หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ดูแลอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับการเลี้ยงไก่เนื้อ

สาขาวิชาชีพเกษตรกรรม


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ ARC-WDYP-572A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ดูแลอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับการเลี้ยงไก่เนื้อ

3. ทบทวนครั้งที่ N/A

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

6122     เกษตรกรดูแลการฟักไข่ของสัตว์ปีก    
6122     เกษตรกรผสมพันธุ์และเพาะพันธุ์สัตว์ปีก    
6122     หัวหน้าคนงานเลี้ยงสัตว์ปีก    
6122     ผู้เลี้ยงสัตว์ปีก    
6122     เจ้าของฟาร์มเลี้ยงไก่เนื้อ/ไก่ไข่    
6122     คนงานฝีมือในการเลี้ยงสัตว์ปีก    
6122     เกษตรกรเลี้ยงพ่อพันธุ์-แม่พันธุ์เป็ด ไก่    
6122     เกษตรกรเลี้ยงไก่    


6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)

หน่วยสมรรถนะนี้ใช้ทักษะและความรู้ในการดูแลอุปกรณ์การระบายอากาศภายในและภายนอกโรงเรือนเลี้ยงไก่เนื้อ ดูแลอุปกรณ์ให้แสงสว่างและอุปกรณ์ให้ความร้อนภายในโรงเรือนเลี้ยงไก่เนื้อ ปฏิบัติงานติดตั้งอุปกรณ์ส่งเสริมการเลี้ยงไก่เนื้อ จัดหาวัสดุรองพื้นในโรงเรือนเลี้ยงไก่เนื้อ เตรียมพื้นสแลทและรังไข่สำหรับพ่อพันธุ์และแม่พันธุ์ไก่เนื้อ


7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)

ปศุสัตว์


9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)

N/A


10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)

- พระราชบัญญัติ วิชาชีพการสัตวบาล พ.ศ. 2565
- มาตรฐานฟาร์มไก่เนื้อ กรมปศุสัตว์
- พระราชบัญญัติป้องกันการทารุณกรรมและการจัดสวัสดิภาพสัตว์ พ.ศ. 2557
- พระราชบัญญัติโรคระบาดสัตว์ พ.ศ. 2558
- ระเบียบกรมปศุสัตว์ ว่าด้วยการขอรับและออกใบรับรองฟาร์มที่มีระบบการป้องกันโรค และการเลี้ยงสัตว์ที่เหมาะสม พ.ศ. 2560
- พระราชบัญญัติสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2561
- พระราชบัญญัติควบคุมคุณภาพอาหารสัตว์ พ.ศ. 2558
- พระราชบัญญัติควบคุมการฆ่าสัตว์การจำหน่ายเนื้อสัตว์ พ.ศ. 2559


11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria)
D4010201

ใช้งานและบำรุงรักษาอุปกรณ์ระบายอากาศภายในและภายนอกโรงเรือนเลี้ยงไก่เนื้อ 

ใช้งานอุปกรณ์ระบายอากาศภายในและภายนอกโรงเรือนเลี้ยงไก่เนื้อตามคู่มือการปฏิบัติหรือคำแนะนำจากหัวหน้างาน

ตรวจสอบระบบระบายอากาศในเบื้องต้นได้ตามคำแนะนำของหัวหน้างาน

ตรวจสอบและแก้ไขปัญหาที่เกิดกับอุปกรณ์ระบายอากาศในเบื้องต้นได้

บำรุงรักษาอุปกรณ์ระบายอากาศเบื้องต้นตามคู่มือการปฏิบัติหรือคำแนะนำจากหัวหน้างาน

D4010202

ติดตั้ง ใช้งานและบำรุงรักษาอุปกรณ์ให้แสงสว่างภายในโรงเรือนเลี้ยงไก่เนื้อ

ติดตั้งอุปกรณ์ให้แสงสว่างภายในโรงเรือนเลี้ยงไก่เนื้อคู่มือหรือคำแนะนำจากหัวหน้างาน

