หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ปฏิบัติงานตามระบบสุขาภิบาลและความปลอดภัยในฟาร์มสุกร

สาขาวิชาชีพเกษตรกรรม


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ ARC-IDJE-570A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ปฏิบัติงานตามระบบสุขาภิบาลและความปลอดภัยในฟาร์มสุกร

3. ทบทวนครั้งที่ N/A

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

6121     เกษตรกรเลี้ยงสุกร    


6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)

หน่วยสมรรถนะนี้ใช้ทักษะและความรู้ในการดูแลสุขภาพสัตว์ ระบบความปลอดภัยทางชีวภาพและระบบสุขาภิบาลในฟาร์มสุกร การดูแลการเตรียมโรงเรือนและสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต่อสุกร การปฏิบัติงานตามหลักความปลอดภัยทั้งบุคลากรและสัตว์เลี้ยง


7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)

ปศุสัตว์


9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)

N/A  


10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)

- พระราชบัญญัติ วิชาชีพการสัตวบาล พ.ศ. 2565
- พระราชบัญญัติป้องกันการทารุณกรรมและการจัดสวัสดิภาพสัตว์ พ.ศ. 2557 
- พระราชบัญญัติโรคระบาดสัตว์ พ.ศ. 2558  
- ระเบียบกรมปศุสัตว์ว่าด้วยการขอรับและออกใบรับรองการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีด้านปศุสัตว์ พ.ศ. 2558 (การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับฟาร์มสุกร)  
- ระเบียบกรมปศุสัตว์ ว่าด้วยการขอรับและออกใบรับรองฟาร์มที่มีระบบการป้องกันโรค และการเลี้ ยงสัตว์ที่เหมาะสม พ.ศ. 2560 
- พระราชบัญญัติสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2561
 


