หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

เตรียมและให้อาหารสุกร

สาขาวิชาชีพเกษตรกรรม


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ ARC-GOFK-568A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ เตรียมและให้อาหารสุกร

3. ทบทวนครั้งที่ N/A

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

6121     เกษตรกรเลี้ยงสุกร


6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)

หน่วยสมรรถนะนี้ใช้ทักษะและความรู้เกี่ยวกับความต้องการโภชนะของสุกร สามารถปฏิบัติงานด้านการจัดการให้อาหารมีคุณภาพสำหรับสุกรในแต่ละช่วงวัยและระยะการให้ผลผลิต สามารถประเมินประสิทธิภาพผลผลิตสุกรจากการจัดการให้อาหารได้อย่างถูกต้อง


7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)

ปศุสัตว์


9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)

N/A


10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)

- พระราชบัญญัติป้องกันการทารุณกรรมและการจัดสวัสดิภาพสัตว์ พ.ศ. 2557 
- พระราชบัญญัติโรคระบาดสัตว์ พ.ศ. 2558  
- ระเบียบกรมปศุสัตว์ว่าด้วยการขอรับและออกใบรับรองการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีด้านปศุสัตว์ พ.ศ. 2558 (การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับฟาร์มสุกร)  
- ระเบียบกรมปศุสัตว์ ว่าด้วยการขอรับและออกใบรับรองฟาร์มที่มีระบบการป้องกันโรค และการเลี้ยงสัตว์ที่เหมาะสม พ.ศ. 2560 
- พระราชบัญญัติสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2561
- พระราชบัญญัติวิชาชีพการสัตวบาล พ.ศ. 2565
 


11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria)
A4010201

ให้อาหารสุกรตามความต้องการโภชนะของสุกรในแต่ละช่วงอายุ

ตรวจสอบคุณภาพอาหารทางกายภาพก่อนให้อาหารสุกร

เก็บรักษาอาหารสุกรตามหลักปฏิบัติที่ดี

ให้อาหารตามความต้องการทางโภชนะอาหารให้เหมาะสมกับสุกรในแต่ละช่วงอายุ

ให้คะแนนรูปร่างแม่สุกรตามหลักการประเมินที่ถูกต้อง

วิเคราะห์และแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับการให้อาหารสุกร

A4010202

ดูแลระบบการให้อาหารสุกร

อธิบายวิธีการให้อาหารแบบจำกัดจำนวนหรือไม่จำกัดจำนวนในแต่ละระยะ

คำนวณประสิทธิภาพการให้อาหารสุกรรุ่น-ขุน


12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

- ความรู้และทักษะการจัดการพ่อและแม่สุกรพันธุ์
- ความรู้และทักษะผสมพันธุ์สุกร
- ความรู้และทักษะการใช้เครื่องมือ,อุปกรณ์ที่ใช้ในการคัดเลือกพันธุ์  
- ความรู้และทักษะการจัดการแม่อุ้มท้อง-คลอด
- ความรู้และทักษะการจัดการแม่หลังคลอด-หย่านม
- ความรู้และทักษะการจัดการสุกรขุน
- ความรู้และทักษะการให้อาหารสุกรแต่ละระยะ
- ความรู้และทักษะการปฏิบัติตามหลักสุขาภิบาลที่ดีและความปลอดภัยทางชีวภาพ
- ความรู้และทักษะการจัดการสภาพแวดล้อมภายในโรงเรือน
- ความรู้และทักษะด้านคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยี
 


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

- ทักษะการประเมินความสมบูรณ์ร่างกายของสุกร (Body Condition Score)
- ทักษะการประเมินคุณภาพวัตถุดิบและอาหารสัตว์
- ทักษะการประเมินประสิทธิภาพผลผลิตและการคำนวณประสิทธิภาพการผลิต
- ทักษะการตรวจสอบคุณภาพอาหารและการเก็บรักษาอาหาร
 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

