หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

บริหารงานขนส่งสินค้าทางถนน

สาขาวิชาชีพโลจิสติกส์


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ LOG-GANS-806A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ บริหารงานขนส่งสินค้าทางถนน

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2565

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ผู้บริหารงานขนส่งสินค้าทางถนน


6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)

บุคคลที่ทำหน้าที่บริหารงานขนส่งสินค้าทางถนน ซึ่งจะต้องปฏิบัติงานเกี่ยวกับการบริหารจัดการคุณภาพในการให้บริการ การบริหารจัดการลูกค้าสัมพันธ์ การบริหารจัดการความรับผิดชอบต่อสังคม และสิ่งแวดล้อม การจัดการบริหารงบประมาณ และการจัดการบุคลากรในการขนส่งสินค้าทางถนน


7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)

กลุ่มวิชาชีพโลจิสติกส์


9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)

N/A


10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)

N/A


11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria)
210191

บริหารจัดการคุณภาพในการให้บริการ

1. กำหนดเกณฑ์การประเมินคุณภาพการให้บริการจัดการขนส่งสินค้าทางถนนอย่างมีประสิทธิภาพ

2 จัดทำรายงานการจัดการคุณภาพการให้บริการการขนส่งสินค้าทางถนนอย่างถูกต้องครบถ้วน

210192

บริหารจัดการลูกค้าสัมพันธ์

1. นำข้อมูลการบริการลูกค้ามาวิเคราะห์และแบ่งกลุ่มตามลักษณะความต้องของลูกค้าได้อย่างถูกต้อง

2. ดำเนินการบริหารลูกค้าสัมพันธ์อย่างมีประสิทธิภาพ

3. จัดทำรายงานผลการจัดการลูกค้าสัมพันธ์อย่างถูกต้องครบถ้วน

210193

บริหารจัดการความรับผิดชอบต่อสังคม และสิ่งแวดล้อม

1. กำหนดนโยบายความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมอย่างครบถ้วน

2. ให้บริการขนส่งสินค้าทางถนนปฏิบัติตามนโยบายความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมอย่างถูกต้อง

3. จัดทำรายงานการจัดการความรับผิดชอบต่อสังคม และสิ่งแวดล้อมอย่างถูกต้องครบถ้วน

210194

จัดการบริหารงบประมาณ

1. วางแผนงบประมาณอย่างถูกต้องตามนโยบายที่กำหนดอย่างถูกต้อง

2. ควบคุมการใช้จ่ายตามแผนงบประมาณอย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ

3. จัดทำรายงานบริหารงบประมาณได้อย่างถูกต้องและตรวจสอบได้

210195

จัดการบุคลากรในการขนส่งสินค้าทางถนน

1. ชี้แจงและทำความเข้าใจขั้นตอน และการพัฒนาบุคลากรให้กับบุคลากรในการขนส่งสินค้าทางถนนตามนโยบายที่กำหนดอย่างถูกต้อง

