หน่วยสมรรถนะ
ดูแลสุขภาพโคเนื้อ
สาขาวิชาชีพเกษตรกรรม
รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ
1. รหัสหน่วยสมรรถนะ | ARC-YQKF-581A |
2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ | ดูแลสุขภาพโคเนื้อ |
3. ทบทวนครั้งที่ | N/A |
4. สร้างใหม่ |
![]() |
ปรับปรุง |
![]() |
5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification) | |
6121 เกษตรกรเลี้ยงพ่อพันธุ์-แม่พันธุ์สุกร โค กระบือ ม้า แพะ แกะ |
6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency) | |
หน่วยสมรรถนะนี้ใช้ทักษะและความรู้ในหลักการสุขาภิบาลสัตว์เบื้องต้น สามารถระบุสาเหตุและอาการของโรคที่สำคัญในโคเนื้อ เข้าใจวิธีการป้องกันโรคติดต่อและสามารถนำไปปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง ปฏิบัติงานการให้ยา วัคซีน สารเสริมสุขภาพสัตว์ต่าง ๆ ได้อย่างถูกต้อง ภายใต้คำแนะนำของสัตวบาลหรือสัตวแพทย์ |
7. สำหรับระดับคุณวุฒิ |
1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 |
---|---|---|---|---|---|---|---|
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
8. กลุ่มอาชีพ (Sector) | |
ปศุสัตว์ |
9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี) | |
N/A |
10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี) | |
- การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับฟาร์มโคเนื้อ สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ |
11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria) |
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) | เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) |
---|---|
B4010601 ประยุกต์ใช้หลักการสุขาภิบาลโคเนื้อเบื้องต้น |
ระบุสาเหตุของแหล่งกำเนิดเชื้อโรคในโคเนื้อ
อธิบายพฤติกรรมของโคปกติ/โคป่วย
ระบุถึงปัจจัยแวดล้อมที่มีผลต่อสุขภาพของโคเนื้อ
อธิบายความสำคัญของวัคซีน และความแตกต่างของการใช้ยาปฏิชีวนะในการรักษาโรคในโคเนื้อ
ระบุวิธีการป้องกันโรคติดต่อโคเนื้อและสามารถนำไปปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง |
B4010602 อธิบายเกี่ยวกับอาการของโรคที่สำคัญในโคเนื้อ |
ระบุชนิดของโรคที่มักเกิดในโคเนื้อ
ระบุเกี่ยวกับโรคชนิดติดต่อ โรคไม่ติดต่อ และโรคสัตว์ติดคน-คนติดสัตว์ (Zoonosis)
อธิบายเกี่ยวกับอาการเจ็บป่วยหรือการบาดเจ็บที่ไม่ได้เกิดจากเชื้อโรค
อธิบายเกี่ยวกับพฤติกรรมของสัตว์ที่แสดงออกต่ออาการเจ็บป่วย
อธิบายเกี่ยวกับสรีระวิทยา (Physiology) และกายวิภาค (Anatomy) ของโคเนื้อ |
B4010603 ให้ยา วัคซีน สารเสริมสุขภาพสำหรับโคเนื้อได้อย่างถูกต้อง ภายใต้คำแนะนำของสัตวบาลหรือสัตวแพทย์ |
อธิบายวิธีการให้ยาแต่ละชนิด (กล้ามเนื้อ/ใต้ผิวหนัง/เส้นเลือด และตำแหน่งในการฉีด)
อธิบายขั้นตอนในการควบคุมและการให้ยาโคเนื้อ
อธิบายวิธีการลดอุบัติเหตุในการให้ยาและรักษาโคเนื้อ
ใช้ซองควบคุมบังคับโคเนื้อได้
อธิบายหลักการประเมินน้ำหนักโคเนื้อ
อธิบายวัตถุประสงค์ของการให้ยากิน/ฉีด
อธิบายหลักการของความสะอาดและสุขอนามัยในการให้ยาและนำไปปฏิบัติได้อย่างเหมาะสม
ใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับการรักษาและสุขาภิบาลสัตว์ ได้อย่างเหมาะสม |
12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge) | |
- ความรู้พื้นฐานทางด้านสัตวบาล ชีววิทยา กายวิภาค พันธุกรรม การจัดการเลี้ยงโคเนื้อ |
13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge) | |
(ก) ความต้องการด้านทักษะ - ทักษะในการปฏิบัติงานด้านการจัดการสุขาภิบาล การป้องกันดูแล และรักษาโรคของโคเนื้อ (ข) ความต้องการด้านความรู้ - ความรู้เกี่ยวกับการจัดการสุขาภิบาล เพื่อให้โคเนื้อมีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง |
14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide) | |
หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge) |
15. ขอบเขต (Range Statement) | |
(ก) คำแนะนำ |
16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี) | |
N/A |
17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี) | |
N/A |
18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure) | |
สอบข้อเขียน |