หน่วยสมรรถนะ
วางแผนและกำหนดแผนงานการให้อาหารโคเนื้อ
สาขาวิชาชีพเกษตรกรรม
รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ
1. รหัสหน่วยสมรรถนะ | ARC-HREE-588A |
2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ | วางแผนและกำหนดแผนงานการให้อาหารโคเนื้อ |
3. ทบทวนครั้งที่ | N/A |
4. สร้างใหม่ |
![]() |
ปรับปรุง |
![]() |
5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification) | |
6121 เกษตรกรเลี้ยงพ่อพันธุ์-แม่พันธุ์สุกร โค กระบือ ม้า แพะ แกะ |
6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency) | |
หน่วยสมรรถนะนี้ใช้ทักษะและความรู้ในการวางแผนการให้อาหารโคเนื้อตามความต้องการของโคเนื้อ ในแต่ละสถานะ ได้แก่ ประเภท ระยะการให้ผลผลิตและสภาพร่างกาย (Body Condition Score: BCS) ควบคุมการปฏิบัติงานและกำหนดแผนงานการให้อาหาร ตรวจสอบความถูกต้องของรายงานปริมาณการกินอาหารของโคเนื้อ กำกับดูแลการผลิตอาหารโคเนื้อได้อย่างถูกต้อง |
7. สำหรับระดับคุณวุฒิ |
1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 |
---|---|---|---|---|---|---|---|
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
8. กลุ่มอาชีพ (Sector) | |
ปศุสัตว์ |
9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี) | |
N/A |
10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี) | |
- พระราชบัญญัติ วิชาชีพการสัตวบาล พ.ศ. 2565 |
11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria) |
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) | เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) |
---|---|
B5010201 วิเคราะห์และกำหนดความต้องการอาหารของโคเนื้อในแต่ละสถานะ |
อธิบายความต้องการอาหารของโคเนื้อในแต่ละสถานะ
กำหนดความต้องการอาหารของโคเนื้อในแต่ละสถานะได้ |
B5010202 วางแผนการปฏิบัติงานการให้อาหารโคเนื้อได้ถูกต้อง |
เขียนขั้นตอนและแผนงานการให้อาหารโคเนื้อในฟาร์ม
ถ่ายทอดแผนงานการให้อาหารโคเนื้อในฟาร์มให้พนักงานในฟาร์มเข้าใจ
กำกับดูแลการปฏิบัติงานการให้อาหารโคเนื้อในฟาร์มให้เป็นไปตามแผนที่กำหนด |
B5010203 ตรวจสอบความถูกต้องของรายงานปริมาณการกินอาหารของโคเนื้อได้ |
กำหนดแบบฟอร์มการบันทึกปริมาณการกินอาหารของโคเนื้อ
อธิบายหลักการและวิธีการคำนวณปริมาณอาหารที่กินได้
ตรวจสอบความถูกต้องของรายงานการบันทึกปริมาณการกินอาหารของโคเนื้อ |
B5010204 กำกับดูแลการผลิตอาหารโคเนื้อได้อย่างถูกต้อง |
จำแนกประเภทและรูปแบบอาหารโคเนื้อ ได้แก่ อาหารหยาบ อาหารข้น อาหารหมัก และอาหารผสมครบส่วน (TMR)
อธิบายความสำคัญของวัตถุดิบอาหารสัตว์และคุณค่าทางโภชนาการของวัตถุดิบแต่ละชนิด
อธิบายหลักการจัดการแปลงหญ้าหรือพืชอาหารสัตว์และเครื่องจักรกลการเกษตรที่ใช้ในการปฏิบัติงาน
คำนวณสูตรอาหารเบื้องต้นเพื่อผลิตอาหารโคเนื้อ
เข้าใจหลักการและขั้นตอนการผลิตอาหารสัตว์ เครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้ในการผสมอาหาร
เลือกใช้วัตถุดิบทางเลือกเพื่อลดต้นทุนอาหารได้อย่างเหมาะสม
อธิบายเกี่ยวกับกฎหมายและพระราชบัญญัติการควบคุมคุณภาพอาหารสัตว์ |
12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge) | |
- พื้นฐานความรู้ทางด้านสัตวบาล ชีววิทยา กายวิภาค พันธุกรรม การจัดการเลี้ยงโคเนื้อ ความรู้เกี่ยวกับมาตรฐานฟาร์มโคเนื้อตามข้อกำหนด ความรู้ด้านกฎระเบียบข้อบังคับโดยกฎหมายเกี่ยวกับการดำเนินกิจการฟาร์มโคเนื้อ |
13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge) | |
(ก) ความต้องการด้านทักษะ - ทักษะในการเขียนขั้นตอนการปฏิบัติงาน (Work Instruction) ด้านการจัดการอาหารโคเนื้อ (ข) ความต้องการด้านความรู้ - ความรู้เกี่ยวกับความต้องการสารอาหารของโคเนื้อในแต่ละระยะของการให้ผลผลิต |
14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide) | |
หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge) |
15. ขอบเขต (Range Statement) | |
(ก) คำแนะนำ |
16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี) | |
N/A |
17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี) | |
N/A |
18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure) | |
สอบข้อเขียน |