2. จัดทำรายงานการบริหารจัดการบุคลากรในการขนส่งสินค้าทางถนนอย่างถูกต้องครบถ้วน


12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

N/A


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. ปฏิบัติการบริหารจัดการคุณภาพในการให้บริการ
    1.1 สามารถกำหนดเกณฑ์การประเมินคุณภาพการให้บริการจัดการขนส่งสินค้าทางถนนอย่างมีประสิทธิภาพ
    1.2 สามารถจัดทำรายงานการจัดการคุณภาพการให้บริการการขนส่งสินค้าทางถนนอย่างถูกต้องครบถ้วน
2. ปฏิบัติการบริหารจัดการลูกค้าสัมพันธ์
    2.1 สามารถนำข้อมูลการบริการลูกค้ามาวิเคราะห์และแบ่งกลุ่มตามลักษณะความต้องของลูกค้าได้อย่างถูกต้อง
    2.2 สามารถดำเนินการบริหารลูกค้าสัมพันธ์อย่างมีประสิทธิภาพ
    2.3 สามารถจัดทำรายงานผลการจัดการลูกค้าสัมพันธ์อย่างถูกต้องครบถ้วน
3. ปฏิบัติการบริหารจัดการความรับผิดชอบต่อสังคม และสิ่งแวดล้อม
    3.1 สามารถกำหนดนโยบายความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมอย่างครบถ้วน
    3.2 สามารถให้บริการขนส่งสินค้าทางถนนปฏิบัติตามนโยบายความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมอย่างถูกต้อง
    3.3 สามารถจัดทำรายงานการจัดการความรับผิดชอบต่อสังคม และสิ่งแวดล้อมอย่างถูกต้องครบถ้วน
4. ปฏิบัติการจัดการบริหารงบประมาณ
    4.1 สามารถวางแผนงบประมาณอย่างถูกต้องตามนโยบายที่กำหนด
    4.2 สามารถควบคุมการใช้จ่ายตามแผนงบประมาณอย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ
    4.3 สามารถจัดทำรายงานบริหารงบประมาณได้อย่างถูกต้องและตรวจสอบได้
5. ปฏิบัติการจัดการบุคลากรในการขนส่งสินค้าทางถนน
    5.1 สามารถชี้แจงและทำความเข้าใจขั้นตอน และการพัฒนาบุคลากรให้กับบุคลากรในการขนส่งสินค้าทางถนนตามนโยบายที่กำหนด
    5.2 สามารถจัดทำรายงานการบริหารจัดการบุคลากรในการขนส่งสินค้าทางถนนอย่างถูกต้องครบถ้วน
 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. การจัดการคุณภาพในการให้บริการ
2. การบริหารลูกค้าสัมพันธ์
3. การจัดการขนส่งสินค้าทางถนน
4. ความรับผิดชอบต่อสังคม และสิ่งแวดล้อม
5. การบริหารงบประมาณ
6. หลักการบริหารจัดการบุคลากร
7. การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
8. การวิเคราะห์ค่างาน
 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และ ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)
(ก)  หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)
      1. เอกสารรับรองการปฏิบัติงานหรือผลการประเมินการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ
      2. เอกสารการประเมินตามหน่วยสมรรถนะครอบคลุมคุณวุฒิวิชาชีพ
(ข)  หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)
      1. เอกสารรับรองการผ่านการอบรมที่เกี่ยวข้องกับการบริหารงานขนส่งสินค้าทางถนน
      2. เอกสารรับรองการผ่านการสอบข้อเขียนหรือผลการทดสอบความรู้
(ค)  คำแนะนำในการประเมิน
      ประเมินเกี่ยวกับการบริหารงานขนส่งสินค้าทางถนน โดยพิจารณาจากหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานการปฏิบัติงานและหลักฐานด้านความรู้
(ง)  วิธีการประเมิน
      1. พิจารณาหลักฐานความรู้
      2. พิจารณาหลักฐานการปฏิบัติงาน
 


15. ขอบเขต (Range Statement)

