นิ่งเพื่อความปลอดภัยของคนและโคเนื้อ
- สารเสริมสุขภาพสำหรับโคเนื้อ หมายถึง สารที่เติมลงในอาหารสัตว์ เพื่อจุดประสงค์ทำให้อาหารสัตว์มีคุณภาพดีกระตุ้นการเจริญเติบโต เพิ่มประสิทธิภาพการใช้อาหารและให้ผลผลิตที่มีคุณภาพดีตรงตามความต้องการของผู้บริโภค


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)

N/A


17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)

N/A


18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

สอบข้อเขียน
แฟ้มสะสมผลงาน
 


ยินดีต้อนรับ