ตรวจสอบอุปกรณ์ให้แสงสว่างสามารถใช้งานได้ตามวัตถุประสงค์

จัดเก็บและบำรุงรักษาอุปกรณ์ให้แสงสว่างให้พร้อมใช้งาน

แก้ไขปัญหาระบบแสงสว่างเบี้องต้นโดยได้รับคำแนะนำจากหัวหน้างาน

ใช้เครื่องมือ Lux meter ในการตรวจสอบแสงสว่างได้ถูกต้อง

D4010203

ติดตั้ง ใช้งานและบำรุงรักษาระบบให้ความร้อนแบบจุดหรือทั้งโรงเรือนเลี้ยงไก่เนื้อ

ติดตั้งระบบให้ความร้อนในโรงเรือนเลี้ยงไก่เนื้อตามคู่มือหรือคำแนะนำจากหัวหน้างาน

ปรับอุปกรณ์การให้ความร้อนที่เหมาะสมตามช่วงอายุการเลี้ยง

จัดเก็บและบำรุงรักษาอุปกรณ์ให้ความร้อนให้พร้อมใช้งาน

ใช้งานเครื่องมือ Thermometer ในการตรวจสอบระบบให้ความร้อนได้ถูกต้อง

แก้ไขปัญหาของระบบให้ความร้อนเบื้องต้นได้ภายใต้คำแนะนำของหัวหน้างาน

D4010204

จัดหาวัสดุรองพื้นในโรงเรือนเลี้ยงไก่เนื้อ

เลือกวัสดุรองพื้นได้อย่างถูกต้อง

สังเกตและประเมินคุณภาพของวัสดุรองพื้นภายในโรงเรือนได้

D4010205

เตรียมพื้นสแลทสำหรับพ่อพันธุ์และแม่พันธุ์ไก่เนื้อ

เขียนขั้นตอนในการติดตั้งพื้นสแลทตามคู่มือการปฏิบัติ

สังเกตและประเมินคุณภาพพื้นสแลทภายในโรงเรือนได้

ดูแลและบำรุงรักษาพื้นสแลทให้สามารถใช้งานได้ตามวัตถุประสงค์

D4010206

จัดเตรียมรังไข่สำหรับพ่อพันธุ์และแม่พันธุ์ไก่เนื้อ

เขียนขั้นตอนในการติดตั้งรังไข่ตามคู่มือการปฏิบัติ

ระบุจำนวนรังไข่ภายในโรงเรือนได้อย่างถูกต้อง

ดูแลและบำรุงรักษารังไข่สามารถให้ใช้งานได้ตามวัตถุประสงค์


12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

- ความรู้พื้นฐานทางด้านสัตวบาล ชีววิทยา กายวิภาค พันธุกรรม การจัดการเลี้ยงไก่เนื้อ
- ความรู้พื้นที่เกี่ยวกับมาตรฐานฟาร์มไก่เนื้อตามข้อกำหนด 
- ความรู้พื้นฐานด้านการจัดการตัวสัตว์
- ความรู้และทักษะด้านคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยี
- ทักษะการอ่านและการสื่อสาร
 


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

- มีทักษะในการใช้เทคโนโลยีในการปฏิบัติงาน
 - มีทักษะการคิด การสื่อสาร สามารถแก้ปัญหาพื้นฐานที่พบประจำ
 - มีทักษะในการประเมินสุขภาพไก่เนื้อเบื้องต้น 
- มีทักษะในการใช้อุปกรณ์และการบำรุงรักษาเพื่อใช้ในการเลี้ยงขั้นพื้นฐาน
- มีทักษะในการตรวจสอบลักษณะภายนอกเบื้องต้นของไก่เนื้อได้
 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