ขอบเขตอธิบายถึงขอบเขตของการปฏิบัติงาน และสภาพแวดล้อมอื่น ๆ หรือสถานการณ์อื่น ๆ ที่มีผลกระทบต่อการทำงาน รวมถึงเครื่องมือ อุปกรณ์ เทคโนโลยี ทรัพยากรที่ใช้ หรือข้อกำหนดอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
(ก)  คำแนะนำ
       การบริหารงานขนส่งสินค้าทางถนน ผู้เข้ารับการประเมินจะต้องแสดงเกี่ยวกับการบริหารจัดการคุณภาพในการให้บริการ การบริหารจัดการลูกค้าสัมพันธ์ การบริหารจัดการความรับผิดชอบต่อสังคม และสิ่งแวดล้อม การจัดการบริหารงบประมาณ และการจัดการบุคลากรในการขนส่งสินค้าทางถนน
(ข)  คำอธิบายรายละเอียด
      1. การบริหารจัดการคุณภาพในการให้บริการ เป็นกิจกรรมหรือกระบวนการที่ต่อเนื่องในการเน้นคุณภาพและการปรับปรุงคุณภาพของการนำงานทุกส่วนกิจกรรม ตลอดทั้งวงจรทุกขั้นตอนของการทำงาน ซึ่งการปรับปรุงคุณภาพเป็นหน้าที่ของทุกคนเป้าหมายที่สำคัญคือการมุ่งทำให้เกิดความพึ่งพอใจของลูกค้าภายในและภายนอก ซึ่งมีส่วนประกอบ 3 ด้าน คือ การให้ความสำคัญกับลูกค้า การพัฒนาอย่างต่อเนื่อง และการมีส่วนร่วมในองค์กร โดยจะต้องกำหนดเกณฑ์การประเมินคุณภาพการให้บริการจัดการขนส่งสินค้าทางถนน และจัดทำรายงานการจัดการคุณภาพการให้บริการการขนส่งสินค้าทางถนนอย่างครบถ้วน
      2. การบริหารจัดการลูกค้าสัมพันธ์ เป็นการผสมผสานของนโยบาย กระบวนการ และกลยุทธ์ที่ถูกนำมาปฏิบัติโดยองค์กร เพื่อให้เกิดเอกภาพของการมีปฏิสัมพันธ์กับลูกค้า และเพื่อให้เครื่องมือสำหรับการค้นหาข้อมูล ข่าวสารของลูกค้า ซึ่งจะรวมไปถึงการใช้เทคโนโลยีในการหาลูกค้าใหม่ที่น่าสนใจและสามารถช่วยให้ธุรกิจมีกำไรเพิ่มขึ้น ซึ่งประกอบด้วย การรวบรวม จัดเก็บ และการเรียกใช้ซึ่งข้อมูล ข่าวสารเกี่ยวกับลูกค้าและปฏิสัมพันธ์ที่มีกับลูกค้าของแต่ละแผนกในองค์กร เป้าหมายหลักที่มีอยู่เดิมของการทำ CRM ก็คือ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของบริการที่มีให้กับลูกค้า และเพื่อใช้ข้อมูล ข่าวสารที่ได้รับจากการติดต่อกับลูกค้าสำหรับการทำการตลาดกับกลุ่มเป้าหมาย  โดยจะต้องนำข้อมูลการบริการลูกค้ามาวิเคราะห์และแบ่งกลุ่มตามลักษณะความต้องของลูกค้า และดำเนินการบริหารลูกค้าสัมพันธ์  รวมถึงจัดทำรายงานผลการจัดการลูกค้าสัมพันธ์
     3. การบริหารจัดการความรับผิดชอบต่อสังคม และสิ่งแวดล้อม ในปัจจุบันทั่วโลกต่างความสนใจในเรื่องของความรับผิดชอบต่อสังคมได้ขยายตัวอย่างมากในทุก ๆ ภาคส่วนไม่ว่าจะเป็นในหน่วยงานของภาครัฐ หรือเอกชน ล้วนให้ความสนใจ และดำเนินกิจกรรมในรูปแบบต่าง ๆ ที่แสดงถึงความใส่ใจ ห่วงใย ช่วยเหลือ และพัฒนาสังคม ให้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ทั้งสังคมภายในองค์กร สังคมโดยรอบข้าง สังคมระดับประเทศและสังคมโลก โดยใช้มาตรฐาน ISO 26000 เป็นมาตรฐานที่ได้รับการพัฒนาขึ้นมาโดย ISO (the International Organization for Standardization) เพื่อใช้เป็นแนวทางสำหรับองค์กรต่าง ๆ ในการพัฒนาความรับผิดชอบต่อสังคมให้เกิดขึ้นกับองค์กร ดังนั้นการบริหารจัดการความรับผิดชอบต่อสังคม และสิ่งแวดล้อม จะต้องกำหนดนโยบายความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม  การให้บริการขนส่งสินค้าทางถนนปฏิบัติตามนโยบายความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม  และจัดทำรายงานการจัดการความรับผิดชอบต่อสังคม และสิ่งแวดล้อม
      4. การจัดการบริหารงบประมาณ โดยงบประมาณ มี 2 ประเภท คือ งบประมาณระยะสั้นและงบประมาณระยะยาว งบประมาณระยะสั้น (Short-term Budgets) หมายถึง งบประมาณที่มีระยะเวลาไม่เกิน 1 ปี ส่วนงบประมาณระยะยาว (Long-term Budgets) หมายถึง งบประมาณที่มีระยะเวลาเกิน 1 ปี ขึ้นไปงบประมาณระยะสั้น ซึ่งในทางบัญชีบริหาร เรียกว่า งบประมาณหลัก
    งบประมาณหลัก (Master Budget) หมายถึง งบประมาณที่จัดทำขึ้น เพื่อดูผลการดำเนินงานทั้งหมดของกิจการสำหรับระยะเวลาใดเวลาหนึ่งในอนาคตที่ไม่เกิน 1 ปี งบประมาณหลัก ประกอบด้วย 2 ส่วน ส่วนที่ 1 คือ งบประมาณดำเนินงาน และส่วนที่ 2 คือ งบประมาณการเงิน  โดยการจัดการบริหารงบประมาณจะต้องวางแผนงบประมาณตามนโยบายที่กำหนด  การควบคุมการใช้จ่ายตามแผนงบประมาณอย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ  และจัดทำรายงานบริหารงบประมาณได้อย่างถูกต้องและตรวจสอบได้
      5. การจัดการบุคลากรในการขนส่งสินค้าทางถนน เป็นกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับบุคคลตั้งแต่ก่อนการบรรจุ จนพ้นจากหน้าที่อย่างมีประสิทธิภาพและประสานประโยชน์ระหว่างบุคคลและองค์การ ภารกิจในการบริหารบุคคลจะประกอบด้วย การวางแผนบุคลากร การสรรหาและการคัดเลือก การบรรจุและปฐมนิเทศ  การพัฒนาและการฝึกอบรม การประเมินผลการปฏิบัติงาน การเปลี่ยนแปลงตำแหน่ง บริหารค่าตอบแทนและผลประโยชน์ และการให้พ้นจากงาน โดยในการปฏิบัติจะต้องชี้แจงและทำความเข้าใจขั้นตอน และการพัฒนาบุคลากรให้กับบุคลากรในการขนส่งสินค้าทางถนนตามนโยบายที่กำหนด และจัดทำรายงานการบริหารจัดการบุคลากรในการขนส่งสินค้าทางถนนอย่างถูกต้องครบถ้วน
 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)