11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria)
A4010401

ดูแลสุขภาพสุกรตามที่ได้รับมอบหมาย

ทำวัคซีนตามโปรแกรมของฟาร์มสุกร

ตรวจสุขภาพสุกรเบื้องต้น

เก็บตัวอย่างเพื่อส่งตรวจห้องปฏิบัติการตามที่ได้รับมอบหมาย 

ติดตามผลการรักษาสุกรและรายงานต่อหัวหน้างาน

A4010402

ดำเนินการตามระบบความปลอดภัยทางชีวภาพและระบบสุขาภิบาลในฟาร์มสุกร

เลี้ยงสุกรให้เป็นไปตามความปลอดภัยทางชีวภาพในฟาร์มเลี้ยงสุกร

ใช้ยาฆ่าเชื้อในพื้นที่สำนักงานและพื้นที่การเลี้ยงสัตว์ตามคำแนะนำผู้ผลิต

ควบคุมการเข้า-ออกยานพาหนะเข้าฟาร์มตามข้อกำหนดความปลอดภัยทางชีวภาพ

ควบคุมการเข้า-ออกของบุคคลและสิ่งของตามข้อกำหนดความปลอดภัยทางชีวภาพ

ปฏิบัติงานตามข้อกำหนดเพื่อควบคุมมลภาวะภายในฟาร์มสุกร

ควบคุมระบบบำบัดน้ำเสีย บ่อพักน้ำและบำบัดน้ำสำหรับการบริโภคของสุกร

A4010403 รับสุกรจากแหล่งอื่นเข้าเลี้ยงในฟาร์มตามระบบความปลอดภัยทางชีวภาพ

ตรวจสอบเบอร์หูและพันธุ์ประวัติสุกรกับฟาร์มต้นทาง

เตรียมโรงเรือนรับสุกรที่มาจากแหล่งอื่น

ปรับสภาพแวดล้อมสุกรที่มาจากแหล่งอื่นให้คุ้นชินกับสภาพแวดล้อมในฟาร์ม

A4010404

จัดสภาพแวดล้อมภายในโรงเรือนเลี้ยงสุกรให้เหมาะสม

เตรียมโรงเรือนระบบปิดและระบบเปิดก่อนรับสุกรเข้าเลี้ยง

ติดตั้งอุปกรณ์ให้อาหารและน้ำก่อนรับสุกรในแต่ละระยะเข้าเลี้ยง

ติดตั้งอุปกรณ์ให้แสงสว่าง ไฟกก และวัสดุรองพื้นในโรงเรือนอนุบาล

ตรวจความเรียบร้อยของอุปกรณ์ปรับสภาพแวดล้อมในโรงเรือนเลี้ยงสุกร

สังเกตพฤติกรรมของสุกรกับความต้องการของสภาพแวดล้อมในโรงเรือน

ปรับสภาพแวดล้อมในโรงเรือนให้เป็นไปตามโปรแกรมที่กำหนดในสุกรแต่ละระยะ

A4010405

ปฏิบัติงานให้มีความปลอดภัยของบุคลากรและสัตว์

ปฏิบัติงานตามมาตรฐานความปลอดภัยของบุคลากร

เลือกใช้เครื่องมือและอุปกรณ์สำหรับการป้องกันอันตรายในโรงเรือนเลี้ยงสุกร

ปฏิบัติงานตามหลักสวัสดิภาพสัตว์

ป้องกันสัตว์พาหะทั้งในและรอบโรงเรือนเลี้ยงสุกร

ปฏิบัติงานตามระบบป้องกันอัคคีภัย


12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

- ความรู้และทักษะการจัดการพ่อและแม่สุกรพันธุ์
- ความรู้และทักษะผสมพันธุ์สุกร
- ความรู้และทักษะการใช้เครื่องมือ,อุปกรณ์ที่ใช้ในการคัดเลือกพันธุ์  
- ความรู้และทักษะการจัดการแม่อุ้มท้อง-คลอด
- ความรู้และทักษะการจัดการแม่หลังคลอด-หย่านม
- ความรู้และทักษะการจัดการสุกรขุน
- ความรู้และทักษะการให้อาหารสุกรแต่ละระยะ
- ความรู้และทักษะการปฏิบัติตามหลักสุขาภิบาลที่ดีและความปลอดภัยทางชีวภาพ
- ความรู้และทักษะการจัดการสภาพแวดล้อมภายในโรงเรือน
- ความรู้และทักษะด้านคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยี


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

- ทักษะการปฏิบัติงานตามระบบความปลอดภัยทางชีวภาพในฟาร์มสุกรทั้งด้านบุคคล สิ่งของ และพาหนะที่เข้า - ออกฟาร์ม
- ทักษะการจัดการสภาพแวดล้อมในโรงเรือนที่เหมาะสมกับสุกรในทุกระยะ
- ทักษะการปฏิบัติต่อสุกรตามหลักการสวัสดิภาพสัตว์
- ทักษะการสังเกตพฤติกรรมสุกรและสุขภาพสุกร    
 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

- ความรู้การจัดการสุขภาพสุกร โรคสำคัญ และโรคระบาดในสุกร 
- ความรู้เรื่องความปลอดภัยทางชีวภาพในฟาร์มสุกร
- ความรู้เรื่องโรงเรือนอุปกรณ์และการจัดการสภาพแวดล้อมในฟาร์ม
- ความรู้เรื่องการจัดการของเสียฟาร์มสุกร
- ความรู้เรื่องการเลี้ยงสุกรตามหลักสวัสดิภาพสัตว์
 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)
(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)
- สามารถทำวัคซีนและดูแลสุขภาพสุกรเบื้องต้น
- สามารถเก็บตัวอย่างเพื่อส่งตรวจห้องปฏิบัติการ
- สามารถเลี้ยงสุกรให้เป็นไปตามความปลอดภัยทางชีวภาพ
- สามารถตรวจสอบเบอร์หูและพันธุ์ประวัติสุกร
- สามารถปรับสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมกับสุกร
- สามารถป้องกันสัตวพาหะทั้งในและรอบโรงเรือนเลี้ยงสุกร
- สามารถปฏิบัติงานตามหลักสวัสดิภาพสัตว์
- ผลคะแนนสาธิตการปฏิบัติงาน
- ผลคะแนนสัมภาษณ์
(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)
- ความรู้เรื่องการทำวัคซีนสุกร
- ความรู้เรื่องความปลอดภัยทางชีวภาพในฟาร์มเลี้ยงสุกร
- ความรู้เรื่องสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมกับสุกรในแต่ละระยะ
- ความรู้เรื่องหลักสวัสดิภาพสัตว์
- ผลคะแนนข้อเขียนและสัมภาษณ์
(ค) คำแนะนำในการประเมิน
เจ้าหน้าที่สอบตรวจประเมินหลักฐานโดยพิจารณาจากหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานด้านการปฏิบัติงานหลักฐานความรู้ ที่คลอบคลุมเกณฑ์การปฏิบัติงาน ทักษะและความรู้ที่ต้องการของหน่วยสมรรถนะนี้     
(ง) วิธีการประเมิน
สอบข้อเขียน
สอบสัมภาษณ์
สาธิตการปฏิบัติงาน


