หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

จัดการระบบการเงิน การส่งออก-นำเข้าและสินค้าผ่านแดน

สาขาวิชาชีพโลจิสติกส์


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ LOG-MLME-686A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ จัดการระบบการเงิน การส่งออก-นำเข้าและสินค้าผ่านแดน

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2565

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

อาชีพผู้ปฏิบัติงานส่งออก - นำเข้า (ผู้ชำนาญการศุลกากร) ระดับ 5 


6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)

บุคคลที่ทำหน้าที่ผู้ชำนาญการศุลกากร ซึ่งจะต้องปฏิบัติงานประเมินการค่าใช้จ่ายและเตรียมเงินสำรองให้พอเพียงและเหมาะสม ตรวจสอบความถูกต้องและอนุมัติค่าใช้จ่าย สรุปและรายงานให้ผู้บริหารระดับสูง  


7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)

กลุ่มอาชีพโลจิสติกส์    


9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)

N/A


10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)

ประมวลฯ กฎระเบียบพิธีการศุลกากรการส่งออก-นำเข้า ทุกภาค
กฎระเบียบพิธีการศุลกากรสินค้าผ่านแดน
 


11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria)
03631

ประเมินการค่าใช้จ่ายและเตรียมเงินสำรองให้พอเพียงและเหมาะสม 

1. ประเมินการค่าใช้จ่ายให้พอเพียงและเหมาะสม

2. เตรียมเงินสำรองให้พอเพียงและเหมาะสม


03632

ตรวจสอบความถูกต้องและอนุมัติค่าใช้จ่าย 

1. จัดเตรียมการอนุมัติค่าใช้จ่ายอย่างถูกต้องและเหมาะสม

2. ตรวจสอบความถูกต้องในการอนุมัติค่าใช้จ่ายอย่างถูกต้องและเหมาะสม

03633

สรุปและรายงานให้ผู้บริหารระดับสูง

1. เตรียมจัดทำสรุปจัดการระบบการเงิน การส่งออก-นำเข้าและสินค้าผ่านแดน


2. รายงานผลการดำเนินงานต่อผู้บริหารระดับสูงอย่างถูกต้องครบถ้วนตามข้อกำหนด


12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

-ไม่มี-


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. ปฏิบัติงานประเมินการค่าใช้จ่ายและเตรียมเงินสำรองให้พอเพียงและเหมาะสม                      
   1.1 สามารถประเมินการค่าใช้จ่ายให้พอเพียงและเหมาะสม
   1.2 สามารถเตรียมเงินสำรองให้พอเพียงและเหมาะสม
2. ปฏิบัติงานตรวจสอบความถูกต้องและอนุมัติค่าใช้จ่าย 
    2.1 สามารถจัดเตรียมการอนุมัติค่าใช้จ่ายอย่างถูกต้องและเหมาะสม
    2.2 สามารถตรวจสอบความถูกต้องในการอนุมัติค่าใช้จ่ายอย่างถูกต้องและเหมาะสม
3. ปฏิบัติงานสรุปและรายงานให้ผู้บริหารระดับสูง 
   3.1 สามารถเตรียมจัดทำสรุปจัดการระบบการเงิน การส่งออก-นำเข้าและสินค้าผ่านแดน 
   3.2 สามารถรายงานผลการดำเนินงานต่อผู้บริหารระดับสูงอย่างถูกต้องครบถ้วนตามข้อกำหนด
 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. ประมวลฯ กฎระเบียบพิธีการศุลกากรการส่งออก-นำเข้า ทุกภาค
2. กฎระเบียบพิธีการศุลกากรสินค้าผ่านแดน
3. พิธีการศุลกากรการตรวจปล่อยสินค้า
 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และ ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)
(ก)  หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)
      1. ประมวลฯ กฎระเบียบพิธีการศุลกากรการส่งออก-นำเข้า ทุกภาค
      2. เอกสารตรวจปล่อยสินค้านำเข้าสู่ประเทศไทย
(ข)  หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)
      1. ใบผ่านการอบรมเกี่ยวกับการผ่านพิธีการศุลกากร
      2. เอกสารรับรองและผลการประเมินจากหน่วยงาน
      3. เอกสารการนำเสนองานหรือการบรรยายที่เกี่ยวข้องกับการผ่านพิธีการศุลกากร
      4. หนังสือ คู่มือ บทความ งานวิจัย ที่เกี่ยวข้องกับการผ่านพิธีการศุลกากร
(ค)  คำแนะนำการประเมิน
      ประเมินการการควบคุม การกำกับ การตรวจสอบเอกสารการส่งออก-นำเข้า และการผ่านพิธีการศุลกากร และตรวจปล่อยสินค้าผ่านแดน
(ง)  วิธีการประเมิน
      1. พิจารณาหลักฐานความรู้
      2. พิจารณาหลักฐานการปฏิบัติงาน
 


15. ขอบเขต (Range Statement)