- ความรู้หลักโภชนาการและความต้องการโภชนะของสุกร
- ความรู้ด้านวัตถุดิบ อาหารสัตว์ ยาผสมในอาหารสัตว์และกฎหมายอาหารสัตว์
- ความรู้ด้านสรีระวิทยาสุกร 
- ความรู้ด้านพฤติกรรมสัตว์
- ความรู้ด้านอุปกรณ์ที่เกี่ยวกับด้านอาหารสัตว์
- ความรู้ด้านการจัดเก็บอาหารสัตว์
 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)
(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)
- สามารถให้อาหารและตรวจสอบความผิดปกติของอาหารสุกร
- สามารถประเมินความสมบูรณ์ของสุกร
- ผลคะแนนสัมภาษณ์
(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)
- ความรู้เรื่องการกินอาหารของสุกร
- ความรู้เรื่องการเก็บรักษาอาหารสำหรับสุกร
- ความรู้เรื่องหลักการประเมินความสมบูรณ์ของสุกร
- ผลคะแนนข้อเขียนและสัมภาษณ์
(ค) คำแนะนำในการประเมิน
เจ้าหน้าที่สอบตรวจประเมินหลักฐานโดยพิจารณาจากหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานด้านการปฏิบัติงานหลักฐานความรู้ ที่คลอบคลุมเกณฑ์การปฏิบัติงาน ทักษะและความรู้ที่ต้องการของหน่วยสมรรถนะนี้     
(ง) วิธีการประเมิน
สอบข้อเขียน
สอบสัมภาษณ์


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก) คำแนะนำ
หากผู้เข้ารับการประเมินปฏิบัติตามเกณฑ์บางข้อไม่สมบูรณ์ ให้ผู้ทดสอบใช้ดุลยพินิจในการพิจารณาผลการประเมิน และผู้ทดสอบต้องให้คำแนะนำในการพัฒนาการปฏิบัติงาน ในเกณฑ์ที่ไม่สมบูรณ์นั้น โดยชี้แจงรายละเอียดในหัวข้อนั้น ๆ เพื่อให้ผู้เข้ารับการประเมินมีความเข้าใจ
(ข) คำอธิบายรายละเอียด
- การตรวจสอบคุณภาพอาหารทางกายภาพ หมายถึง การพิจารณาคุณภาพของอาหารด้วยสายตา เช่น การประเมินลักษณะเม็ด ความชื้น กลิ่น การจับตัวเป็นก้อนของอาหาร 
- โภชนะอาหาร หมายถึง สิ่งที่เป็นองค์ประกอบในอาหารสัตว์ เมื่อสัตวืกินเข้าไปในปริมาณที่เพียงพอแล้ว สามารถนําไปใช้ในการดํารงชีวิต การเจริญเติบโต การสืบพันธุ์ และการให้ผลผลิต แต่หากสัตว์ได้รับโภชนะไม่เพียงพอจะส่งผลเสียต่อการดํารงชีวิต จนทําให้สัตว์ตาย หรืออยู่ในสภาพทุพโภชนาการ (malnutrition)
- ช่วงอายุของสุกร หมายถึง ช่วงสุกรพ่อ-แม่พันธุ์ ลูกสุกร สุกรขุน ไปจนถึงสุกรรุ่น
- คะแนนรูปร่างสุกร หมายถึง ความสมบูรณ์ร่างกายของสุกร (Body Condition Score, BCS) โดยพิจารณาจากลักษณะของสุกรภายนอก แบ่งออกเป็น 5 ระดับ ตั้งแต่ระดับ 1 = ผอมที่สุด ระดับ 5 = อ้วนที่สุด    
- ประสิทธิภาพการให้อาหาร หมายถึง การคำนวณการกินอาหารได้ของสุกรที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของสุกร ได้แก่ อัตราการกินอาหารของสุกรต่อวัน อัตราการเจริญเติบโตของสุกรต่อวันและอัตราการเปลี่ยนอาหาร เป็นต้น


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)

N/A


17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)

N/A


18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

สอบข้อเขียน
สอบสัมภาษณ์
 


ยินดีต้อนรับ