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก) คำแนะนำ
หากผู้เข้ารับการประเมินปฏิบัติตามเกณฑ์บางข้อไม่สมบูรณ์ ให้ผู้ทดสอบใช้ดุลยพินิจในการพิจารณาผลการประเมิน และผู้ทดสอบต้องให้คำแนะนำในการพัฒนาการปฏิบัติงาน ในเกณฑ์ที่ไม่สมบูรณ์นั้น โดยชี้แจงรายละเอียดในหัวข้อนั้น ๆ เพื่อให้ผู้เข้ารับการประเมินมีความเข้าใจ
(ข) คำอธิบายรายละเอียด
- การเก็บตัวอย่าง หมายถึง การเก็บตัวอย่างจากสุกรเพื่อส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ เพื่อวินิจฉัยสาเหตุการป่วยของสุกรและติดตามสุขภาพสุกร ตัวอย่างส่งตรวจ ได้แก่ อุจจาระ อาหาร น้ำ เป็นต้น
- ความปลอดภัยทางชีวภาพ หมายถึง ระบบการจัดการและมาตรการทางกายภาพที่ดำเนินการเพื่อป้องกันควบคุมโรค โดยการลดความเสี่ยงของการนำเชื้อโรคเข้ามาสู่ฟาร์ม หรือการกระจายของเชื้อโรคภายในออกจากฟาร์ม รวมถึงการแพร่กระจายของโรคในสัตว์ 
- อุปกรณ์ปรับสภาพแวดล้อม หมายถึง พัดลมระบายอากาศในโรงเรือน เยื่อกระดาษ น้ำหยด สเปรย์น้ำ ชุดควบคุมอัตโนมัติ (Controller)
- โปรแกรมสภาพแวดล้อม หมายถึง การติดตามอุณหภูมิในโรงเรือนสุกร ความชื้น การระบายอากาศ ความหนาแน่นต่อพื้นที่การเลี้ยงสุกร
- การปรับสภาพแวดล้อมสุกร หมายถึง การดูแลโรงเรือน อาหาร น้ำ และสภาพแวดล้อมในคอกเลี้ยงสุกรให้เหมาะสมเพื่อลดความเครียดของสุกรที่รับมาใหม่ รวมถึงการทำให้สุกรที่รับเข้ามาใหม่ได้รับการกระตุ้นการสร้างภูมิคุ้มกันโดยการนำสุกรที่มีในฟาร์มเข้ามาเลี้ยงรวมกัน
- สัตว์พาหะ หมายถึง สิ่งมีชีวิตที่เป็นพาหะนำโรค โดยสัตว์พาหะมีหลายประเภท ได้แก่ สัตว์พาหะที่เป็นปรสิตภายนอก (External parasite) เช่น เห็บ เหา ไร สัตว์พาหะที่ไม่เป็นปรสิต (Non parasitic insects) เช่น แมลงวันบ้าน แมลงปีกแข็ง หนู นก
 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)

N/A


17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)

N/A


18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

สอบข้อเขียน
สอบสัมภาษณ์
สาธิตการปฏิบัติงาน


ยินดีต้อนรับ