- มีความรู้ในการอ่าน เขียน พูด ภาษาไทยขั้นพื้นฐานได้
 - มีความรู้ความเข้าใจในวิชาชีพพื้นฐานและภาษาที่ใช้ในการสื่อสารเบื้องต้น
 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)
(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)
- สามารถตรวจสอบและบำรุงรักษาระบบระบายอากาศในเบื้องต้น
- สามารถติดตั้ง จัดเก็บและบำรุงรักษาอุปกรณ์ให้แสงสว่างภายในโรงเรือนเลี้ยงไก่เนื้อ
- สามารถใช้เครื่องมือ Lux meter
- สามารถติดตั้ง จัดเก็บและบำรุงรักษาอุปกรณ์ให้ความร้อนภายในโรงเรือนเลี้ยงไก่เนื้อ
- เลือกวัสดุรองพื้นภายในโรงเรือนเลี้ยงไก่เนื้อได้
- ผลคะแนนสาธิตการปฏิบัติงาน
- ผลคะแนนการสัมภาษณ์
(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)
- ความรู้เรื่องการใช้งานอุปกรณ์ระบายอากาศภายในและภายนอกโรงเรือนไก่เนื้อ
- ความรู้เรื่องการใช้งานอุปกรณ์ให้แสงสว่างภายในโรงเรือนไก่เนื้อ
- ความรู้เรื่องการใช้งานอุปกรณ์ให้ความร้อนภายในโรงเรือนเลี้ยงไก่เนื้อ
- ความรู้เรื่องวัสดุรองพื้นโรงเรือนไก่เนื้อ
- ความรู้เรื่องการบำรุงรักษาเบื้องต้น
- ผลคะแนนทดสอบความรู้และการสัมภาษณ์
(ค) คำแนะนำในการประเมิน
 เจ้าหน้าที่สอบตรวจประเมินหลักฐานโดยพิจารณาจากหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานด้านการปฏิบัติงานหลักฐานความรู้ ที่คลอบคลุมเกณฑ์การปฏิบัติงาน ทักษะและความรู้ที่ต้องการของหน่วยสมรรถนะนี้
(ง) วิธีการประเมิน
สอบข้อเขียน
สอบสัมภาษณ์
สาธิตการปฏิบัติงาน


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก) คำแนะนำ
 หากผู้เข้ารับการประเมินปฏิบัติตามเกณฑ์บางข้อไม่สมบูรณ์ ให้ผู้ทดสอบใช้ดุลยพินิจในการพิจารณาผลการประเมิน และผู้ทดสอบต้องให้คำแนะนำในการพัฒนาการปฏิบัติงาน ในเกณฑ์ที่ไม่สมบูรณ์นั้น โดยชี้แจงรายละเอียดในหัวข้อนั้น ๆ เพื่อให้ผู้เข้ารับการประเมินมีความเข้าใจ
(ข) คำอธิบายรายละเอียด
- การดูแลอุปกรณ์ระบายอากาศ หมายถึง บำรุงรักษาอุปกรณ์ ทำความสะอาด และหยอดน้ำมันหล่อลื่นที่จำเป็นสำหรับอุปกรณ์ระบายอากาศ
- อุปกรณ์การให้แสงสว่าง หมายถึง อุปกรณ์ที่ให้แสงสว่างภายในโรงเรือนที่จำเป็นต่อการมองเห็นของไก่
- Lux meter คือ เครื่องวัดปริมาณของแสงที่มองเห็น (ความสว่าง) ในพื้นที่ที่กำหนดทดสอบสว่างจะแสดงในหน่วยของ LUX (ตัวชี้วัด) และเทียนเท้า (อังกฤษ) Lux เป็นหน่วยมาตรฐานของการวัดความเข้มของแสง (ซึ่งยังสามารถเรียกว่า “ความสว่าง” หรือ “ความสว่าง”) 1 ลักซ์มีค่าเท่ากับความสว่างของพื้นผิวหนึ่งเมตรห่างจากเทียนเดียว 
- ระบบให้ความร้อนในโรงเรือน หมายถึง ระบบให้ความร้อนแบบจุด/ทั้งโรงเรือน โดยการติดตั้งฝาชีให้ความร้อนโดยการใช้พลังงานทั้งแบบไฟฟ้าและแบบแก็สสำหรับการให้ความร้อนแบบจุด เพื่อให้ความอบอุ่นกับไก่ภายในโรงเรือน
- วัสดุรองพื้น หมายถึง วัสดุใช้สำหรับรองพื้นเพื่อดูดซับความชื้นจากมูลไก่ นิยมใช้วัสดุจำพวกขี้กบที่ได้จากการใสไม้ และแกลบ
- พื้นสแลท หมายถึง แผ่นพื้นที่ทำเป็นร่องเล็ก ๆ สำหรับให้มูลไก่ตกลงไปในชั้นล่างของโรงเรือน ใช้สำหรับฝูงไก่พ่อแม่พันธุ์ที่นิยมสร้างแบบพื้นยกสูง 
- รังไข่ หมายถึง ที่สำหรับให้แม่ไก่เข้าไปไข่ อาจเป็นชั้นเดียวหรือหลายชั้น ใช้สำหรับฝูงพ่อแม่พันธุ์


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)

N/A


17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)

N/A


18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

สอบข้อเขียน
สอบสัมภาษณ์
สาธิตการปฏิบัติงาน


ยินดีต้อนรับ