N/A  


17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)

N/A  


18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1 เครื่องมือการประเมิน
       1. แบบประเมินความรู้ ใช้แบบทดสอบปรนัย ชนิด 4 ตัวเลือก
       2. แบบประเมินสัมภาษณ์
       3. แบบประเมินโดยใช้แฟ้มสะสมผลงาน
       ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน
18.2 เครื่องมือการประเมิน
      1. แบบประเมินความรู้ ใช้แบบทดสอบปรนัย ชนิด 4 ตัวเลือก
      2. แบบประเมินสัมภาษณ์
      3. แบบประเมินโดยใช้แฟ้มสะสมผลงาน
      ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน
18.3 เครื่องมือการประเมิน
      1. แบบประเมินความรู้ ใช้แบบทดสอบปรนัย ชนิด 4 ตัวเลือก
      2. แบบประเมินสัมภาษณ์
      3. แบบประเมินโดยใช้แฟ้มสะสมผลงาน
      ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน
18.4 เครื่องมือการประเมิน
       1. แบบประเมินความรู้ ใช้แบบทดสอบปรนัย ชนิด 4 ตัวเลือก
       2. แบบประเมินสัมภาษณ์
       3. แบบประเมินโดยใช้แฟ้มสะสมผลงาน
       ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน
18.5 เครื่องมือการประเมิน
      1. แบบประเมินความรู้ ใช้แบบทดสอบปรนัย ชนิด 4 ตัวเลือก
      2. แบบประเมินสัมภาษณ์
      3. แบบประเมินโดยใช้แฟ้มสะสมผลงาน
      ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน
 


ยินดีต้อนรับ