ขอบเขตอธิบายถึงขอบเขตของการปฏิบัติงาน และสภาพแวดล้อมอื่น ๆ หรือสถานการณ์อื่น ๆ ที่มีผลกระทบต่อการทำงาน รวมถึงเครื่องมือ อุปกรณ์ เทคโนโลยี ทรัพยากรที่ใช้ หรือข้อกำหนดอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
(ก)  คำแนะนำ 
      1. ผู้เข้ารับการประเมินจะต้องจัดทำเอกสารเกี่ยวกับบัญชีสินค้าสำหรับของที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรทางบก
      2. ผู้เข้ารับการประเมินจะต้องจัดทำบัญชีสินค้าที่แสดงรายละเอียดสินค้าที่จะทำการผ่านแดน  
      3. เข้ารับการประเมินจะต้องจัดทำใบขออนุญาตนำรถยนต์ ยานพาหนะผ่านด่านเข้าราชอาณาจักร
(ข)  คำอธิบายรายละเอียด
      1. จัดทำเอกสารเกี่ยวกับขนส่งจะต้อง การยื่นใบขนสินค้าผ่านแดน และใบสั่งปล่อยสินค้าให้กับเจ้าหน้าที่จะต้องเรียกทำการตรวจสอบจากผู้ส่งสินค้าอยู่เสมอ นอกจากนี้แล้วยังมีเอกสาร
          1. เอกสารที่เกี่ยวข้องต่อเจ้าหน้าที่ ที่เป็นคนที่มีอำนาจหน้าที่ในการตรวจสอบใบขนสินค้าผ่านแดน
          2. เอกสารที่ใช้ในการปฏิบัติพิธีการศุลกากรผ่านแดน
          3. ใบตราส่ง หรือที่เราสามารถเรียกได้ว่าเป็นเอกสารในการขนส่งระหว่างประเทศ
          4. บัญชีราคาสินค้า ที่ใช้แสดงราคาของสินค้าแต่ละรายการที่ใช้ในการขนส่งสินค้าผ่านแดน
          5. เอกสารอื่นที่ใช้ในการแสดงรายละเอียดของต้นทางและปลายทาง ซึ่งอาจจะเป็นท่าเรือ หรือสนามบิน เพื่อให้เจ้าหน้าที่ได้ทำการตรวจสอบ
          6. เอกสารแสดงเส้นทางการขนส่งสินค้าผ่านแดน ซึ่งเป็นเอกสารที่ระบุว่าต้นทางอยู่ที่ไหน แล้วจะส่งสินค้าไปที่ใด โดยถ้าหากมีการพักสินค้าก็จะต้องแสดงรายละเอียดไว้บนเอกสารพร้อมทั้งบอกหมายเลขเส้นทาง เวลา และช่วงในการขนส่งโดยประมาณในเอกสารด้วยเช่นกัน อีกด้วย
          7. ถ้าหากมีเอกสารอื่น ๆ ที่จำเป็นในการตรวจสอบก็ควรนำไปประกอบการขนส่งสินค้าผ่านแดนด้วย
       2. จัดทำบัญชีรายละเอียดสินค้าที่จะทำการผ่านแดนตามข้อกำหนดและตรวจสอบรายละเอียดสินค้าตามบัญชีสินค้าที่กำหนดหมายถึงผู้นำเข้าหรือตัวแทนฯ ชำระค่าภาษีอากร (กรณีสินค้าต้องชำระภาษีอากร) ที่หน่วยงานบัญชีและอากรของด่านศุลกากร ชำระค่าภาษีแล้วระบบคอมพิวเตอร์จะกำหนดเงื่อนไขการตรวจปล่อย ชื่อเจ้าหน้าที่ผู้มีหน้าที่ตรวจปล่อย กรณียกเว้นการตรวจ (Green Line) ผู้นำเข้าหรือตัวแทนออกของสามารถรับสินค้าไปจากอารักขาศุลกากร กรณีสั่งการเปิดตรวจ (Red Line) เจ้าหน้าที่จะดำเนินการตรวจสอบความถูกต้องของสินค้ากับข้อมูลใบขนสินค้าในระบบคอมพิวเตอร์ ถ้าถูกต้องตามสำแดงจะส่งมอบสินค้าให้ผู้นำเข้าหรือตัวแทนรับสินค้าไปจากอารักขาศุลกากร ผู้นำเข้าหรือตัวแทน จัดทำและส่งข้อมูลใบขนสินค้าขาเข้าเข้าระบบคอมพิวเตอร์ของกรมศุลกากร ระบบจะตรวจสอบข้อมูลสินค้าและตัดบัญชีกับ Car Manifest 
      3. จัดทำใบขออนุญาตนำรถยนต์ ยานพาหนะผ่านด่านเข้าราชอาณาจักรตามขั้นตอนการปฏิบัติและตรวจสอบใบอนุญาตนำรถยนต์ ยานพาหนะผ่านด่านเข้าราชอาณาจักรข้อกำหนด
      4. คำว่า “ถูกต้องครบถ้วนตามข้อกำหนด” หมายถึง ความถูกต้องครบถ้วนตามข้อกำหนดของขั้นตอนการปฏิบัติงานตามที่ระบุไว้ในแบบประเมินทักษะในการปฏิบัติงาน
 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)

-ไม่มี-


17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)

-ไม่มี-


18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1  เครื่องมือการประเมิน
        1. แบบประเมินความรู้ ใช้แบบทดสอบปรนัย ชนิด 4 ตัวเลือก
        2. แบบประเมินผลการปฏิบัติงานโดยการสัมภาษณ์
        3. แบบประเมินโดยใช้แฟ้มสะสมผลงาน
        ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน 
18.2  เครื่องมือการประเมิน
        1. แบบประเมินความรู้ ใช้แบบทดสอบปรนัย ชนิด 4 ตัวเลือก
        2. แบบประเมินผลการปฏิบัติงานโดยการสัมภาษณ์
        3. แบบประเมินโดยใช้แฟ้มสะสมผลงาน
        ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน 
18.3 เครื่องมือการประเมิน
        1. แบบประเมินความรู้ ใช้แบบทดสอบปรนัย ชนิด 4 ตัวเลือก
        2. แบบประเมินผลการปฏิบัติงานโดยการสัมภาษณ์
        3. แบบประเมินโดยใช้แฟ้มสะสมผลงาน
        ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน


 


ยินดีต้อนรับ